แหล่งที่มา : ADMIN
ย่อสั้น
ตามประมวลรัษฎากรไม่ได้บัญญัติว่ารายรับจากการค้าประเภทคลังสินค้าหมายถึงอะไรจึงต้องถือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา770และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา770,771นายคลังสินค้าคือผู้รับทำการเก็บรักษาสินค้าเท่านั้นกฎหมายหาได้กำหนดให้นายคลังสินค้าต้องมีหน้าที่ขนสินค้ามาเข้าหรือออกจากคลังสินค้าของตนด้วยไม่ฉะนั้นรายรับจากการประกอบการคลังสินค้าก็คือค่าบำเหน็จในการเก็บรักษาสินค้าหรือค่ารับฝากสินค้าเท่านั้นหารวมถึงค่าขนส่งไม่การที่โจทก์ซึ่งเป็นนายคลังสินค้าได้ออกทดรองจ่ายค่าจ้างขนสินค้าให้แก่ผู้รับขนแทนผู้ฝากสินค้าไปนั้นเงินทดรองจ่ายค่าขนสินค้าของผู้ฝากนี้เป็นรายรับของผู้รับขนซึ่งผู้ฝากสินค้ามีหน้าที่ต้องจ่ายตามสัญญาหาใช่รายรับของโจทก์ซึ่งเป็นนายคลังสินค้าโจทก์จึงไม่มีหน้าที่เสียภาษีการค้าในเงินค่ารับขนที่ได้ทดรองจ่ายแทนผู้ฝากไป. โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างต้องหักภาษีเงินได้ของลูกจ้างไว้จากเงินได้ของลูกจ้างตามประมวลรัษฎากรมาตรา50เมื่อโจทก์ไม่หักภาษีไว้โจทก์มีหน้าที่ต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างตามประมวลรัษฎากรมาตรา54.
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น ผู้ ประกอบ การค้า ประเภท คลังสินค้าเมื่อ ประมาณ เดือน กันยายน 2521 เจ้าพนักงาน ประเมิน ของ จำเลย ที่ 1ได้ ประเมิน ให้ โจทก์ เสีย ภาษี การค้า พร้อมทั้ง เงิน เพิ่ม และเบี้ยปรับ โดย นำ ค่า ขนถ่าย สินค้า ซึ่ง โจทก์ ได้ จ่าย ทดรอง ให้แก่ ผู้รับขน แทน ลูกค้า ไป มา รวม คำนวณ เป็น รายรับ ของ โจทก์นอกจาก นี้ ยัง ประเมิน ให้ โจทก์ เสีย ภาษี เงินได้ ของ กรรมกร หักณ ที่จ่าย พร้อม ทั้ง เงิน เพิ่ม โดย มิชอบ โจทก์ ได้ อุทธรณ์ การประเมิน ทั้ง สอง กรณี ดังกล่าว ต่อ จำเลย ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ซึ่งเป็น คณะกรรมการ พิจารณา อุทธรณ์ จำเลย ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 วินิจฉัยยก อุทธรณ์ ของ โจทก์ จึง ขอ ให้ ศาล มี คำสั่ง เพิกถอน คำวินิจฉัยอุทธรณ์ ที่ 70/2524 และ 71/2524 ของ จำเลย
จำเลย ให้การ ว่า การ ประเมิน และ คำวินิจฉัย ของ จำเลย ชอบ แล้วขอ ให้ ศาล ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว วินิจฉัย ว่า การ ประเมิน ของ จำเลย ชอบ แล้วพิพากษา ยกฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยืน
โจทก์ ฎีกา
ใน ปัญหา ที่ จำเลย วินิจฉัย ให้ โจทก์ เสีย ภาษี การค้า ใน เงิน ที่โจทก์ จ่าย ทดรอง แทน ผู้ฝาก ไป ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ตาม บัญชี อัตราภาษี การค้า แห่ง ประมวลรัษฎากร ได้ ระบุ การค้า ประเภท คลัง สินค้าไว้ ใน ลำดับ 6 ให้ ผู้ประกอบ กิจการ ทำ คลัง สินค้า การ รับ ฝาก ทรัพย์หรือ การ ให้ บริการ เกี่ยวกับ สิ่งของ ต่างๆ ใน ห้องเย็น เสีย ภาษีการค้า อัตรา ร้อยละ 2.5 ของ รายรับ ส่วน การค้า ประเภท รับขน สินค้าระบุ ไว้ ใน บัญชี อัตรา ภาษี การค้า ลำดับ 8 ประเภท การ ขนส่ง ให้ผู้ รับจ้าง เสีย ภาษี การค้า อัตรา ร้อยละ 0.5 ของ รายรับ การค้า ที่พิพาท ใน คดี นี้ ไม่ ใช่ การค้า ประเภท ขนส่ง ไม่ ใช่ การ เก็บ สิ่งของใน ห้องเย็น และ ไม่ ใช่ การ รับฝาก ทรัพย์ ธรรมดา แต่ เป็น การ ทำ คลังสินค้า โดยตรง ซึ่ง ประมวลรัษฎากร ไม่ ได้ บัญญัติ ไว้ ว่า รายรับ จากการค้า ประเภท คลัง สินค้า หมายถึง อะไรบ้าง จึง ต้อง ถือ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 770 และ มาตรา 771 พิจารณา ตาม มาตรา770 และ 771 แล้ว จะ เห็น ได้ ว่า นายคลัง สินค้า ก็ คือ ผู้รับ ทำการเก็บ รักษา สินค้า เท่านั้น กฎหมาย หา ได้ กำหนด ให้ นายคลัง สินค้าต้อง มี หน้าที่ ขน สินค้า มา เข้า หรือ ออก จาก คลัง สินค้า ของตน ด้วยไม่ ฉะนั้น รายรับ จาก การ ประกอบ การคลัง สินค้า ก็ คือ ค่า บำเหน็จใน การ เก็บ รักษา สินค้า หรือ ค่า รับฝาก สินค้า เท่านั้น หา รวม ถึงค่า ขนส่ง ไม่ ซึ่ง รายรับ ของ โจทก์ ใน คดี นี้ ก็ คือ ค่า รับ ฝากน้ำตาล กระสอบ ละ 80 สตางค์ ถึง หนึ่ง บาท ต่อ เดือน ส่วน ค่าจ้าง ขนน้ำตาล เข้า หรือ ออก จาก คลัง สินค้า นั้น เป็น รายรับ ของ ผู้ รับขนตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 610 หา ใช่ บำเหน็จ หรือ รายรับเนื่องจาก การ ประกอบ การ คลัง สินค้า ตาม มาตรา 770 ไม่ การ ที่ โจทก์ซึ่ง เป็น นายคลัง สินค้า ได้ ออก ทดรอง จ่าย ค่าจ้าง ขนสินค้า ให้ แก่ผู้ รับขน แทน ผู้ฝาก สินค้า ไป เงิน ทดรอง จ่าย ค่า ขน สินค้า ของผู้ ฝาก นี้ เป็น รายรับ ของ ผู้ รับขน ซึ่ง ผู้ ฝาก สินค้า มี หน้าที่ต้อง จ่าย ตาม สัญญา หา ใช่ รายรับ ของ โจทก์ ซึ่ง เป็น นายคลัง สินค้าไม่ โจทก์ จึง ไม่ มี หน้าที่ ต้อง เสีย ภาษี การค้า ใน เงิน ค่า รับขนที่ ได้ ทดรอง จ่าย แทน ผู้ฝาก ไป ฎีกา ของ โจทก์ ใน ข้อ นี้ ฟัง ขึ้น
ใน ปัญหา ส่วน เงินได้ ของ กรรมการ ซึ่ง โจทก์ ไม่ ได้ หัก ภาษีณ ที่จ่าย ไว้ โดย อ้าง ว่า เป็น การ จ้างเหมา ให้ นาย เฉลียว ก้อนนาคไป จ้าง กรรมกร อีก ทอดหนึ่ง ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ใน สัญญา จ้างเหมาที่ อ้าง ไม่ ปรากฏ อัตรา ค่า จ้างเหมา ว่า จ้างเหมา กัน เป็น เงินเท่าใด และ โจทก์ ก็ ไม่ ได้ นำ นาย เฉลียว มา สืบ อธิบาย การ จ้างเหมาให้ ชัดเจน แต่ นาย เฉลียว เคย ให้การ ต่อ เจ้าพนักงาน กรมสรรพากร ว่าจำนวนเงิน ที่ ได้รับ ไป จาก โจทก์ นี้ ได้ นำ ไป แบ่ง เฉลี่ย ให้ กับกรรมกร โดย นาย เฉลียว ได้ รับ เพียง หุ้น เดียว ตาม แรงงาน ที่นาย เฉลียว ได้ ทำ ไป แสดงว่า นาย เฉลียว คือ กรรมกร ที่ ได้ รับ ค่าแรงงาน จาก โจทก์ ร่วมกับ กรรมกร ทั้งหลาย และ ช่วย รับ เงิน จาก โจทก์ไป จ่าย ให้ กรรมกร เท่านั้น เอง หา ใช่ ผู้ รับเหมา จาก โจทก์ แต่อย่างใด ไม่ ข้อเท็จจริง น่าเชื่อ ว่า โจทก์ เป็น ผู้ ว่าจ้าง และผู้ จ่ายเงิน ให้ กรรมกร ฉะนั้น โจทก์ จึง มี หน้าที่ หัก ภาษี ณที่จ่าย ไว้ ตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 50 เมื่อ โจทก์ ไม่ หัก ภาษี ไว้โจทก์ มี หน้าที่ ต้อง รับผิด ร่วมกับ ผู้ มี เงินได้ ตาม มาตรา 54ฎีกา ของ โจทก์ ใน ข้อ นี้ ฟัง ไม่ ขึ้น
พิพากษา แก้ ให้ เพิกถอน คำวินิจฉัย ของ จำเลย เฉพาะ เรื่อง ภาษีการค้า ตาม คำวินิจฉัย ที่ 70/2524 นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตามคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์