แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
คำว่า “ทรัพย์” ตาม ป.อ. มาตรา 350 หมายความรวมถึงสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ด้วย ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 โอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ไปให้แก่จำเลยที่ 2 จึงเป็นการโอนให้แก่ผู้อื่นซึ่งทรัพย์ ตามมาตรา 350 แล้ว.
ย่อยาว
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 350, 83
ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่าคดีมีมูล ให้ประทับฟ้อง
จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350, 83 ให้จำคุกคนละ 3 เดือน และปรับคนละ 3,000 บาท จำเลยท้งสองไม่เคยรับโทษจำคุกมาก่อน และพฤติการณ์แห่งคดีสมควรให้โอกาส จำเลยทั้งสองกลับตัว โทษจำคุกให้รอกการลงโทษไว้มีกำหนด 1 ปี (ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56)หากไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30
จำเลยทั้งสองอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า สิทธิตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์นั้น ไม่ใช่ทรัพย์ เป็นแต่เพียงบุคคลสิทธิ จึงถือว่า จำเลยที่ 1 โอนไปให้แก่ผู้อื่นซึ่งทรัพย์ใด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 ไม่ได้นั้นพิเคราะห์แล้วเห็นว่า คำว่า “ทรัพย์” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา350 มีความหมาย รวมถึง สิทธิตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ด้วย ดังนั้นการที่จำเลยที่ 1 โอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ไปให้แก่จำเลยที่ 2จึงเป็นการโอนให้แก่ผู้อื่นซึ่งทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา350 แล้ว
พิพากษายืน.