คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1703/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

จำเลยทำ สัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาททั้งสามโฉนดให้แก่ผู้ร้องไว้ก่อนวันที่19มีนาคม2533ซึ่งเป็นวันที่จำเลยถึงแก่กรรมต่อมาวันที่14กันยายน2533ผู้ร้องฟ้อง ล. ในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกของจำเลยขอให้ศาลบังคับให้ ล.จดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาททั้งสามโฉนดแก่ผู้ร้อง ล. ตกลง ประนีประนอมยอมความยอมจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องศาลได้ พิพากษาตามยอมเมื่อวันที่1กุมภาพันธ์2534ภายหลังที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินไว้ก่อนแล้วเมื่อวันที่18เมษายน2533ดังนี้การที่ ล. ตกลงประนีประนอมยอมความกับผู้ร้องเป็นการยอมรับตามสิทธิของผู้ร้องที่มีอยู่ตามสัญญาจะซื้อขายที่จำเลยทำไว้แก่ผู้ร้องก่อนถึงแก่กรรมหาใช่ ล. เพิ่งก่อให้เกิดเปลี่ยนแปลงซึ่งสิทธิในที่ดินที่ถูกยึดภายหลังที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการยึดไว้แล้วไม่และผู้ร้องย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลบังคับ ล. ในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกของจำเลยซึ่งได้รับมาทั้งสิทธิและหน้าที่ที่จำเลยมีอยู่ต่อผู้ร้องจดทะเบียนโอนขายที่ดินทั้งสามโฉนดตามสัญญาจะซื้อขายแก่ผู้ร้องและการที่ศาลพิพากษาตามยอมก็เป็นการบังคับให้ ล. ในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกของจำเลยปฏิบัติตามที่จำเลยมีอยู่ต่อผู้ร้องเท่านั้นถือไม่ได้ว่าจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาได้ก่อให้เกิดเปลี่ยนแปลงซึ่งสิทธิในทรัพย์สินที่ถูกยึดภายหลังที่ได้ทำการยึดไว้แล้ว

ย่อยาว

คดี สืบเนื่อง จาก ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ชำระ เงินตาม สัญญา ประนีประนอม ยอมความ แก่ โจทก์ จำเลย ผิดนัด โจทก์ ขอให้บังคับคดี และ นำ เจ้าพนักงาน บังคับคดี ทำการ ยึด ที่ดิน ของ จำเลย รวม 5แปลง โฉนด เลขที่ 46506, 56592, 56593, 31044 และ 30987 เพื่อขายทอดตลาด ชำระหนี้ แก่ โจทก์
ผู้ร้อง ยื่น คำร้อง ว่า ที่ดิน โฉนด เลขที่ 56592, 56593และ 46506 ที่ โจทก์ นำยึด ศาลแพ่ง ธนบุรี พิพากษา ตามสัญญา ประนีประนอม ยอมความ ให้ ผู้จัดการมรดก ของ จำเลย ไป จดทะเบียนโอน กรรมสิทธิ์ ให้ ผู้ร้อง ตาม สัญญาจะซื้อขาย ที่ จำเลย ทำ ไว้ แก่ ผู้ร้องผู้ร้อง จึง อยู่ ใน ฐานะ อัน จะ ให้ จดทะเบียน สิทธิ การ ได้ มา ซึ่ง กรรมสิทธิ์ใน ที่ดิน ดังกล่าว โจทก์ จะ บังคับคดี ให้ กระทบ สิทธิ ของ ผู้ร้อง หาได้ไม่ขอให้ เพิกถอน การ ยึด ที่ดิน 3 โฉนด ดังกล่าว เสียตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287
โจทก์ คัดค้าน ว่า ที่ดิน เป็น กรรมสิทธิ์ ของ จำเลย โจทก์ ได้ ฟ้องและ บังคับคดี ก่อน ที่ ผู้ร้อง จะ ได้ สิทธิ ตาม คำร้อง ผู้ร้อง ไม่มี สิทธิขอให้ เพิกถอน การ ยึด ขอให้ ยกคำร้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว มี คำสั่ง ยกคำร้อง
ผู้ร้อง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ให้ เพิกถอน การ ยึด ที่ดิน โฉนด เลขที่56592, 56593 และ 46506 แขวง แสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ที่ โจทก์ ฎีกา ว่า โจทก์ นำเจ้าพนักงาน บังคับคดี ยึด ที่ดิน ทั้ง สาม โฉนด ไว้ เมื่อ วันที่ 18 เมษายน2533 นาง ลลนา ใน ฐานะ ทายาท และ ผู้จัดการมรดก ของ จำเลย ทำ สัญญา ประนีประนอม ยอมความ ยอม จดทะเบียน โอน ที่ดิน ทั้ง สาม โฉนดแก่ ผู้ร้อง เมื่อ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2534 เป็น การ ก่อ ให้ เกิดเปลี่ยนแปลง สิทธิ ใน ที่ดิน ที่ ถูก ยึด ภายหลัง ที่ ได้ ทำการ ยึด ไว้ แล้วจึง ไม่อาจ ใช้ ยัน แก่ โจทก์ ซึ่ง เป็น เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา หรือเจ้าพนักงาน บังคับคดี ได้ นั้น เห็นว่า ตาม ข้อเท็จจริง ที่ โจทก์ยอมรับ มา ใน ฎีกา ได้ความ ว่า จำเลย ทำ สัญญาจะซื้อขาย ที่ดิน ทั้ง สาม โฉนดแก่ ผู้ร้อง ไว้ ก่อน วันที่ 19 มีนาคม 2533 ซึ่ง เป็น วันที่ จำเลยถึงแก่กรรม ผู้ร้อง ฟ้อง นาง ลลนา ใน ฐานะ ทายาท และ ผู้จัดการมรดก ของ จำเลย เมื่อ วันที่ 14 กันยายน 2533 ขอให้ ศาล บังคับ ให้นาง ลลนา จดทะเบียน โอน ขาย ที่ดิน ทั้ง สาม โฉนด แก่ ผู้ร้อง ตาม สัญญาจะซื้อขาย ที่ จำเลย ทำ ไว้ แก่ ผู้ร้อง ดังกล่าว นาง ลลนา ตกลง ประนีประนอม ยอมความ ยอม จดทะเบียน โอน ขาย ที่ดิน ทั้ง สาม โฉนดแก่ ผู้ร้อง ตาม ฟ้อง ศาล พิพากษา ตามยอม เมื่อ วันที่ 1 กุมภาพันธ์2534 ภายหลัง จาก ที่ โจทก์ ได้ นำ เจ้าพนักงาน บังคับคดี ยึด ที่ดินทั้ง สาม โฉนด ดังกล่าว ไว้ แล้ว เมื่อ วันที่ 18 เมษายน 2533 ดังนี้การ ที่นาง ลลนา ตกลง ประนีประนอม ยอมความ กับ ผู้ร้อง ไป ดังกล่าว หาใช่ นาง ลลนา ใน ฐานะ ทายาท และ ผู้จัดการมรดก ของ จำเลย เพิ่ง ก่อ ให้ เกิด เปลี่ยนแปลง ซึ่ง สิทธิ ใน ที่ดิน ทั้ง สาม โฉนดที่ ถูก ยึด ภายหลัง ที่ เจ้าพนักงาน บังคับคดี ได้ ทำการ ยึด ไว้ แล้ว ไม่หาก แต่ เป็น การ ที่นาง ลลนา ใน ฐานะ ทายาท และ ผู้จัดการมรดก ของ จำเลย ยอมรับ ตาม สิทธิ ของ ผู้ร้อง ที่ มี อยู่ ตาม สัญญาจะซื้อขาย ที่ จำเลยทำ ไว้ แก่ ผู้ร้อง ก่อน จำเลย ถึงแก่กรรม ผู้ร้อง จึง มีสิทธิ ที่ จะ ฟ้องขอให้ ศาล บังคับ นาง ลลนา ใน ฐานะ ทายาท และ ผู้จัดการมรดก ซึ่ง รับ มา ทั้ง สิทธิ และ หน้าที่ ที่ จำเลย มี อยู่ ต่อ ผู้ร้อง จดทะเบียน โอน ขายที่ดิน ทั้ง สาม โฉนด แก่ ผู้ร้อง ได้ และ การ ที่ ศาล พิพากษา ตามยอม ก็ เป็นการ บังคับ ให้ นาง ลลนา ใน ฐานะ ทายาท และ ผู้จัดการมรดก ของ จำเลย ปฏิบัติ ตาม กฎหมาย ตาม หน้าที่ ที่ จำเลย มี อยู่ ต่อ ผู้ร้อง ใน ความผูกพันตาม สัญญาจะซื้อขาย ที่ จำเลย ทำ ไว้ แก่ ผู้ร้อง ก่อน จำเลย ถึงแก่กรรมเท่านั้น ถือไม่ได้ว่า จำเลย ซึ่ง เป็น ลูกหนี้ โจทก์ ตาม คำพิพากษาได้ ก่อ ให้ เกิด เปลี่ยนแปลง ซึ่ง สิทธิ ใน ทรัพย์สิน ที่ ถูก ยึดภายหลัง ที่ ได้ ทำการ ยึด ไว้ แล้ว ฎีกา ของ โจทก์ จึง ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share