คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3920/2539

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

โจทก์ไม่ทราบมาก่อนว่าจำเลยได้ยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า Mark&Spencer โจทก์เพิ่งทราบเมื่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าปฎิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้โจทก์หลังจากนั้นโจทก์ขอให้จำเลยโอนเครื่องหมายการค้าให้โจทก์หรือให้จำเลยถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยแต่จำเลยปฎิเสธการกระทำของจำเลยเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา41(1)ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ขอจดทะเบียนโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง เครื่องหมายการค้าของโจทก์คืออักษรโรมันคำว่าMARKS&SPENCER ส่วนของจำเลยคือคำว่า Mark&Spencerต่างประกอบด้วยอักษรโรมันตัวเดียวกันคงแตกต่างกันเฉพาะเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรโรมันแบบตัวพิมพ์ใหญ่และมีตัว”S”ท้ายคำว่า MARK ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรโรมันแบบตัวเขียนและไม่มีตัว”S”ท้ายคำว่า Mark แม้แบบของตัวอักษรโรมันที่โจทก์และจำเลยนำมาใช้เป็นเครื่องหมายการค้าของฝ่ายตนจะแตกต่างกันดังกล่าวก็ตามแต่ตัวอักษรโรมันที่แต่ละฝ่ายนำมาเรียบเรียงเป็นเครื่องหมายการค้าของฝ่ายตนเป็นตัวเดียวกันทั้งเมื่ออ่านออกเสียงรวมกันทั้งคำหรือเรียกขานเครื่องหมายการค้าดังกล่าวก็อ่านออกเสียงหรือเรียกขานเหมือนกันคือ มาร์คส์หรือ มาร์คแอนด์สเปนเซอร์ อีกทั้งสินค้าของโจทก์มีจำหน่ายในประเทศไทยก่อนที่จำเลยจะขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยแล้วพฤติการณ์เช่นนี้ย่อมบ่งบอกเจตนาของจำเลยผู้ประกอบธุรกิจการค้าได้ว่าจำเลยต้องการให้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ใช้กับสินค้าจำพวกเครื่องหนังอันเป็นสินค้าจำพวกเดียวกับสินค้าของโจทก์ที่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ที่ต่างประเทศก่อนแล้วอ่านหรือเรียกขานให้เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าหรือชื่อในทางการค้าของโจทก์โดยมุ่งประสงค์จะลวงให้สาธารณชนสับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยดังกล่าวเป็นสินค้าของโจทก์โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า MARKS&SPENCERของโจทก์ดีกว่าจำเลย

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น เจ้าของ เครื่องหมายการค้า อักษร โรมันคำ ว่า MARKS & SPENCER (มาร์คส แอนด์ สเปนเซอร์) พร้อม ทั้ง จดทะเบียน และ ยื่น ขอ จดทะเบียน ใน ประเทศ อังกฤษ และ ใน ประเทศ ต่าง ๆ ทั่ว โลก เมื่อ วันที่ 23 ธันวาคม 2534 โจทก์ ยื่น คำขอ จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า อักษร โรมัน คำ ว่า MARKS & SPENCER เพื่อ ตาม คำขอ พวก ต่าง ๆ รวมทั้ง สินค้า จำพวก 37 ตาม คำขอ เลขที่222676 แต่ นายทะเบียน แจ้ง ว่า ไม่สามารถ รับ จดทะเบียน ตาม คำขอ ดังกล่าวได้ เนื่องจาก มี ลักษณะ เหมือน หรือ คล้าย กับ เครื่องหมายการค้า คำ ว่า Mark&Spencer (มาร์ค แอนด์ สเปนเซอร์) ที่ จำเลย ยื่น ขอ จดทะเบียน ไว้ แล้ว ตาม คำขอ เลขที่ 207686 ทะเบียน เลขที่ 154066 โจทก์ เป็นเจ้าของ เครื่องหมายการค้า อักษร โรมัน คำ ว่า MARKS & SPENCER ใช้ และ โฆษณา รวมทั้ง จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า ดังกล่าว ใน ประเทศ ต่าง ๆทั่ว โลก เครื่องหมายการค้า ที่ จำเลย ยื่น ขอ จดทะเบียน มี ลักษณะเหมือน หรือ คล้าย กับ เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ ออกเสียง เรียกขานเช่นเดียวกัน ขณะ จำเลย ยื่น คำขอ จดทะเบียน จำเลย รู้ ถึง ชื่อ ทางการค้า และ เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ การกระทำ ของ จำเลยเป็น การ ลวง ให้ สาธารณชน สับสน หลงผิด ว่า สินค้า ของ จำเลยเป็น สินค้า ของ โจทก์ ก่อ ให้ เกิด ความเสียหาย ต่อ ชื่อเสียง เกียรติคุณและ ความนิยม ใน ชื่อ ทางการ ค้า และ เครื่องหมายการค้า รวมทั้ง ทำให้โจทก์ ไม่สามารถ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า ตาม คำขอ เลขที่222676 ได้ ขอให้ พิพากษา ว่า เครื่องหมายการค้า อักษร โรมันคำ ว่า MARKS & SPENCER ของ โจทก์ กับ เครื่องหมายการค้า ของ จำเลย เหมือน หรือ คล้าย กัน และ โจทก์ มีสิทธิ ใน เครื่องหมายการค้าทั้งหมด ดีกว่า จำเลย ให้ จำเลย ถอน ทะเบียน เครื่องหมายการค้า เลขที่154066 คำขอ เลขที่ 207686 หาก ไม่ ปฎิบัติ ตาม ให้ ถือเอา คำพิพากษาแทน การแสดง เจตนา ของ จำเลย ห้าม จำเลย ใช้ ยื่น ขอ จดทะเบียนหรือ เข้า เกี่ยวข้อง ใด ๆ กับ เครื่องหมายการค้า Mark&Spencer หรือ เครื่องหมายการค้า อื่น ใด ที่ เหมือน หรือ คล้าย กับ ชื่อ ทางการ ค้า และเครื่องหมายการค้า อักษร โรมัน คำ ว่า MARKS & SPENCER ของ โจทก์
จำเลย ให้การ ว่า โจทก์ ไม่มี อำนาจฟ้อง เนื่องจาก โจทก์มิใช่ เจ้าของ เครื่องหมายการค้า อักษร โรมัน คำ ว่า MARKS & SPENCER และ ไม่เคย ใช้ อักษร โรมัน ดังกล่าว โดย เจตนา ให้ เป็น เครื่องหมายการค้าเหตุ ที่ โจทก์ ไม่สามารถ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า อักษร โรมันคำ ว่า MARKS & SPENCER ได้ เนื่องจาก เป็น คำสั่ง นายทะเบียน เครื่องหมายการค้า โจทก์ จึง ชอบ ที่ จะ อุทธรณ์ คำสั่ง ดังกล่าว ตามพระราชบัญญัติ เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 การ ที่นาย ทะเบียนรับ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า ของ จำเลย ไม่เป็น การ ขัดขวาง โจทก์ใน การ ใช้ โดยสุจริต จึง ไม่เป็น การ โต้แย้ง สิทธิ โจทก์ ขณะ มี การ ประกาศคำขอ จดทะเบียน เลขที่ 207686 ของ จำเลย โจทก์ มิได้ คัดค้านและ ก่อน ฟ้องคดี นี้ โจทก์ ไม่เคย ติดต่อ ให้ จำเลย ถอน ทะเบียน เครื่องหมายการค้า ของ จำเลย โจทก์ กล่าวอ้าง ว่า จำเลย ทำละเมิด ต่อ โจทก์ โดย การลวง ขาย สินค้า เกิน กำหนด 1 ปี นับแต่ วันที่ โจทก์ ทราบ ว่า จำเลยยื่น ขอ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า ฟ้องโจทก์ ขาดอายุความ จำเลยมีสิทธิ ใน เครื่องหมายการค้า อักษร โรมัน คำ ว่า Mark&Spencer ของ จำเลย เนื่องจาก จำเลย ยื่น ขอ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้าโดย ถูกต้อง เครื่องหมายการค้า ของ จำเลย ไม่ เหมือน หรือ คล้ายกับ เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ จึง ไม่เป็น การ ลวง ขาย สินค้าและ โจทก์ ไม่ได้ รับ ความเสียหาย ต่อ ชื่อเสียง เกียรติคุณ หรือ ความนิยมใน ชื่อ ทางการ ค้า และ เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ ฟ้องโจทก์ เคลือบคลุมขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า โจทก์ มีสิทธิ ใน เครื่องหมายการค้าอักษร โรมัน คำ ว่า MARKS & SPENCER ดีกว่า จำเลย ห้าม จำเลย เกี่ยวข้อง หรือ ขอ จดทะเบียน อีก ต่อไป และ ให้ จำเลย ไป ถอน ทะเบียนเครื่องหมายการค้า คำขอ เลขที่ 207686 ทะเบียน เลขที่ 154066 ของจำเลย ต่อ นายทะเบียน เครื่องหมายการค้า หาก ไม่ ปฎิบัติ ตาม ให้ ถือเอาคำพิพากษา แทน การแสดง เจตนา ของ จำเลย
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ที่ จำเลย ฎีกา อ้างว่า โจทก์ รู้ ถึง การ ที่ จำเลยเป็น เจ้าของ เครื่องหมายการค้า คำ ว่า Mark&Spencer โดยชอบ ด้วย กฎหมาย ดี อยู่ แล้ว ถึง ขนาด ใน ขณะที่ จำเลย ไป ดำเนินการ ขอ จดทะเบียนต่อ นายทะเบียน เครื่องหมายการค้า โจทก์ ก็ มิได้ คัดค้าน และ ก่อน ฟ้องโจทก์ ก็ เคย เสนอ ให้ จำเลย โอน เครื่องหมายการค้า ของ จำเลย ให้ แก่โจทก์ แล้ว แต่ ถูก จำเลย ปฎิเสธ การ ที่ โจทก์ เพิ่ง มา ฟ้อง จำเลย หลังจากจำเลย ได้รับ อนุญาต ให้ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า ของจำเลย ถึง ปี เศษ เช่นนี้ ถือได้ว่า โจทก์ ใช้ สิทธิ โดย ไม่สุจริต นั้นโจทก์ ได้ นำสืบ ว่า โจทก์ ไม่ทราบ มา ก่อน ว่า จำเลย ได้ ยื่น ขอ จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า คำ ว่า Mark&Spencer โจทก์ เพิ่ง ทราบ ภายหลัง จาก นายทะเบียน เครื่องหมายการค้า ได้รับ จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ให้ จำเลย แล้ว โดย โจทก์ ทราบ เมื่อ นายทะเบียนเครื่องหมายการค้า ได้ ปฏิเสธ ไม่รับ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้าตาม คำขอ เลขที่ 222676 ให้ แก่ โจทก์ และ เมื่อ โจทก์ ทราบ โจทก์ก็ ได้ ให้ นาย อนุรัตน์ จัดนอก ทนายความ ไป ติดต่อ ขอให้ จำเลย โอน ทะเบียน เครื่องหมายการค้า ของ จำเลย ให้ แก่ โจทก์ หรือ ให้ จำเลยถอน ทะเบียน เครื่องหมายการค้า ของ จำเลย เสีย แต่ จำเลย ปฎิเสธไม่ยอม โอน หรือ ถอน ทะเบียน เครื่องหมายการค้า ของ จำเลยการกระทำ ของ จำเลย ดังกล่าว เห็นว่า เป็น การ โต้แย้ง สิทธิของ โจทก์ ตาม พระราชบัญญัติ เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474มาตรา 41(1) ซึ่ง เป็น กฎหมาย ที่ ใช้ บังคับ อยู่ ใน ขณะที่ โจทก์ ขอจดทะเบียน โจทก์ ย่อม มีอำนาจ ฟ้อง จำเลย เป็น คดี นี้ ฎีกา ของ จำเลยใน ประเด็น นี้ ฟังไม่ขึ้น
ส่วน ประเด็น เรื่อง เครื่องหมายการค้า ของ จำเลย เหมือนหรือ คล้าย กับ เครื่องหมายการค้า และ ชื่อ ใน ทางการ ค้า ของ โจทก์จน นับ ได้ว่า เป็น การ ลวง สาธารณชน หรือไม่ นั้น จำเลย ฎีกา ว่าเครื่องหมายการค้า ของ จำเลย แตกต่าง จาก เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์อย่าง เห็น ได้ ชัดเจน และ โดย ง่ายดาย เพราะ รูป ลักษณะ ของ ตัวอักษรและ วิธีการ เขียน แตกต่าง กัน ย่อม ไม่ทำ ให้ สาธารณชน สับสน จน ถึง กับเป็น การ ลวง สาธารณชน ได้ และ โจทก์ ก็ ไม่เคย ส่ง สินค้า จำพวก เครื่อง หนังเข้า มา จำหน่าย ใน ประเทศ ไทย ก่อน ที่ จำเลย ขอ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า ของ จำเลย จำเลย จึง มีสิทธิ ใน เครื่องหมายการค้า ของ จำเลยดีกว่า โจทก์ เห็นว่า เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ และ ของ จำเลยต่าง ประกอบ ด้วย อักษร โรมัน ตัว เดียว กัน คง แตกต่าง กัน เฉพาะเครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ เป็น อักษร โรมัน แบบ ตัว พิมพ์ ใหญ่ และ มี ตัว”S” ท้าย คำ ว่า MARK ส่วน เครื่องหมายการค้า ของ จำเลย เป็น อักษร โรมัน แบบ ตัว เขียน และ ไม่มี ตัว “S” ท้าย คำ ว่า Mark แม้ แบบ ของ ตัวอักษร โรมัน ที่ โจทก์ และ จำเลย นำ มา ใช้ เป็น เครื่องหมายการค้าของ ฝ่าย ตน จะ แตกต่าง กัน ดังกล่าว แล้ว ก็ ตาม แต่ ตัวอักษร โรมัน ที่แต่ละ ฝ่าย นำ มา เรียบเรียง เป็น เครื่องหมายการค้า ของ ฝ่าย ตน เป็น ตัวเดียว กัน ทั้ง เมื่อ อ่าน ออกเสียง รวมกัน ทั้ง คำ หรือ เรียกขาน เครื่องหมายการค้า ดังกล่าว โจทก์ นำสืบ โดย ที่ จำเลย มิได้ นำสืบ โต้เถียง เป็นอย่างอื่น ว่า อ่าน ออกเสียง หรือ เรียกขาน เหมือนกัน คือ มาร์คส์หรือมาร์ค แอนด์ สเปนเซอร์ ทั้ง ได้ความ จาก คำของ นาย บุญมา และ นาง นาตยา พยานโจทก์ ว่า สินค้า ของ โจทก์ นำเข้า มา จำหน่าย ใน ประเทศ ไทย ตั้งแต่ ปี 2523 โดย บริษัท ปารุจอิมปอร์ตเอ็กซ์ปอร์ต จำกัด เป็น ผู้นำ เข้า ต่อมา เมื่อ ปี 2536บริษัท สุวิมล จำกัด เป็น ตัวแทน จำหน่าย สินค้า ของ โจทก์ แต่เพียง ผู้เดียว ใน ประเทศ ไทย สินค้า ของ โจทก์ เหล่านั้น มี จำพวก เครื่อง หนังรวม อยู่ ด้วย แสดง ให้ เห็นว่า สินค้า ของ โจทก์ มี จำหน่าย ใน ประเทศ ไทยก่อน ที่ จำเลย จะ ขอ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า ของ จำเลย แล้วเมื่อ จำเลย นำตัว พยัญชนะ และ สระ ของ อักษร โรมัน มา ประดิษฐ์ เป็นเครื่องหมายการค้า ของ จำเลย ให้ อ่าน ออกเสียง หรือ เรียกขาน ให้เหมือน หรือ คล้าย กับ เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ ใน พฤติการณ์เช่นนี้ ย่อม บ่ง บอก เจตนา ของ จำเลย ผู้ประกอบ ธุรกิจ ทางการ ค้าได้ว่า จำเลย ต้องการ ให้ เครื่องหมายการค้า ของ จำเลย ที่ ใช้ กับสินค้า จำพวก เครื่อง หนัง อันเป็น สินค้า จำพวก เดียว กับ สินค้า ของ โจทก์ที่ ได้ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า ไว้ ที่ ต่างประเทศ ก่อน แล้วอ่าน หรือ เรียกขาน ให้ เหมือน หรือ คล้าย กับ เครื่องหมายการค้า หรือชื่อ ใน ทางการ ค้า ของ โจทก์ โดย มุ่ง ประสงค์ จะ ลวง ให้ สาธารณชน สับสนหลงผิด ว่า สินค้า ของ จำเลย ดังกล่าว เป็น สินค้า ของ โจทก์ โจทก์ จึงมีสิทธิ ใน เครื่องหมายการค้า คำ ว่า MARKS & SPENCER ของ โจทก์ ดีกว่า จำเลย ฎีกา ของ จำเลย ใน ประเด็น นี้ ก็ ฟังไม่ขึ้น เช่นกัน
พิพากษายืน

Share