คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 387/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตายที่พิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมทุกคนโจทก์ที่2ซึ่งเป็นทายาทเป็นผู้ครอบครองทรัพย์มรดกและไม่ปรากฏว่ามีทายาทคนใดแสดงตนเข้าครอบครองโดยให้โจทก์ที่2ครอบครองแทนจึงถือได้ว่าโจทก์ที่2ครอบครองเพื่อตนจำเลยทั้งห้าเพิ่งยื่นคำร้องขอรับมรดกหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่ความตายไปแล้วเป็นเวลาเกินกว่า10ปีย่อมสิ้นสิทธิเรียกร้องเอาที่พิพาทจากโจทก์ที่2ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1754วรรคสี่

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ ทั้ง สอง เป็น บุตร ของ นาง เขียน ปิ่นแก้ว นาง เขียน มี ชื่อ ครอบครอง ที่ดิน ตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3) เลขที่ 2 เล่ม ที่ 1 หน้า สำรวจ 177 หมู่ ที่ 12ตำบล บางตาเถร อำเภอสองพี่น้อง จังหวัด สุพรรณบุรี ร่วม กับ นาง ฉิ่ง ส่งสมบูรณ์ นาง เขียน ได้ ครอบครอง ส่วน ของ ตน โดย ทำนา ร่วม กับ โจทก์ ทั้ง สอง ตลอดมา ส่วน พี่น้อง อื่น ซึ่ง รวมทั้ง จำเลย ทั้ง ห้าได้ แยก ครอบครัว ออก ไป หมด แล้ว และ ภายหลัง ที่นาย จ๋อง บิดา ถึงแก่กรรม นาง เขียน ก็ ได้ แบ่ง ที่ดิน ที่ มี อยู่ เดิม ให้ แก่ บุตร ทุกคน ไป เรียบร้อย แล้ว นาง เขียน เคย มี คดี พิพาท กับ นาย วัฒน์ ซึ่ง บุกรุก ที่ดิน ส่วน ของ นาง เขียน ดังกล่าว โจทก์ ทั้ง สอง ได้ ช่วย กัน หา เงิน ให้ นาง เขียน สู้ คดี กับ นาย วัฒน์ ไม่มี พี่น้อง คนใด เข้า มา ช่วยเหลือ ใน ที่สุด ศาล พิพากษา ให้ นาง เขียน ชนะคดี นาง เขียน จึง บอก ยก ที่ดิน ดังกล่าว ให้ แก่ โจทก์ ทั้ง สอง โจทก์ ทั้ง สอง ครอบครอง ทำนา ตลอดมา จน กระทั่งนาง เขียน ถึงแก่กรรม เมื่อ ประมาณ ปี 2513 หลังจาก นั้น โจทก์ ทั้ง สอง ยัง คง ครอบครอง ทำนา โดย สงบ โดย เปิดเผย ด้วย เจตนา เป็น เจ้าของ ติดต่อ กันเป็น เวลา ถึง 20 ปี แล้ว และ ได้เสีย ภาษีบำรุงท้องที่ สำหรับ ที่ดินดังกล่าว ต่อมา เมื่อ วันที่ 8 มีนาคม 2533 จำเลย ทั้ง ห้า ไป ขอรับ มรดกที่ดิน ดังกล่าว ที่ สำนักงาน ที่ดิน อำเภอ สองพี่น้อง โจทก์ ทั้ง สอง ไป คัดค้าน จาก นั้น จำเลย ทั้ง ห้า ได้ บุกรุก เข้า ไป ปัก ไม้ ลง ใน ที่ดินแย่ง การ ครอบครอง ของ โจทก์ ทั้ง สอง โจทก์ ทั้ง สอง ห้าม แล้วแต่ จำเลยทั้ง ห้า เพิกเฉย ทำให้ โจทก์ ทั้ง สอง ไม่สามารถ ครอบครอง ที่ดิน ดังกล่าวได้ อย่าง ปกติ สุข โจทก์ ขอ คิด ค่าเสียหาย เดือน ละ 500 บาท ขอให้ บังคับจำเลย ทั้ง ห้า ร่วมกัน ขนย้าย ไม้ ที่ ปัก ไว้ ทั้งหมด ออก ไป ให้ พ้น ไป จากที่ดิน ส่วน ของ นาง เขียน ตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3)เลขที่ 2 เล่ม ที่ 1 หน้า สำรวจ 177 หมู่ ที่ 12 ตำบล บางตาเถร อำเภอ สองพี่น้อง จังหวัด สุพรรณบุรี ห้ามเข้า เกี่ยวข้อง อีก ต่อไป และ ให้ จำเลย ทั้ง ห้า ร่วมกัน ชดใช้ ค่าเสียหาย เดือน ละ 500 บาท นับแต่เดือน ที่ ฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ขนย้าย ไม้ ทั้งหมด ออก ไป แล้ว เสร็จให้ แก่ โจทก์ ทั้ง สอง
จำเลย ที่ 1 ขาดนัด ยื่นคำให้การ
จำเลย ที่ 2 ถึง ที่ 5 ให้การ ทำนอง เดียว กัน ว่า จำเลย ที่ 1ถึง ที่ 4 เป็น พี่น้อง ร่วม บิดา มารดา เดียว กัน กับ โจทก์ ทั้ง สองนาย จ๋อง บิดา ถึงแก่กรรม เมื่อ ประมาณ ปี 2483 ต่อมา ประมาณ ปี 2490นาง เขียน มารดา ได้ แบ่ง ที่ดิน ทำนา ให้ แก่ บุตร ทุกคน โดย โจทก์ ที่ 1ได้ 5 ไร่ โจทก์ ที่ 2 ได้ 10 ไร่ จำเลย ที่ 1 ได้ 4 ไร่ จำเลย ที่ 2ได้ 4 ไร่ จำเลย ที่ 3 ได้ 4 ไร่ จำเลย ที่ 4 ได้ 10 ไร่ ติดกับที่พิพาท และ นาย รัก ปิ่นแก้ว ซึ่ง เป็น บิดา ของ จำเลย ที่ 5 ได้ 4 ไร่ ส่วน ที่พิพาท นาง เขียน มิได้ แบ่ง ให้ แก่ บุตร คนใด นาง เขียน ใช้ ทำนา ร่วม กับ นาง ฉิ่ง ตลอดมา จน กระทั่ง ปี 2493 มี นาย วัฒน์ ไม่ทราบ นามสกุล บุกรุก เข้า มา ขุด บ่อน้ำ ใน ที่พิพาท ทำให้ ที่พิพาท กลาย สภาพ เป็น บ่อน้ำใช้ ทำนา ไม่ได้ นาง เขียน และ นาง กิ่ง ร่วมกัน ดำเนินคดี ขับไล่ นาย วัฒน์ ไป ได้ โจทก์ ทั้ง สอง ไม่ได้ ให้ ความ ช่วยเหลือ แก่ นาง เขียน นาง เขียน ไม่ได้ ยก หรือ มอบ การ ครอบครอง ที่พิพาท ให้ แก่ โจทก์ ทั้ง สอง เมื่อ ปี 2504 จำเลย ที่ 4 ได้ พา นาง เขียน ไป อยู่ ด้วยกัน ที่ กรุงเทพมหานคร จน กระทั่ง นาง เขียน ถึงแก่กรรม เมื่อ ปี 2513ที่พิพาท เป็น ทรัพย์มรดก ของ นาง เขียน อัน ตกทอด แก่ ทายาท ทุกคน จำเลย ทั้ง ห้า จึง ไป ยื่น คำร้องขอ รับมรดก ตาม สิทธิ แต่ โจทก์ ทั้ง สองไม่ยินยอม จึง จดทะเบียน รับโอน มรดก กัน ไม่ได้ จำเลย ทั้ง ห้า เห็นว่าโจทก์ ทั้ง สอง จะ แย่ง การ ครอบครอง ที่พิพาท ไป เป็น ของ ตนเอง เพียง 2 คนจำเลย ทั้ง ห้า จึง ได้ ร่วมกัน ใช้ ไม้ ปัก เป็น รั้ว แสดง อาณาเขต ตาม สิทธิของ แต่ละ คน ที่พิพาท หาก นำ ไป ให้ เช่า จะ ได้ ค่าเช่า ไม่เกิน เดือน ละ125 บาท ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า ที่ดิน ตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส. 3) เลขที่ 2 เล่ม ที่ 1 หน้า สำรวจ 177 หมู่ ที่ 12ตำบล บางตาเถร อำเภอสองพี่น้อง จังหวัด สุพรรณบุรี ส่วน ของ นาง เขียน ปิ่นแก้ว เป็น ที่ดิน ที่ โจทก์ ที่ 2 มีสิทธิ ครอบครอง หรือ เป็น ของ โจทก์ ที่ 2 ให้ จำเลย ทั้ง ห้า ร่วมกัน รื้อถอน ขนย้าย ไม้ที่ ปัก ไว้ ออก ไป ให้ พ้น จาก ที่ดิน ของ โจทก์ ที่ 2 ห้าม จำเลย ทั้ง ห้าเข้า เกี่ยวข้อง อีก ต่อไป ให้ จำเลย ทั้ง ห้า ร่วมกัน ใช้ ค่าเสียหาย แก่โจทก์ ที่ 2 เป็น เงินเดือน ละ 300 บาท นับแต่ วันที่ 22 สิงหาคม 2533เป็นต้น ไป จนกว่า จะ รื้อถอน ขนย้าย ไม้ ที่ ปัก ดังกล่าว ออก ไป ให้ยก ฟ้องโจทก์ ที่ 1
จำเลย ที่ 2 ถึง ที่ 5 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ยก ฟ้องโจทก์ ที่ 2 ด้วย
โจทก์ ที่ 2 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง เบื้องต้นฟังได้ ว่า เดิม นาง เขียน ปิ่นแก้ว ใช้ นามสกุล สายสังข์ ตาม นาย จ๋อง สายสังข์ สามี ตาม ที่ ปรากฏ ใน สำเนา โฉนด ที่ดิน เอกสาร หมาย ล. 2 นาย จ๋องและนางเขียน เป็น บิดา มารดา ของ โจทก์ ที่ 2จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 4 และ นาย รัก ปิ่นแก้ว จำเลย ที่ 5 เป็น บุตร ของ นาย รัก นายจ๋อง และ นาย รัก ถึงแก่กรรม ไป นาน แล้ว เมื่อ นาย จ๋อง ถึงแก่กรรม นาง เขียน ได้ นำ ที่ดิน มรดก มา แบ่ง ให้ แก่ โจทก์ ที่ 2จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 4 และ นาย รัก ตาม ที่ ปรากฏ ใน เอกสาร หมาย ล. 2และ ล. 3 นาง เขียน มี ชื่อ เป็น ผู้ครอบครอง ที่ดิน ตาม หนังสือ รับรอง การ ทำประโยชน์ (น.ส. 3) เอกสาร หมาย จ. 1 หรือ ล. 4 ร่วม กับนาง ละเอียด แผลงศร คน ละ ประมาณ 7 ไร่ ส่วน ของ นาง เขียน ไม่มี การ จดทะเบียน โอน แก่ ผู้ใด นาง เขียน ถึงแก่กรรม เมื่อ ปี 2517จำเลย ทั้ง ห้า เพิ่ง มา ยื่น คำร้องขอ รับโอน มรดก เมื่อ ปี 2533โจทก์ ทั้ง สอง คัดค้าน โจทก์ ที่ 2 เป็น ผู้เสียภาษี บำรุง ท้องที่ สำหรับที่พิพาท ตั้งแต่ ปี 2517 ตลอดมา ถึง ปี 2533 คดี มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัยตาม ฎีกา โจทก์ ที่ 2 ว่า นาง เขียน ได้ ยก ที่พิพาท ให้ แก่ โจทก์ ที่ 2หรือไม่ จึง ไม่ น่าเชื่อ ว่า นาง เขียน ได้ ยก ที่พิพาท ให้ แก่ โจทก์ ที่ 2เมื่อ นาง เขียน ถึงแก่กรรม ที่พิพาท อันเป็น ทรัพย์มรดก ย่อม ตกทอด แก่ ทายาทโดยธรรม ทุกคน แต่เมื่อ โจทก์ ที่ 2 เป็น ผู้ครอบครอง ทรัพย์มรดกและ ไม่ปรากฏ ว่า มี ทายาท คนใด แสดง ตน เข้า ครอบครอง โดย ให้ โจทก์ ที่ 2ครอบครองแทน จึง ถือได้ว่า โจทก์ ที่ 2 ครอบครอง เพื่อ ตน ช่วง ที่โจทก์ ที่ 2 ครอบครอง ไม่มี ทายาท มา แสดง สิทธิ ขอรับ มรดก ตาม สิทธิ เลยจำเลย ทั้ง ห้า เพิ่ง ยื่น คำร้องขอ รับมรดก หลังจาก เจ้ามรดก ถึงแก่กรรมไป แล้ว เป็น เวลา เกินกว่า 10 ปี จำเลย ทั้ง ห้า ย่อม สิ้น สิทธิเรียกร้องเอา มรดก จาก โจทก์ ที่ 2 ซึ่ง เป็น ทายาท ด้วย ตาม ประมวล กฎหมายแพ่ง และ พาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสี่ โจทก์ ที่ 2 จึง ได้ สิทธิ ครอบครองที่พิพาท แต่เพียง ผู้เดียว ที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ว่า โจทก์ ที่ 2 มิใช่เป็น ผู้มีสิทธิ ครอบครอง ที่พิพาท แต่เพียง ผู้เดียว ให้ยก ฟ้องโจทก์ที่ 2 นั้น ศาลฎีกา ไม่เห็น พ้อง ด้วย ฎีกา โจทก์ ที่ 2 ฟังขึ้น ”
พิพากษากลับ ให้ บังคับคดี ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น

Share