แหล่งที่มา : ADMIN
ย่อสั้น
แม้ฟ้องโจทก์จะใช้ถ้อยคำว่าจำเลยร่วมกันสมคบกันจ้างวานและใช้กันตลอดจนยุยงส่งเสริมกันกระทำความผิดอาญาต่อโจทก์แต่เมื่ออ่านฟ้องโดยตลอดแล้วจะเห็นว่าโจทก์มีเจตนาที่จะฟ้องจำเลยในฐานเป็นตัวการร่วมกันกระทำความผิดต่อโจทก์ดังนี้ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม. ข้อเท็จจริงที่ศาลฟังเป็นยุติในคดีก่อนย่อมมีผลผูกมัดคู่ความคดีนั้นเท่านั้นโจทก์อาจอ้างสำนวนในคดีเรื่องก่อนมาประกอบการพิจารณาคดีนี้ได้แต่ในฐานะเป็นเพียงพยานความเห็นหรือพยานบอกเล่าเท่านั้นเมื่อศาลไม่พิจารณาถึงพยานหลักฐานในสำนวนคดีนี้ว่ารับฟังให้เชื่อถือได้เพียงใดหรือไม่แล้วจะอาศัยแต่ลำพังคำวินิจฉัยในคดีเรื่องก่อนมารับฟังเป็นพยานหลักฐานเพื่อใช้ลงโทษจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบแม้คดีต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อปรากฏว่าการรับฟังพยานไม่ถูกต้องอันเป็นปัญหาข้อกฎหมายศาลฎีกาก็วินิจฉัยข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวนไปได้เลยโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่.(ที่มา-เนติฯ)
ย่อยาว
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย ที่ 1 มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 175, 181 จำคุก 6 เดือน ตาม มาตรา 177, 181(1) จำคุก 6 เดือนและ ตาม มาตรา 180, 181(1) จำคุก 6 เดือน จำเลย ที่ 2 ที่ 3 มี ความผิดตาม มาตรา 177, 181(1) จำคุก คนละ 6 เดือน ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยืนจำเลย ทั้ง สาม ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ข้อ กฎหมาย ว่า ‘จำเลย ฎีกา ใน ปัญหา ข้อกฎหมาย มา2 ประเด็น ซึ่ง ศาลฎีกา เห็น สมควร วินิจฉัย ปัญหา ว่า ฟ้อง โจทก์เคลือบคลุม หรือ ไม่ เป็น ประเด็น แรก ก่อน ปรากฏ ตาม คำฟ้อง ของ โจทก์สรุป ได้ ว่า โจทก์ กล่าวหา จำเลย ทั้งสาม ว่าต่าง ได้ บังอาจ สมคบเป็น ตัวการ ร่วมกัน นำ ความเท็จ ไป ฟ้อง ต่อ ศาล ว่า โจทก์ ได้ ร่วมสมคบ กับ พวก ทำร้าย ร่างกาย จำเลย ที่ 1 และ ทำ บันทึก การ จับกุมจำเลย ที่ 1 อัน เป็น เท็จ ทั้ง บังคับ ขู่เข็ญ ให้ จำเลย ที่ 1 ลงชื่อรับรอง ความ ถูกต้อง ในบันทึก นั้น แล้ว จำเลย ได้ มา เบิกความ ยืนยันข้อความ อัน เป็น เท็จ ดังกล่าว ต่อ ศาล ซึ่ง ความจริง โจทก์ มิได้กระทำ การ ตาม ที่ ถูก กล่าวหา นั้น เลย ดังนี้ เห็นว่า ข้อเท็จจริงตาม ที่ โจทก์ บรรยาย มา ใน ฟ้อง นั้น ได้ ระบุ ถึง การ กระทำ ทั้งหลายที่ อ้าง ว่า จำเลย ได้ กระทำ ผิด ตลอดจน รายละเอียด ต่างๆ ที่เกี่ยวกับ เวลา และ สถานที่ ซึ่ง เกิด การ กระทำ นั้นๆ อีก ทั้ง บุคคลหรือ สิ่งของ ที่ เกี่ยวข้อง ด้วย พอ สมควร เท่าที่ จะ ทำ ให้ จำเลยเข้าใจ ข้อหา ได้ ดี แล้ว ส่วน ข้อ ที่ จำเลย ตำหนิ ว่า ฟ้อง โจทก์ ใช้ถ้อยคำ กำกวม ว่า จำเลย ร่วมกัน สมคบ กัน จ้างวาน และ ใช้ กัน ตลอดจนยุยง ส่งเสริม กัน กระทำ ความผิด อาญา ต่อ โจทก์ ซึ่ง เป็น การ ยาก ที่จำเลย จะ เข้าใจ ข้อ กล่าวหา ของ โจทก์ และ ทำการ ต่อสู้ คดี ได้ถูกต้อง นั้น เมื่อ อ่าน ฟ้อง ของ โจทก์ โดย ตลอด แล้ว จะ เห็น ว่าโจทก์ มี เจตนา ที่ จะ ฟ้อง จำเลย ทั้ง สาม ใน ฐานะ เป็น ตัวการ ร่วมกันกระทำ ความผิด ต่อ โจทก์ นั่นเอง ฟ้อง โจทก์ จึง มิใช่ เป็น ฟ้องเคลือบคลุม ดัง ที่ จำเลย ต่อสู้ ฎีกา จำเลย ข้อ นี้ ฟัง ไม่ ขึ้น
ปัญหา ต่อไป จำเลย ฎีกา ว่า คำวินิจฉัย ของ ศาลอุทธรณ์ ใน คดี นี้นำ เอา ผล ของ คำพิพากษา ของ ศาลอุทธรณ์ ใน คดี เรื่องก่อน มา ฟัง เป็นหลักฐาน ลงโทษ จำเลย ซึ่ง เป็น การ ไม่ ชอบ สำหรับ ปัญหา ข้อกฎหมายเกี่ยวกับ หลัก การ รับ ฟัง พยาน นี้ ศาลฎีกา เห็น ว่า ข้อเท็จจริง ที่ศาล ฟัง เป็น ยุติ ใน คดี ก่อน เป็น ประการ ใด ก็ ย่อม มี ผล ผูกมัดคู่ความ ใน คดี นั้น เท่านั้น ส่วน ใน คดี นี้ ก็ ชอบ ที่ ศาล จัก ต้องพิจารณา พยานหลักฐาน ใน สำนวน คดีนี้ เป็น สำคัญ และ เชื่อว่า จำเลยได้ กระทำ ผิด จริง เท่านั้น จึง จะ ลงโทษ จำเลย ได้ จริง อยู่ โจทก์อาจ จะ อ้าง สำนวน ใน คดี เรื่อง ก่อน มา ประกอบ พิจารณา ของ ศาล ในคดี นี้ ได้ แต่ ก็ อยู่ ใน ฐานะ เป็น เพียง พยาน ความเท็จ หรือ บอกเล่าเท่านั้น เมื่อ ศาล ไม่ พิจารณา ถึง พยาน หลักฐาน ใน สำนวน นี้ ว่า รับฟัง ให้ เชื่อถือ ได้ เพียงใด หรือ ไม่ แล้ว จะ อาศัย แต่ ลำพังคำวินิจฉัย ใน คดี เรื่อง ก่อน มา รับ ฟัง เป็น หลักฐาน เพื่อ ใช้ลงโทษ จำเลย จึง เป็น การ ไม่ ชอบ ฎีกา จำเลย ข้อ นี้ ฟัง ขึ้น และ แม้คดี นี้ จะ ต้องห้าม ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง ก็ตาม เมื่อ ปรากฏ ว่า การรับฟัง พยาน ไม่ ถูกต้อง อัน เป็น ปัญหา ข้อกฎหมาย เช่นนี้ แล้ว ศาลฎีกาเห็น สมควร วินิจฉัย ข้อเท็จจริง ตาม พยาน หลักฐาน ที่ ปรากฏ ในสำนวน นี้ ไป เลย โดย ไม่ จำต้อง ย้อน สำนวน ไป ให้ ศาลอุทธรณ์ พิจารณาและ พิพากษา ใหม่ ซึ่ง ปรากฏ จาก ทาง นำสืบ ของ โจทก์ มี พยาน รวม5 ปาก คือ ร้อยตำรวจเอก เฉลียว จันทร์มณี โจทก์ สิบตำรวจตรี ม้อนแสนศรี สิบตำรวจตรี ประจักษ์ แดงจุ้ย นาย นุ่น นิลวงษ์ และ นาย ทองเหมาะ พิทักษ์วงษ์ สำหรับ ตัว โจทก์ สิบตำรวจตรี ม้อน และ สิบตำรวจตรีประจักษ์ พยาน 3 ปาก นี้ ก็ คือ จำเลย ที่ ถูก ฟ้อง ใน คดี ก่อน นั่นเอง จึง เป็น พยาน ที่ มี สาเหตุ กับ จำเลย มา ก่อน และ คำเบิกความ ของพยาน ทั้ง สาม นี้ ก็ เพียง แต่ ปฏิเสธ มา ลอยๆ ใน ทำนอง เดียว กัน ว่าข้อเท็จจริง ตาม ที่ ถูก จำเลย ฟ้อง ใน คดี ก่อน ไม่ มี มูล ความจริงส่วน พยาน อีก 2 ปาก คือ นาย นุ่น และ นาย ทองเหมาะ ซึ่ง มา เบิกความสนับสนุน ข้อกล่าวหา ของ โจทก์ ใน คดี นี้ ก็ เบิกความ เพียง ว่าใน คืน เกิดเหตุ ไม่ เห็น โจทก์ ทำร้าย จำเลย ที่ 1 เท่านั้น แต่ มีข้อ น่าสังเกต ว่า พยาน ทั้ง สอง ปาก นี้ มิได้ อยู่ รู้เห็น เหตุการตลอด เวลา เพราะ พยาน ว่า เมื่อ โจทก์ กับ สิบตำรวจตรี ม้อน และสิบตำรวจตรี ประจักษ์ คุมตัว จำเลย ที่ 1 จาก ร้าน กาแฟ ที่ พยาน ทั้งสอง นั่ง อยู่ ไป ที่ ศาลาวัด เพื่อ ทำ บันทึก การ จับกุม พยาน ไม่ ได้ตาม ไป ด้วย โดยเฉพาะ นาย ทองเหมาะ เบิกความ ว่า โจทก์ กับพวก นำ จำเลยที่ 1 ไป นาน เกือบ ชั่วโมง จึง กลับ มา ที่ ร้าน กาแฟ ฉะนั้น จะ เห็นได้ ว่า ใน ระหว่าง ระยะ เวลา ดังกล่าว หาก จะ มี เหตุการณ์ อย่างใดเกิดขึ้น แก่ จำเลย ที่ 1 บ้าง พยาน ก็ ไม่ อาจ ทราบ ได้ นอกจาก นี้นาย นุ่น ก็ มี สาเหตุ กับ จำเลย ที่ 1 มา ก่อน เกี่ยวกับ เรื่อง ที่พยาน ถูก กล่าวหา ใน กรณี ทุจริต การ ซื้อ ขาย ข้าว ซึ่ง นาย นุ่นพยาน ก็ ยอมรับ ใน ข้อนี้ นาย ทองเหมาะ เอง ก็ มี คดี ถูก ฟ้องเกี่ยวกับ เรื่อง ปลอม เอกสาร ใน การ ซื้อ ขาย ข้าว เช่นกัน พยานหลักฐาน โจทก์ จึง ไม่ อาจ พิสูจน์ ข้อเท็จจริง ให้ เชื่อ ได้ โดยสนิทใจ ว่า ความจริง แล้ว เหตุการณ์ ตาม ที่ โจทก์ ถูก กล่าวหา ใน คดีก่อน มิได้ เกิด ขึ้น เลย อันจะ ทำ ให้ จำเลย มี ความผิด ฐาน ฟ้อง เท็จและ เบิกความเท็จ และ แม้ คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ อัน เป็น ที่สุด ใน คดีเรื่องก่อน ซึ่ง โจทก์ อ้าง มา เป็น พยาน สนับสนุน ใน คดีนี้ ก็ ดีหาก พิจารณา โดย ตระหนัก แล้ว จะ เห็น ได้ ว่า คำพิพากษา ดังกล่าวศาล มิได้ วินิจฉัย ชี้ชัด ลง ไป ว่า ความผิด ตาม ที่ โจทก์ ถูก จำเลยฟ้อง นั้น ความจริง แล้ว โจทก์ มิได้ กระทำ แต่ อย่างใด ดัง จะ เห็นได้ จาก ถ้อยคำ ที่ ศาลอุทธรณ์ ใช้ ว่า ‘ข้อเท็จจริง ฟัง ไม่ ได้ ว่าจำเลย ทั้ง สาม (คือ โจทก์ สิบตำรวจรี ม้อน สิบตำรวจตรี ประจักษ์)ร่วมกัน ทำร้าย โจทก์ (คือ จำเลย ที่ 1)’ ซึ่ง ข้อความ ดังกล่าว มีความหมาย เพียง ว่า พยาน หลักฐาน เท่าที่ โจทก์ ใน คดี ก่อน (คือ จำเลยที่ 1 ใน คดี นี้) นำสืบ มา นั้น ยัง ไม่ พอ ฟัง ให้ เชื่อ ได้ โดยปราศจาก สงสัย ว่า จำเลย (คือ โจทก์ใน คดี นี้) ได้ กระทำ ผิด ตาม ฟ้องส่วน ความจริง ของ เหตุการณ์ จะ เป็น อย่างไร นั้น เป็น อีก เรื่องหนึ่ง และ เมื่อ พิเคราะห์ คำพิพากษา ดังกล่าว ตลอดทั้ง เรื่อง แล้ว ไม่ มีข้อความ ตอนใด เลย ที่ ศาลอุทธรณ์ จะ วินิจฉัย ชัด ลง ไป ว่าข้อเท็จจริง ฟัง ได้ ว่า จำเลย ไม่ ได้ ร่วมกัน ทำร้าย โจทก์ อัน มีความหมาย เป็น การ ยืนยัน ให้ เห็น ได้ ว่า การ ที่ จำเลย ฟ้อง กล่าวหาโจทก์ ใน คดี ก่อน นั้น เป็น ความเท็จ ดังนั้น การ ที่ โจทก์ อ้าง เอาคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ใน คดี เรื่อง ก่อน มา เพื่อ ให้ ศาล ใน คดีนี้ฟัง ข้อเท็จจริง ให้ เป็น ยุติ ว่า ข้อความ ที่ โจทก์ ถูก จำเลย ฟ้องใน คดี ก่อน เป็น เท็จ นั้น จึง เป็น ความ เข้าใจ ที่ คลาดเคลื่อน ของโจทก์ นอกจาก นี้ เมื่อ พิจารณา พยาน หลักฐาน ที่ จำเลย นำสืบ ต่อสู้โดย เฉพาะ คำเบิกความ ของ ร้อยตำรวจเอก ชูฤทธิ์ โรจนาคม พยาน จำเลยซึ่ง เป็น ผู้ ทำ การ สืบสวน สอบสวน หา ข้อเท็จจริง ตาม ที่ จำเลยร้องเรียน ไป ยัง กองปราบปราม กรณี กล่าวหา โจทก์ กับ พวก ร่วมกันทำร้าย ประกอบ กับ เอกสาร หมาย ปล.1 และ ปล.2 ที่ จำเลย อ้าง ส่ง ศาลแล้ว ปรากฎว่า ทาง ฝ่าย เจ้าหน้าที่ ผู้ ทำ การ สอบสวน ดังกล่าว และ ผู้บังคับบัญชา ของ โจทก์ ใน ระดับ สูง ขึ้น ไป ได้ พิจารณา แล้ว ลง ความเห็นว่า มี มูล ความจริง จึง ได้ มี คำสั่ง ให้ ดำเนินการ ทาง คดี และทาง วินัย กับ โจทก์ รายละเอียด ปรากฏ ตาม เอกสาร ที่ จำเลย อ้าง ส่งศาล ดังกล่าว ข้างต้น เมื่อ เป็น เช่นนี้ จึง เห็น ได้ ว่า กรณี ที่จำเลย ที่ 1 ฟ้อง โจทก์ ใน คดี ก่อน ตลอดจน คำ เบิกความ ของ จำเลย ที่2 และ ที่ 3 ใน คดี ดังกล่าว จะ ฟัง ว่า เป็น เท็จ เสีย ทีเดียว ยัง ไม่ถนัด
สรุป รวมความ แล้ว พยาน หลักฐาน ของ โจทก์ ฟัง ไม่ ได้ เลย ว่า จำเลยทั้ง สาม กระทำ ความผิด ตาม ฟ้อง ที่ ศาลล่าง ทั้งสอง พิพากษา ลงโทษจำเลย มา นั้น ศาลฎีกา ไม่ เห็น พ้อง ด้วย ฎีกา จำเลย ทั้ง สาม ฟังขึ้น’
พิพากษา กลับ ให้ ยกฟ้อง โจทก์