แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
พระราชบัญญัติทนายความพ.ศ.2528มิได้บัญญัติห้ามศาลที่จะวินิจฉัยว่าทนายความผู้มีพฤติกรรมที่ขัดต่อมรรยาททนายความตามข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความพ.ศ.2529เป็นผู้ประพฤติ ผิดมรรยาททนายความเพื่อวินิจฉัย ความรับผิดทางแพ่งในกรณี ละเมิด แม้จำเลยทั้งสองจะเป็น ลูกจ้างของบริษัทประกันภัยและรับเข้าเป็นทนายความแก้ต่างให้โจทก์ในฐานะลูกจ้างของบริษัทประกันภัยก็ตามแต่การที่ได้ลงลายมือชื่อใน ใบแต่งทนายความแต่งตั้งจำเลยทั้งสองถือว่าโจทก์ได้แต่งตั้งจำเลยทั้งสองเป็นทนายความว่าความให้แล้ว
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า เดิม โจทก์ ถูก ฟ้อง เป็น จำเลย ที่ 2 ใน คดีแพ่งหมายเลขแดง ที่ 1348/2531 ของ ศาลชั้นต้น โจทก์ ได้ ตกลง ว่าจ้าง ให้จำเลย ทั้ง สอง เป็น ทนายความ แก้ต่าง ให้ แต่ จำเลย ทั้ง สอง ไม่ได้ ไป ว่าความตาม หน้าที่ ละทิ้ง คดี โดย ไม่มี เหตุสมควร จน ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ให้ โจทก์ซึ่ง เป็น จำเลย ที่ 2 ใน คดี นั้น ขาดนัดพิจารณา อีก ทั้ง จำเลย ทั้ง สองจงใจ ละเว้น ไม่ยอม เรียก บริษัท บัวหลวงประกันภัย จำกัด เข้า เป็น จำเลยร่วม จน บริษัท บัวหลวงประกันภัย จำกัด หลุดพ้น ความรับผิด ชอบ ไป ทั้งที่ บริษัท บัวหลวงประกันภัย จำกัด มี หน้าที่ ต้อง รับผิด ชดใช้ แทน โจทก์ การกระทำ ของ จำเลย ทั้ง สอง ทำให้ ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิด ชำระ เงิน แก่ โจทก์ คดี นั้น และ โจทก์ ได้ ชำระ เงิน ตามคำพิพากษา ศาลชั้นต้น ไป รวม 67,124.35 บาท ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สองร่วมกัน ชดใช้ เงิน จำนวน 67,124.35 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละเจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วันที่ 14 มิถุนายน 2532 จน ถึง วัน ยื่นฟ้องเป็น เวลา 4 เดือน เป็น ค่า ดอกเบี้ย 1,678 บาท รวมเป็น เงิน ที่ จำเลยทั้ง สอง ร่วมกัน ชดใช้ แก่ โจทก์ ทั้งสิ้น 68,802.35 บาท ให้ จำเลย ทั้ง สองร่วมกัน รับผิด ชดใช้ ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี ใน ต้นเงิน67,124.35 บาท นับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ให้การ และ แก้ไข คำให้การ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษากลับ ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน รับผิดชดใช้ เงิน จำนวน 67,124.35 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละเจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี ใน ต้นเงิน จำนวน ดังกล่าว นับแต่ วันที่ 14 มิถุนายน2532 จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์ แต่ ดอกเบี้ย นับแต่ วันที่14 มิถุนายน 2532 ถึง วันที่ 16 ตุลาคม 2532 ต้อง ไม่เกิน 1,678 บาท
จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา ศาลฎีกา สั่ง รับ เฉพาะ ฎีกา ข้อ 1 และ ข้อ 3 ถึงข้อ 5 ซึ่ง เป็น ข้อกฎหมาย
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “เห็นควร วินิจฉัย ฎีกา ของ จำเลย ทั้ง สอง ใน ข้อ3 ถึง ข้อ 5 เสีย ก่อน
ฎีกา ข้อ 3 ของ จำเลย ทั้ง สอง ที่ ว่า การ ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 3วินิจฉัย ว่า จำเลย ทั้ง สอง ประพฤติ ผิด มรรยาท ทนายความ ทำให้ โจทก์ เสียหายเป็น การ ละเมิด ต่อ โจทก์ เป็น ข้อ วินิจฉัย ที่ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะผู้ที่ จะ วินิจฉัย ว่า จำเลย ทั้ง สอง ประพฤติ ผิด มรรยาท ทนายความ หรือไม่เป็น อำนาจ หน้าที่ โดยตรง ของ คณะกรรมการ มรรยาท ทนายความ ของสภา ทนายความ ตาม พระราชบัญญัติ ทนายความ พ.ศ. 2528 ไม่ใช่อำนาจ หน้าที่ ของ ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 นั้น เห็นว่า แม้ พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 จะ ได้ บัญญัติ ถึง อำนาจ หน้าที่ ของคณะกรรมการ มรรยาท ทนายความ ไว้ โดยเฉพาะ แล้ว ใน หมวด 7 แห่งพระราชบัญญัติ ดังกล่าว ก็ ตาม แต่ พระราชบัญญัติ ทนายความ พ.ศ. 2528ก็ มิได้ บัญญัติ ห้าม ศาล ที่ จะ วินิจฉัย ว่า ทนายความ ผู้ มี พฤติกรรม ที่ ขัดต่อ มรรยาท ทนายความ ตาม ข้อบังคับ สภาพ ทนายความ ว่าด้วย มรรยาททนายความ พ.ศ. 2529 เป็น ผู้ ประพฤติ ผิด มรรยาท ทนายความ เพื่อวินิจฉัย ความรับผิด ทางแพ่ง ใน กรณี ละเมิด เมื่อ เป็น เช่นนี้ การ ที่ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 เห็นว่า จำเลย ทั้ง สอง ประพฤติ ผิด ข้อบังคับสภา ทนายความ ว่าด้วย มรรยาท ทนายความ พ.ศ. 2529 หมวด 3 ข้อ 12(1)คือ จงใจ ขาดนัด หรือ ทอดทิ้ง คดี ทำให้ เสื่อมเสีย ประโยชน์ ของโจทก์ ผู้เป็น ลูกความ ของ จำเลย ทั้ง สอง ตาม พระราชบัญญัติ ทนายความพ.ศ. 2528 ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 ก็ มีอำนาจ ที่ จะ วินิจฉัย ว่าการ กระทำของ จำเลย ทั้ง สอง เป็น การ ประพฤติ ผิด มรรยาท ทนายความ อันเป็นการ ละเมิด ต่อ โจทก์ ทำให้ โจทก์ เสียหาย ได้ ข้อ วินิจฉัย ของศาลอุทธรณ์ ภาค 3 มิได้ เป็น การ ก้าวล่วง อำนาจ ของ คณะกรรมการ มรรยาททนายความ ของ สภา ทนายความ ดัง ที่ จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา ฎีกา ข้อ นี้ ของจำเลย ทั้ง สอง ฟังไม่ขึ้น
ฎีกา ข้อ 4 ของ จำเลย ทั้ง สอง ที่ ว่า โจทก์ ไม่มี อำนาจฟ้อง จำเลยทั้ง สอง เพราะ จำเลย ทั้ง สอง ไม่มี นิติสัมพันธ์ กับ โจทก์ การ ที่ จำเลยทั้ง สอง รับ เป็น ทนายความ แก้ต่าง ให้ แก่ โจทก์ ใน คดีแพ่ง หมายเลขแดงที่ 1348/2531 ของ ศาลชั้นต้น ที่ โจทก์ ถูก โจทก์ ใน คดี นั้น ฟ้อง เป็นจำเลย ที่ 2 ก็ เนื่องมาจาก จำเลย ทั้ง สอง ต้อง ปฏิบัติ หน้าที่ใน ฐานะ ลูกจ้าง ของ บริษัท บัวหลวงประกันภัย จำกัด ผู้เป็น นายจ้าง ของ จำเลย ทั้ง สอง เพียง อย่างเดียว โดย ที่ จำเลย ทั้ง สอง มิได้ รับจ้างว่าความ ให้ แก่ โจทก์ นั้น เห็นว่า แม้ จำเลย ทั้ง สอง จะ เป็น ลูกจ้างของ บริษัท บัวหลวงประกันภัย จำกัด และ รับ เข้า เป็น ทนายความ แก้ต่าง ให้ โจทก์ ใน คดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่ 1348/2531 ของ ศาลชั้นต้น ในฐานะ ลูกจ้าง ของ บริษัท ดังกล่าว ก็ ตาม แต่ การ ที่ โจทก์ ได้ ลงลายมือชื่อใน ใบแต่งทนายความ เมื่อ วันที่ 2 พฤษภาคม 2531 และ วันที่ 5 กันยายน2531 แต่งตั้ง ให้ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 เป็น ทนายความ แก้ต่าง ให้ ในคดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่ 1348/2531 ของ ศาลชั้นต้น โดย นัย แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 60 วรรคหนึ่ง ถือว่า โจทก์ได้ แต่งตั้ง จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 เป็น ทนายความ ว่าความ ให้ แล้ว ตามลำดับจำเลย ทั้ง สอง มี อำนาจ ว่าความ และ ดำเนิน กระบวนพิจารณาคดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่ 1348/2531 ของ ศาลชั้นต้น แทน โจทก์ ได้ ตามความ ที่ บัญญัติ ไว้ ใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 62ดังนั้น เมื่อ จำเลย ทั้ง สอง ทอดทิ้ง คดี ของ โจทก์ ทำให้ โจทก์ ตกเป็น ผู้ แพ้คดี โดย ความผิด ของ จำเลย ทั้ง สอง โจทก์ ก็ มีอำนาจ ฟ้อง เรียก ค่าเสียหายเอา จาก จำเลย ทั้ง สอง ได้ ฎีกา ข้อ นี้ ของ จำเลย ทั้ง สอง ก็ ฟังไม่ขึ้น
ฎีกา ข้อ 5 ของ จำเลย ทั้ง สอง ใน เรื่อง ค่าเสียหาย ที่ ว่า เมื่อศาลอุทธรณ์ ภาค 3 ไม่มี อำนาจ วินิจฉัย ว่า จำเลย ทั้ง สอง ประพฤติ ผิด มรรยาททนายความ ข้อ วินิจฉัย ของ ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 จึง เป็น เรื่อง นอกฟ้อง นอกประเด็น ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สอง ชดใช้ ค่าเสียหายให้ แก่ โจทก์ ย่อม เป็น การ ไม่ชอบ ด้วย นั้น เห็นว่า เมื่อ ฟัง ว่า ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีอำนาจ วินิจฉัย ว่า จำเลย ทั้ง สอง ประพฤติ ผิด มรรยาท ทนายความฐาน ทอดทิ้ง คดี ทำให้ โจทก์ เสียหาย ดัง ที่ ได้ วินิจฉัย แล้ว ก็ นับ ได้ว่าการกระทำ ของ จำเลย ทั้ง สอง เป็น การ ละเมิด ต่อ โจทก์ เมื่อ โจทก์ได้รับ ความเสียหาย ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 ก็ ชอบ ที่ จะ พิพากษา ให้ จำเลยทั้ง สอง ร่วมกัน ชดใช้ ค่าเสียหาย ให้ แก่ โจทก์ ได้ ฎีกา ของ จำเลย ทั้ง สองข้อ นี้ ก็ ฟังไม่ขึ้น เช่นกัน
สำหรับ ฎีกา ข้อ 1 ของ จำเลย ทั้ง สอง ที่ ว่า การ ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 3วินิจฉัย ว่าการ ทอดทิ้ง คดี ของ จำเลย ทั้ง สอง ทำให้ โจทก์ ไม่สามารถ ฟ้องไล่เบี้ย เอา จาก บริษัท บัวหลวงประกันภัย จำกัด ผู้รับประกันภัย ได้ เพราะ บริษัท ดังกล่าว ได้ ถูก เพิกถอน ใบอนุญาต ประกอบ ธุรกิจ ประกันวินาศภัย ไป แล้ว โจทก์ จึง ได้รับ ความเสียหาย จาก การกระทำ ของ จำเลยทั้ง สอง โดยตรง เป็น การ วินิจฉัย ที่ ไม่ชอบ เพราะ ผู้เอาประกันภัยรถยนต์ ใน คดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่ 1348/2531 ของ ศาลชั้นต้น คือห้างหุ้นส่วนจำกัด วณิชย์ก่อสร้าง ไม่ใช่ โจทก์ โจทก์ จึง ไม่มี นิติสัมพันธ์ กับ บริษัท บัวหลวงประกันภัย จำกัด นั้น เห็นว่า จำเลย ทั้ง สอง ตกลง รับ เป็น ทนายความ ของ โจทก์ ตาม คำรับ เป็นทนายความ เอกสาร ท้ายฟ้อง หมายเลข 2 และ 3 ดังนั้น จำเลยทั้ง สอง ต้อง ปฏิบัติ หน้าที่ ของ ทนายความ ให้ สมบูรณ์ ตาม ที่ กำหนด ไว้ใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และ พระราชบัญญัติ ทนายความพ.ศ. 2528 เมื่อ ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่า จำเลย ทั้ง สอง จงใจ ขาดนัดหรือ ทอดทิ้ง คดี ทำให้ เสื่อมเสีย ประโยชน์ ของ โจทก์ ผู้เป็น ลูกความ ของจำเลย ทั้ง สอง ตาม ที่ ได้ วินิจฉัย มา แล้ว ข้างต้น จำเลย ทั้ง สอง ต้อง รับผิดชดใช้ ค่าเสียหาย ให้ โจทก์ อยู่ แล้ว ฎีกา ของ จำเลย ทั้ง สอง ใน ข้อ นี้ จึง ไม่เป็น สาระ แก่ คดี อันควร จะ ได้รับ การ วินิจฉัย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง เพราะไม่อาจ ทำให้ ผล ของ คดี เปลี่ยนแปลง ไป ศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัย ”
พิพากษายืน