คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 395/2538

แหล่งที่มา : สำนักงาน ส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ที่ดินที่จำเลยขายให้แก่โจทก์ที่1บางส่วนเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่สงวนไว้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะจึงเป็นทรัพย์นอกพาณิชย์ซึ่งไม่อาจซื้อขายกันได้สัญญาจะซื้อจะขายและสัญญาซื้อขายที่ดินส่วนดังกล่าวจึงมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายเป็นโมฆะเท่ากับว่าจำเลยไม่เคยทำสัญญาจะซื้อจะขายและสัญญาซื้อขายที่ดินส่วนดังกล่าวกับโจทก์ที่1จึงไม่มีสัญญาจะซื้อจะขายหรือสัญญาซื้อขายที่ดินส่วนดังกล่าวที่จำเลยจะต้องรับผิดในการรอนสิทธิ

ย่อยาว

โจทก์ ทั้ง สอง ฟ้อง ว่า โจทก์ ที่ 2 ใน ฐานะ ผู้รับมอบอำนาจ จากโจทก์ ที่ 1 และ ใน ฐานะ ส่วนตัว เพื่อ การปฏิรูปที่ดิน เพื่อ เกษตรกรรมตาม อำนาจ หน้าที่ ได้ ทำ สัญญา จะซื้อ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 4342 ระวาง21 น 9ฏ เลขที่ ดิน 15 หน้า สำรวจ 637 หมู่ ที่ 1 ตำบล บ้านพริก อำเภอ บ้านนา จังหวัด นครนายก เนื้อที่ ประมาณ 36 ไร่ 1 งาน 31 ตารางวา ใน ราคา ไร่ ละ 1,000 บาท รวมเป็น ราคา ทั้งสิ้น36,327.50 บาท จาก จำเลย ผู้จะขาย โดย โจทก์ ที่ 2 ได้ ชำระ เงินค่าซื้อ ที่ดิน ให้ จำเลย รับ ไป ใน วัน ทำ สัญญา เป็น จำนวน ร้อยละ 70ของ ราคา เป็น เงิน 25,429.25 บาท ส่วน ที่ เหลือ จะ ชำระ เมื่อ ทราบ ผลการ รังวัด สอบ เขต แล้ว ต่อมา โจทก์ ที่ 2 นำ เจ้าพนักงาน ที่ดิน ไป รังวัดสอบ เขต เนื้อที่ดิน ดังกล่าว ปรากฏว่า ได้ เนื้อที่ดิน ที่ แท้จริง 33 ไร่3 งาน 67 ตารางวา แต่ ใน การ รังวัด นั้น ราชพัสดุ จังหวัด นครนายกคัดค้าน ว่า รังวัด ทับ ซ้อน ที่ดิน ราชพัสดุ ประเภท สาธารณสมบัติ ของแผ่นดิน ที่ สงวน ไว้ เพื่อ ใช้ ใน ประโยชน์ ของ แผ่นดิน โดยเฉพาะ และ อยู่ ในความ ปกครอง ดูแล ของ ราชพัสดุ จังหวัด นครนายก เป็น เนื้อที่ 27 ไร่2 งาน 44 ตารางวา โจทก์ ที่ 2 ขอให้ เจ้าพนักงาน ที่ดิน ตรา จสอบจาก หลักฐาน ที่ เกี่ยวข้อง อีก ครั้งหนึ่ง ปรากฏว่า มี การ ทับ ซ้อน กัน จริงตาม ที่ราชพัสดุ จังหวัด นครนายก คัดค้าน การ โต้แย้ง ของ ราชพัสดุจังหวัด นครนายก ดังกล่าว เป็น การ รบกวน ขัด สิทธิ ครอบครอง ใน ที่ดินบางส่วน ของ โจทก์ ทั้ง สอง โดยปกติสุข โจทก์ ทั้ง สอง ไม่สามารถ ครอบครองใช้ ที่ดิน เพื่อ การปฏิรูปที่ดิน ตาม วัตถุประสงค์ ของ โจทก์ ทั้ง สอง ได้ถือได้ว่า โจทก์ ทั้ง สอง ถูก รอนสิทธิ ใน ที่ดิน ที่ ซื้อ มาจาก จำเลย เฉพาะที่ดิน ที่ ทับ ซ้อน กับ ที่ดิน ราชพัสดุ จำเลย ผู้ขาย จึง ต้อง รับผิด ต่อโจทก์ ทั้ง สอง ตาม สัญญาจะซื้อจะขาย ที่ดิน โจทก์ ทั้ง สอง มี หน้าที่ต้อง ชำระ ราคา ค่าที่ดิน ที่ ซื้อ มาจาก จำเลย เฉพาะ ส่วน ที่ ไม่ ถูก รอนสิทธิซึ่ง มี เนื้อที่ 6 ไร่ 1 งาน 23 ตารางวา เป็น เงิน เพียง 6,307.50 บาทแต่ โจทก์ ที่ 2 ได้ ชำระ เงิน ค่าที่ดิน ให้ จำเลย รับ ไป แล้ว 25,429.25บาท โจทก์ ที่ 2 จึง ชำระ เกิน ไป 19,121.75 บาท จำเลย ต้อง รับผิดชดใช้ เงิน จำนวน ดังกล่าว ให้ แก่ โจทก์ ที่ 2 และ ต้อง รับผิด ชดใช้ค่าเสียหาย ให้ แก่ โจทก์ ทั้ง สอง เนื่องจาก โจทก์ ทั้ง สอง ต้อง ดำเนินการจัดซื้อ ที่ดิน แปลง อื่น ที่อยู่ ใกล้เคียง มา แทนที่ ดิน ที่ ต้อง เสีย ไปเพราะ ถูก รอนสิทธิ ดังกล่าว นำ มา ดำเนินการ ปฏิรูป ที่ดิน ใน ราคาที่ สูง ขึ้น กว่า เดิม ถึง ไร่ ละ 9,000 บาท จำนวน 27 ไร่ 2 งาน44 ตารางวา เป็น เงิน ค่าเสียหาย ทั้งสิ้น 248,490 บาท ขอให้ บังคับให้ จำเลย ใช้ เงิน จำนวน 267,611.75 บาท ให้ แก่ โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ยใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วันฟ้อง จน ถึง วันที่ ชำระ เสร็จ
จำเลย ขาดนัด ยื่นคำให้การ และ ขาดนัดพิจารณา
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย ชำระ เงิน แก่ โจทก์จำนวน 19,121.75 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปีของ ต้นเงิน ดังกล่าว นับแต่ วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า ชำระ เสร็จคำขอ อื่น นอกจาก นี้ ให้ยก
โจทก์ ทั้ง สอง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ทั้ง สอง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ข้อเท็จจริง ฟังได้ เป็น ยุติ ว่า เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2522 โจทก์ ที่ 2 ซึ่ง มีอำนาจ หน้าที่ จัดซื้อ ที่ดินเพื่อ ดำเนินการ ตาม พระราชบัญญัติ การปฏิรูปที่ดิน เพื่อ เกษตรกรรมพ.ศ. 2518 และ เป็น ผู้รับมอบอำนาจ จาก โจทก์ ที่ 1 ได้ ทำ สัญญา จะซื้อที่ดิน โฉนด เลขที่ 4342 ระวาง 21 น 9ฏ เลขที่ ดิน 15 หน้า สำรวจ637 หมู่ ที่ 1 ตำบล บ้านพริก อำเภอบ้านนา จังหวัด นครนายก เนื้อที่ ประมาณ 36 ไร่ 1 งาน 31 ตารางวา จาก จำเลย ใน ราคา ไร่ ละ 1,000 บาทตาม สัญญาจะซื้อจะขาย ที่ดิน เพื่อ การปฏิรูปที่ดิน เอกสาร หมาย จ. 4ต่อมา วันที่ 24 สิงหาคม 2522 โจทก์ ที่ 2 ได้ ทำ สัญญาซื้อขาย ที่ดินดังกล่าว กับ จำเลย ใน นาม ของ โจทก์ ที่ 1 โดย จำเลย ได้รับ ชำระ ราคาที่ดิน เป็น เงิน 25,429.25 บาท ต่อมา เมื่อ มี การ รังวัด สอบ เขต ที่ดินที่ จำเลย ขาย ให้ แก่ โจทก์ ที่ 1 ดังกล่าว ปรากฏว่า ที่ดิน ที่ จำเลยขาย ให้ แก่ โจทก์ ที่ 1 บางส่วน เนื้อที่ 27 ไร่ 2 งาน 44 ตารางวาเป็น สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ที่ สงวน ไว้ ใช้ เพื่อ ประโยชน์ ของ แผ่นดินโดยเฉพาะ และ อยู่ ใน ความ ปกครอง ดูแล ของ ราชพัสดุ จังหวัด นครนายก
คดี มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ที่ โจทก์ ทั้ง สอง ฎีกา ว่า จำเลยผิดสัญญา ต้อง รับผิด ชดใช้ ค่าเสียหาย เพราะ โจทก์ ถูก รอนสิทธิเนื่องจาก ที่ดิน บางส่วน ที่ โอน ขาย ให้ แก่ โจทก์ เนื้อที่ 27 ไร่ 2 งาน44 ตารางวา เป็น สาธารณสมบัติของแผ่นดิน และ อยู่ ใน ความ ปกครอง ดูแลของ ราชพัสดุ จังหวัด นครนายก ทำให้ โจทก์ ไม่สามารถ ครอบครอง ใช้ ที่ดินได้ หรือไม่ ใน ปัญหา นี้ เห็นว่า เมื่อ ข้อเท็จจริง ฟังได้ เป็น ยุติ ว่าที่ดิน ที่ จำเลย ขาย ให้ แก่ โจทก์ ที่ 1 บางส่วน เนื้อที่ 27 ไร่ 2 งาน44 ตารางวา เป็น สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ที่ สงวน ไว้ ใช้ เพื่อ ประโยชน์ของ แผ่นดิน โดยเฉพาะ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(3)ที่ดิน ดังกล่าว จึง เป็น ทรัพย์นอกพาณิชย์ ซึ่ง ไม่อาจ ซื้อ ขาย กัน ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 143 (มาตรา 106 เดิม ) ประกอบด้วย มาตรา 1305 สัญญาจะซื้อจะขาย และ สัญญาซื้อขาย ที่ดิน ส่วน ดังกล่าวที่ จำเลย ทำ กับ โจทก์ ที่ 1 จึง มี วัตถุประสงค์ เป็น การ ต้องห้าม ชัดแจ้งโดย กฎหมาย เป็น โมฆะ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150(มาตรา 113 เดิม ) และ เมื่อ สัญญาจะซื้อจะขาย และ สัญญาซื้อขายที่ดิน ส่วน ดังกล่าว เป็น โมฆะ เช่นนี้ แล้ว ก็ เท่ากับ ว่า จำเลย ไม่เคยทำ สัญญาจะซื้อจะขาย และ สัญญาซื้อขาย ที่ดิน ส่วน ดังกล่าว กับ โจทก์ที่ 1 แต่อย่างใด จึง ไม่มี สัญญาจะซื้อจะขาย หรือ สัญญาซื้อขาย ที่ดินดังกล่าว ระหว่าง จำเลย และ โจทก์ ที่ 1 จำเลย จะ ต้อง รับผิด ใน การรอนสิทธิ ตาม ฟ้อง ก็ ต่อเมื่อ จำเลย ได้ ทำ สัญญาจะซื้อจะขาย หรือ สัญญาซื้อ ขาย ที่ดิน ส่วน ดังกล่าว กับ โจทก์ ที่ 1 เมื่อ ถือว่า จำเลย ไม่เคยทำ สัญญา ดังกล่าว กับ โจทก์ ที่ 1 จึง ไม่มี เหตุ ที่ จำเลย จะ ต้อง รับผิดใน การ รอนสิทธิ ตาม ฟ้อง แต่อย่างใด ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ชอบแล้ว ฎีกาของ โจทก์ ทั้ง สอง ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share