แหล่งที่มา : ADMIN
ย่อสั้น
เจ้ามรดกมีเจตนาจะทำพินัยกรรมเป็นแบบเอกสารฝ่ายเมืองแต่ไม่ได้ไปทำต่อกรมการอำเภอจึงไม่สมบูรณ์เป็นพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1658แต่พินัยกรรมดังกล่าวเจ้ามรดกเป็นผู้เขียนขึ้นเองทั้งฉบับจึงมีผลใช้บังคับได้ตามมาตรา1657หากเจ้ามรดกไม่ประสงค์ให้พินัยกรรมมีผลบังคับได้ต่อไปจะต้องเพิกถอนเสียโดยการทำลายหรือขีดฆ่าเสียด้วยความตั้งใจตามมาตรา1695แม้เจ้ามรดกจะได้พูดสั่งเสียต่อหน้าญาติผู้ใหญ่หลายคนเป็นทำนองเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อกำหนดในพินัยกรรมแต่ไม่มีการบันทึกและลงลายมือชื่อให้ถูกต้องสมบูรณ์เป็นพินัยกรรมแบบใดแบบหนึ่งตามมาตรา1656ถึงมาตรา1669จึงไม่มีผลเปลี่ยนแปลงแก้ไขพินัยกรรม การที่จำเลยตกลงแบ่งที่นาบ้านและยุ้งข้าวพิพาทให้แก่โจทก์ตามพินัยกรรมแล้วเพิ่งกลับใจไม่ยอมโอนให้ในภายหลังย่อมถือได้ว่าจำเลยได้ละเสียแล้วซึ่งประโยชน์แห่งอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา192แม้โจทก์จะฟ้องคดีภายหลังเจ้ามรดกถึงแก่กรรมแล้วเกิน1ปีคดีก็ไม่ขาดอายุความ บ้านและยุ้งข้าวพิพาทเป็นของเจ้ามรดกมีมาก่อนแต่งงานกับจำเลยจึงมิใช่สินสมรสของจำเลยกับเจ้ามรดก.
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า บิดา โจทก์ ได้ ทำ พินัยกรรม ยก ที่นา เนื้อที่ 11ไร่ บ้าน และ ยุ้งข้าว ให้ แก่ โจทก์ หลังจาก บิดา โจทก์ ถึงแก่กรรมแล้ว จำเลย ซึ่ง เป็น มารดา เลี้ยง ของ โจทก์ อ้างว่า ที่นา และยุ้งข้าว เป็น สินสมรส ของ บิดา โจทก์ กับ จำเลย ห้าม โจทก์ เกี่ยวข้องกับ ที่นา และ รื้อ ยุ้งข้าว เสีย ขอ ให้ พิพากษา ว่า ทรัพย์สินดังกล่าว เป็น ของ โจทก์ ห้าม จำเลย และ บริวาร เกี่ยวข้อง ให้ จำเลยคืน ยุ้งข้าว หาก คืน ไม่ ได้ ให้ ใช้ ราคา 7,000 บาท และ ใช้ค่าเสียหาย ปี ละ 5,000 บาท แก่ โจทก์ จนกว่า จำเลย และ บริวาร จะออก จาก ที่นา
จำเลย ให้การ และ ฟ้องแย้ง ว่า นาย อ่วม เจ้ามรดก มิได้ ทำ พินัยกรรมยกทรัพย์ ให้ โจทก์ ที่นา นาย อ่วม ยก ให้ จำเลย โจทก์ และ นาย ไสวบ้าน และ ยุ้งข้าว นาย อ่วม ยกให้ โจทก์ ทั้ง สอง กรณี มี ข้อแม้ ว่าโจทก์ จะ ต้อง ไม่ กลับไป อยู่กิน กับ นาย เข็ม สามี เดิม มิฉะนั้นให้ บ้าน และ ยุ้งข้าว ตก เป็น ของ จำเลย เมื่อ นาย อ่วม ตาย โจทก์ผิด เงื่อนไข ไป อยู่กิน กับ นายเข็ม บ้าน และ ยุ้งข้าว จึง ตก เป็น ของจำเลย คดี โจทก์ ขาด อายุความ 1 ปี แล้ว ขอให้ ยกฟ้อง และ พิพากษาว่า ที่นา บ้าน และ ยุ้งข้าว เป็น ของ จำเลย ห้าม โจทก์ เข้า เกี่ยวข้อง ให้ โจทก์ ส่งมอบ บ้าน ให้ จำเลย หาก ส่งมอบ ไม่ ได้ ให้ ใช้ ราคา20,000 บาท แทน
โจทก์ ให้การ แก้ ฟ้องแย้ง ว่า ที่นา เป็น ของ โจทก์ แต่ ผู้เดียวตาม พินัยกรรม โจทก์ ครอบครอง มา ตั้งแต่ บิดา ถึงแก่กรรม บ้าน และยุ้งข้าว ปลูก ใน ที่ดิน ของ โจทก์ ย่อม เป็น ส่วนควบ ของ ที่ดิน และโจทก์ ครอบครอง มา ขอให้ ยก ฟ้องแย้ง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า บ้าน พิพาท เป็น ของ โจทก์ ห้าม จำเลย และบริวาร เข้า เกี่ยวข้อง ให้ แบ่ง ที่ พิพาท เนื้อที่ 11 ไร่ ตาม ฟ้องและ ยุ้งข้าว พิพาท ให้ โจทก์ และ จำเลย คน ละ กึ่งหนึ่ง หาก ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่ ยอม ไป จด ทะเบียนสิทธิ เกี่ยวกับ ที่ดิน ให้ ถือคำพิพากษา เป็น การ แสดง เจตนา แทน หาก การ แบ่ง ตกลง กัน ไม่ ได้ให้ ประมูล กัน ระหว่าง คู่ความ หรือ มิฉะนั้น ให้ ขายทอดตลาด เอาเงิน แบ่ง กัน ตาม ส่วน คำขอ ท้ายฟ้อง ของ โจทก์ และ ฟ้องแย้ง ของ จำเลยนอกจากนี้ ให้ ยกเสีย
โจทก์ และ จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา แก้ เป็น ว่า ที่นา เนื้อที่ 11 ไร่ บ้าน และยุ้งข้าว เป็น ของ โจทก์ ห้าม จำเลย และ บริวาร เกี่ยวข้อง ให้ จำเลยคืน ยุ้งข้าว แก่ โจทก์ ถ้า คืน ไม่ ได้ ให้ ใช้ ราคา 2,000 บาท แก่โจทก์ นอกจาก ที่ แก้ คง เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า แม้ ข้อเท็จจริง จะ ฟัง ได้ ว่า นาย อ่วม มีเจตนา ที่ จะ ทำ พินัยกรรม เอกสาร หมาย จ.2 เป็น พินัยกรรม เอกสารฝ่ายเมือง แต่ มิได้ ไป ทำ ต่อ กรมการ อำเภอ พินัยกรรม จึง ไม่ สมบูรณ์เป็น พินัยกรรม เอกสาร ฝ่ายเมือง ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1658 ก็ ตาม เมื่อ พินัยกรรม เอกสาร หมาย จ.2 นาย อ่วม เป็นผู้ เขียน ขึ้น เอง ทั้ง ฉบับ และ ได้ ลง ลายมือชื่อ ไว้ เอง จึง เป็นพินัยกรรม ที่ สมบูรณ์ ตาม แบบ พินัยกรรม เอกสาร เขียน เอง ทั้ง ฉบับตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1657 จึง มี ผล ใช้ บังคับ ได้หาก นาย อ่วม ไม่ ประสงค์ ให้ พินัยกรรม เอกสาร หมาย จ.2 มี ผล บังคับต่อไป ก็ จะ ต้อง เพิกถอน พินัยกรรม ดังกล่าว เสีย โดย การ ทำลาย หรือขีดฆ่า เสียด้วย ความ ตั้งใจ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1695 เมื่อ ข้อเท็จจริง ปรากฏ ว่า พินัยกรรม เอกสาร หมาย จ.2 มิได้ ถูกขีด ฆ่า ทำลาย หรือ เพิกถอน ด้วย ประการ ใดๆ พินัยกรรม ดังกล่าว จึงยัง มี ผล บังคับ เป็น พินัยกรรม ที่ สมบูรณ์ ตาม กฎหมาย ส่วน ที่ จำเลยนำสืบ ว่า ก่อน นาย อ่วม ถึงแก่กรรม นาย อ่วม ได้ พูด สั่งเสีย ต่อหน้าญาติ และ ผู้ใหญ่ หลายคน เป็น ทำนอง เปลี่ยนแปลง แก้ไข ข้อกำหนด ในพินัยกรรม นั้น เห็นว่า แม้ จะ มี การ พูด สั่งเสีย ไว้ เช่นนั้น จริงแต่ ก็ ไม่ ปรากฏ ว่า ได้ มี การ บันทึก และ ลง ลายมือชื่อ ให้ ถูกต้องสมบูรณ์ เป็น พินัยกรรม แบบใด แบบหนึ่ง ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1656 ถึง มาตรา 1669 คำ สั่งเสีย ดังกล่าว จึง ไม่ มี ผลเปลี่ยนแปลง แก้ไข พินัยกรรม เอกสาร หมาย จ.2 แต่ อย่างใด
หลังจาก นาย อ่วม ถึงแก่กรรม จำเลย และ ญาติ ทุกคน ได้ ตกลง แบ่งปันที่นา พิพาท ให้ กับ จำเลย แล้ว ครั้น ต่อมา โจทก์ คืนดี กับ นาย เข็มสามี เดิม จำเลย จึง ไม่ ยอม โอน ที่นา ให้ แก่ โจทก์ ดังนี้ การ ที่จำเลย ตกลง แบ่ง ที่นา ทุ่งหนองขามเปี้ย บ้าน และ ยุ้งข้าว พิพาทให้ แก่ โจทก์ ตาม พินัยกรรม เอกสาร หมาย จ.2 แล้ว เพิ่ง กลับใจไม่ ยอม โอน ให้ ใน ภายหลัง ย่อม ถือ ได้ ว่า จำเลย ได้ ละเสีย แล้วซึ่ง ประโยชน์ แห่ง อายุความ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา192 แม้ โจทก์ จะ ฟ้อง คดีนี้ หลังจาก นาย อ่วม ถึงแก่กรรม แล้ว เกิน1 ปี ก็ ไม่ ขาด อายุความ
บ้าน และ ยุ้งข้าว พิพาท เป็น ของ นาย อ่วม มี มา ก่อน แต่งงาน กับจำเลย จึง มิใช่ สินสมรส ของ จำเลย กับ นาย อ่วม
พิพากษา แก้ เป็น ว่า ที่นา เนื้อที่ 11 ไร่ บ้าน และ ยุ้งข้าว เป็นของ โจทก์ ห้าม จำเลย และ บริวาร เกี่ยวข้อง ให้ จำเลย คืน ยุ้งข้าวแก่ โจทก์ ถ้า คืน ไม่ ได้ ให้ ใช้ ราคา 2,000 บาท แก่ โจทก์ คำขอของ โจทก์ นอกจากนี้ ให้ ยก ให้ ยก ฟ้องแย้ง ของ จำเลย