แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
สำเนาเอกสารใบมอบอำนาจที่โจทก์มอบอำนาจให้ จ. และอ. เป็นผู้ลงนามในสัญญาเช่าซื้อ โดยโจทก์ไม่ได้อ้างต้นฉบับใบมอบอำนาจมาแสดง ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 572 วรรคสอง และมาตรา 798 บังคับว่าสัญญาเช่าซื้อต้องทำเป็นหนังสือและการตั้งตัวแทนเพื่อกิจการนั้นต้องทำเป็นหนังสือด้วย อีกทั้งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 93 บังคับว่า การอ้างเอกสารเป็นพยานนั้น ให้ยอมรับฟังได้แต่ต้นฉบับเอกสาร การที่โจทก์อ้างสำเนาเอกสารใบมอบอำนาจดังกล่าว จึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานไม่ได้ ต้องถือว่าการตั้งตัวแทนของโจทก์ในการนี้ไม่ได้ทำเป็นหนังสือ จ. และ อ.ไม่มีอำนาจลงชื่อในสัญญาเช่าซื้อได้ ฟังว่าโจทก์ไม่ได้ลงชื่อในสัญญาเช่าซื้อ สัญญาเช่าซื้อตกเป็นโมฆะ ดังนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 รับผิดตามสัญญาเช่าซื้อไม่ได้ และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ย่อมไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
ย่อยาว
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นนิติบุคคล ได้มอบอำนาจให้นายชั้น พูนทวี นายสมหมาย สิริยานนท์ นายยงยุทธ ชินภูมิรัตนะคนใดคนหนึ่งเป็นผู้มีอำนาจดำเนินคดีแทน และโจทก์ได้มอบอำนาจให้นางจงกลณี เขมะชิต และนายอุดม เตรียมดำรงค์เป็นผู้มีอำนาจลงชื่อในสัญญาเช่าซื้อในฐานะผู้ให้เช่าซื้อแทนโจทก์ เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2526 จำเลยที่ 1 ได้เช่าซื้อรถยนต์กระบะเลขเครื่อง 758669-เอสดีเอ็ม จากโจทก์ 1 คัน ราคา 315,200 บาทชำระค่าเช่าซื้อล่วงหน้า 31,000 บาท ส่วนที่เหลือผ่อนชำระ36 งวด งวดละเดือน ได้ทำหนังสือสัญญาเช่าซื้อกันไว้ปรากฎตามสำเนาภาพถ่ายสัญญาเช่าซื้อรถยนต์เอกสารท้ายฟ้องหมาย 4จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดชอบร่วมกับจำเลยที่ 1ปรากฎตามสำเนาภาพถ่ายหนังสือสัญญาค้ำประกันเอกสารท้ายฟ้องหมาย 4 จำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่งวดที่ 6ซึ่งจะต้องชำระในวันที่ 1 ธันวาคม 2526 เป็นต้นมาเกิน 2 งวดติดต่อกัน โจทก์ถือว่าสัญญาเช่าซื้อเลิกกันตั้งแต่วันผิดนัดจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องส่งมอบรถยนต์คืนโจทก์ แต่ไม่ได้ส่งคืนต่อมาวันที่ 2 พฤศจิกายน 2527 โจทก์ยึดรถยนต์คืนได้ในสภาพเสียหายมาก ช่างประเมินราคาค่าซ่อมเป็นเงิน 59,673 บาทการที่จำเลยที่ 1 ไม่ส่งมอบรถยนต์คืนโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โดยคิดเปรียบเทียบกับค่าเช่ารถยนต์ตามปกติไม่ต่ำกว่าเดือนละ 4,000 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2526 ถึงวันที่โจทก์ได้รถยนต์คืนเป็นเงิน 48,000 บาท จำเลยทั้งสองจึงต้องร่วมกันใช้ค่าเสียหายดังกล่าวแก่โจทก์ โจทก์ได้แจ้งให้จำเลยทั้งสองชำระค่าเสียหายแก่โจทก์แล้ว แต่จำเลยทั้งสองไม่ชำระขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 103,673บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ย
จำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว พิพากษายกฟ้องโจทก์
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงรับฟังได้ในเบื้องต้นว่า เอกสารหมาย จ.3 เป็นสำเนาเอกสารใบมอบอำนาจปัญหาที่ต้องวินิจฉัยมีว่าจำเลยทั้งสองต้องร่วมกันรับผิดชำระค่าเสียหายตามฟ้องให้แก่โจทก์หรือไม่ เห็นว่า เมื่อได้ความว่าเอกสารหมาย จ.3 เป็นสำเนาเอกสารใบมอบอำนาจที่โจทก์มอบอำนาจซึ่งจำเลยที่ 2 กับผู้ตายทำมาหาได้ร่วมกันหรือไม่นั้น เห็นว่าโจทก์บรรยายฟ้องว่า ทรัพย์สินทั้งสองรายการดังกล่าวนี้เป็นทรัพย์สินซึ่งได้มาในระหว่างที่จำเลยที่ 2 กับผู้ตายอยู่กินร่วมกันฉันสามีภริยา จำเลยที่ 1 ที่ 2 ให้การรับว่า ทรัพย์สินทั้งสองรายการดังกล่าวนี้เป็นทรัพย์สินซึ่งจำเลยที่ 2 กับผู้ตายทำมาหาได้ในระหว่างที่อยู่กินร่วมกันฉันสามีภริยา ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าทรัพย์สินซึ่งจำเลยที่ 2 กับผู้ตายทำมาหาได้ร่วมกัน
ปัญหาที่ว่า เครื่องทองรูปพรรณ 3 รายการ คือสร้อยคอทองคำ1 เส้น หนัก 4 บาท เข็มขัดทองคำ 1 เส้น หนัก 10 บาทเข็มขัดนาก 1 เส้น หนัก 8 บาทมีและอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 2 หรือไม่นั้น เห็นว่า แม้จำเลยที่ 2 กล่าวในฎีกาของจำเลยที่ 2 ในตอนท้ายว่า พยานโจทก์ที่เบิกความว่าเห็นผู้ตายสวมใส่เครื่องทองรูปพรรณทั้งสามรายการรับฟังไม่ได้ ไม่มีทรัพย์สินดังกล่าวตกอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 2 ขณะผู้ตายถึงแก่ความตาย แต่จำเลยที่ 2 กล่าวในฎีกาของจำเลยที่ 2ในตอนต้นว่า ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ผู้ตายมีเครื่องทองรูปพรรณทั้งสามรายการดังกล่าวซึ่งตกเป็นกรรมสิทธิ์ระหว่างผู้ตายกับจำเลยที่ 2 คนละครึ่งนับเป็นคำพิพากษาที่ชอบด้วยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายแล้ว จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 รับในฎีกาว่า เครื่องทองรูปพรรณทั้งสามรายการมีและอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 2
ส่วนปัญหาที่ว่า ทรัพย์สิน 5 รายการ ซึ่งได้แก่ ที่ดินโฉนดเลขที่ 1599 ตำบลขุนแก้ว อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐมสร้อยคอทองคำ 1 เส้น หนัก 4 บาท เข็มขัดทองคำ 1 เส้น หนัก10 บาท เข็มขัดนาก 1 เส้น หนัก 8 บาท และบ้านเลขที่ 37/1หมู่ที่ 5 ตำบลหอมเกร็ด อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐมเป็นทรัพย์สินที่จำเลยที่ 2 กับผู้ตายทำมาหาได้ร่วมกันหรือไม่นั้นเห็นว่า ตามพฤติการณ์แห่งคดีย่อมเป็นการยากที่บุคคลภายนอกจะหยั่งทราบความสัมพันธ์ในทางทรัพย์สินระหว่างผู้ตายกับจำเลยที่ 2 แต่เมื่อคำนึงถึงพฤติการณ์ที่ผู้ตายทำพินัยกรรมซึ่งมีข้อความแต่เพียงว่ายกที่ดินโฉนดเลขที่ 108 ตำบลหอมเกร็ดอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ให้แก่โจทก์ มิได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินอย่างอื่นให้แก่โจทก์หรือผู้อื่นอีกเลย เช่นนี้ส่อแสดงว่าก่อนที่จำเลยที่ 2 กับผู้ตายจะอยู่กินร่วมกันฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส ผู้ตายมีทรัพย์สินส่วนตัวเพียงอย่างเดียวคือ ที่ดินโฉนดเลขที่ 108 เพราะถ้าผู้ตายมีทรัพย์สินอย่างอื่นเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของผู้ตายด้วย ผู้ตายก็น่าจะระบุไว้ในพินัยกรรมว่าให้ทรัพย์สินอื่นใดตกได้แก่ผู้ใดบ้างศาลฎีกาเชื่อว่าทรัพย์สินอีก 5 รายการดังกล่าวเป็นทรัพย์สินที่จำเลยที่ 2 กับผู้ตายทำมาหาได้ร่วมกัน จำเลยที่ 2 กับผู้ตายจึงเป็นเจ้าของร่วมกันและมีส่วนแห่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินดังกล่าวคนละครึ่งหนึ่งเมื่อผู้ตายถึงแก่ความตาย ส่วนแห่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินดังกล่าวของผู้ตายย่อมเป็นมรดกตกทอดแก่โจทก์ซึ่งเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกแต่ผู้เดียวของผู้ตายส่วนฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ในประเด็นเรื่องอายุความเป็นประเด็นที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรกศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ คำพิพากษาอุทธรณ์ชอบแล้ว ฎีกาโจทก์และจำเลยที่ 1 ที่ 2 ฟังไม่ขึ้น”
พิพากษายืน