แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ฟ้องเรียกราคารถที่ยังขาดอยู่และค่าขาดประโยชน์จากการที่จำเลยที่1ยังคงครอบครอบรถอยู่ในระหว่างผิดสัญญาอันเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายโจทก์มิได้ฟ้องเรียกค่าเช่าซื้อส่วนที่ค้างชำระแม้ค่าเสียหายกับค่าเช่าซื้อตามงวดจะมีจำนวนเงินใกล้เคียงกันก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการอำพรางเจตนาที่จะเรียกร้องค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระที่จำเลยที่1ฎีกาว่าโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเนื่องมาจากโจทก์ขาดประโยชน์จากการใช้รถเป็นการอำพรางเจตนาที่แท้จริงที่จะเรียกเอาค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระนั้นเป็นการโต้เถียงดุลพินิจการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248 จำเลยที่1อุทธรณ์ขอให้นำราคาตัวถังและดั๊มของจำเลยที่1ราคาประมาณ150,000บาทมาหักออกจากค่าเสียหายในกรณีที่จำเลยที่1จะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์อีกโดยมิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าที่ศาลชั้นต้นนำราคาตัวถังและดั๊มของจำเลยที่1มาหักออกจากค่าเสียหายของโจทก์นั้นไม่ถูกต้องอย่างไรบ้างเป็นการอุทธรณ์ขึ้นมาลอยๆจึงเป็นอุทธรณ์ที่ ไม่ชัดแจ้ง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225วรรคหนึ่งที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยที่1ในข้อนี้มาจึงเป็นการไม่ชอบซึ่งศาลอุทธรณ์ไม่อาจวินิจฉัยให้ได้และที่ต่อมาศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่1ในข้อนี้มาก็ต้องถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่1มานั้นจึงเป็นการไม่ชอบศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ในกรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกราคารถที่ยังขาดอยู่ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/30หาใช่มีอายุความ6เดือนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา563ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า เมื่อ วันที่ 25 มิถุนายน 2526 จำเลย ที่ 1ได้ เช่าซื้อ รถบรรทุกสิบล้อ นิสสัน ดีเซล ของ โจทก์ ไป 1 คัน เป็น เงิน891,640 บาท โดย จำเลย ที่ 1 ชำระ ค่าเช่าซื้อ ล่วงหน้า เป็น เงิน40,000 บาท และ ตกลง ชำระ ใน วันที่ 18 กรกฎาคม 2526 เป็น เงิน30,000 บาท กับ วันที่ 18 สิงหาคม 2526 เป็น เงิน 30,000 บาท ส่วนที่ เหลือ จำเลย ที่ 1 สัญญา ว่า จะ ชำระ 24 งวด งวด ละ เดือน เดือน แรกชำระ ใน วันที่ 18 กันยายน 2526 งวด ต่อไป ชำระ ทุก ๆ วันที่ 18ของ เดือน ถัด ไป จนกว่า จะ ครบ และ มี จำเลย ที่ 2 ทำ สัญญาค้ำประกันโดย ยอมรับ ผิด อย่าง ลูกหนี้ ร่วม แต่ จำเลย ที่ 1 ชำระ ค่าเช่าซื้องวด ที่ 1 ให้ โจทก์ ไว้ เพียง 15,000 บาท ยัง คง ค้าง อยู่ อีก 17,985 บาทและ ผิดนัด ไม่ชำระ ตั้งแต่ง วดดังกล่าว ตลอดมา ถือว่า สัญญาเช่าซื้อระหว่าง โจทก์ กับ จำเลย ที่ 1 เลิกกัน ตั้งแต่ วัน ผิดนัด โดย มิต้องบอกกล่าว จำเลย ที่ 1 ต้อง ส่งมอบ รถ ที่ เช่าซื้อ คืน แต่ ไม่ส่ง มอบ รถดังกล่าว คืน เมื่อ วันที่ 12 ธันวาคม 2527 โจทก์ ยึด รถ คืน ได้รถ อยู่ ใน สภาพ เสียหาย โจทก์ นำ รถ ออก ขาย เมื่อ วันที่ 6 มีนาคม 2529โดย วิธี ให้ เช่าซื้อ ใน ราคา 640,800 บาท ราคา รถ จึง ขาด อยู่ อีก135,840 บาท จำเลย ที่ 1 ต้อง รับผิด ชำระ ให้ โจทก์ และ เมื่อ จำเลยที่ 1 ผิดสัญญา ไม่ส่ง มอบ รถ ที่ เช่าซื้อ คืน ทำให้ โจทก์ ขาด ประโยชน์ที่ ควร ได้ เดือน ละ ไม่ ต่ำกว่า 30,000 บาท ตั้งแต่ วันที่ 18 กันยายน2526 อันเป็น วัน ผิดนัด ถึง วันที่ โจทก์ ติดตาม รถ คืน ได้ เป็น เวลา 14เดือน เศษ โจทก์ ขอ คิด ค่าเสียหาย เพียง 8 เดือน เป็น เงิน240,000 บาท รวมเป็น ค่าเสียหาย ที่ จำเลย ทั้ง สอง จะ ต้อง ร่วมกัน ชำระให้ โจทก์ ทั้งสิ้น 375,840 บาท โจทก์ ทวงถาม แล้ว จำเลย ทั้ง สองเพิกเฉย ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ชำระ เงิน จำนวน 375,840 บาทพร้อม ด้วย ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ สิบ แปด ต่อ ปี นับแต่ วันฟ้อง จนกว่าจะ ชำระ ให้ โจทก์ เสร็จ
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ว่า คดี ของ โจทก์ ขาดอายุความ โจทก์เรียก ค่า ขาดทุน จาก การ ขาย ทรัพย์ คือ ราคา รถ ที่ ยัง ขาด อยู่ ไม่ได้ค่า ขาดทุน จาก การ ขาย ทรัพย์ ของ โจทก์ เป็น จำนวนเงิน สูง เกินความ เป็น จริง โจทก์ ไม่ได้ นำ รถ พิพาท ออก ขาย โดย วิธี เปิดเผยอย่าง แท้จริง หาก โจทก์ ขาย โดย เปิดเผย จะ ได้ ราคา ไม่ ต่ำกว่า700,000 บาท ดังนั้น หาก จำเลย ทั้ง สอง จะ ต้อง รับผิด ค่า ขาดทุน จาก การขาย ทรัพย์ ที่ เช่าซื้อ แล้ว ก็ ไม่เกิน 16,640 บาท เมื่อ อายุความค่าเช่าซื้อ ขาด แล้ว โจทก์ จึง ไม่มี สิทธิ เรียก ค่าเช่าซื้อ แต่ โจทก์ ก็พยายาม เรียกร้อง โดย อ้าง ค่าขาดประโยชน์ แทน ค่าเช่าซื้อ เป็น การอำพราง ใน การ เรียก ค่าเสียหาย ค่าขาดประโยชน์ ที่ โจทก์ อาจ นำ รถ พิพาทออก ให้ คนอื่น เช่า ได้ นั้น โจทก์ เรียกร้อง มา ลอย ๆ และ เกิน ความจริงความ เสียหาย ของ โจทก์ ตาม ฟ้อง ไม่ใช่ ความเสียหาย ที่ แท้จริง ที่ จะ เรียกร้อง ได้ ตาม กฎหมาย ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ชำระ เงิน จำนวน80,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วันฟ้องเป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ ให้ โจทก์ เสร็จ ให้ จำเลย ทั้ง สอง ใช้ ค่าฤชา ธรรมเนียม แทน โจทก์ โดย กำหนด ค่า ทนายความ 1,500 บาท
จำเลย ที่ 1 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า เฉพาะ ค่าขึ้นศาล ใน ศาลชั้นต้นให้ จำเลย ทั้ง สอง ใช้ แทน โจทก์ เท่าที่ โจทก์ ชนะคดี นอกจาก ที่ แก้ คง ให้เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น
จำเลย ที่ 1 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า จำเลย ที่ 1 ยื่นฎีกา เมื่อ วันที่ 8 ธันวาคม2536 กรณี จึง ต้อง ตก อยู่ ภายใต้ บังคับ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 แก้ไข เพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติ แก้ไข เพิ่มเติม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2534 อันเป็น กฎหมาย ที่ ใช้ ใน ขณะ ยื่นฎีกา ซึ่งบัญญัติ ว่า “ใน คดี ที่ ราคา ทรัพย์สิน หรือ จำนวน ทุนทรัพย์ ที่พิพาท กัน ในชั้นฎีกา ไม่เกิน สอง แสน บาท หรือไม่ เกิน จำนวน ที่ กำหนด ในพระราชกฤษฎีกา ห้าม มิให้ คู่ความ ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง ” คดี นี้ มี จำนวนทุนทรัพย์ 375,840 บาท แต่ มี ทุนทรัพย์ ที่พิพาท กัน ใน ชั้นฎีกา เพียง80,000 บาท เท่านั้น จึง เป็น คดี ที่ ต้องห้าม คู่ความ มิให้ ฎีกา ในข้อเท็จจริง ศาลอุทธรณ์ ฟัง ข้อเท็จจริง ว่า โจทก์ ฟ้อง เรียก ราคา รถที่ ยัง ขาด อยู่ และ ค่าขาดประโยชน์ จาก การ ที่ จำเลย ที่ 1 ยัง คง ครอบครองรถ อยู่ ใน ระหว่าง ผิดสัญญา อันเป็น การ ฟ้อง เรียก ค่าเสียหาย โจทก์ มิได้ฟ้อง เรียก ค่าเช่าซื้อ ส่วน ที่ ค้างชำระ แม้ ค่าเสียหาย กับ ค่าเช่าซื้อตาม งวด จะ มี จำนวนเงิน ใกล้เคียง กัน ก็ ยัง ถือไม่ได้ว่า เป็น การ อำพรางเจตนา ที่ จะ เรียกร้อง ค่าเช่าซื้อ ที่ ค้างชำระ ที่ จำเลย ที่ 1 ฎีกา ว่าโจทก์ ฟ้อง เรียก ค่าเสียหาย อัน เนื่องมาจาก โจทก์ ขาด ประโยชน์จาก การ ใช้ รถ เป็น การ อำพราง เจตนา ที่ แท้จริง ที่ จะ เรียก เอาค่าเช่าซื้อ ที่ ค้างชำระ นั้น เป็น การ โต้เถียง ดุลพินิจ การ รับฟังพยานหลักฐาน ของ ศาลอุทธรณ์ ดังกล่าว เป็น ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง จึง ต้องห้าม มิให้ ฎีกา ตาม บทบัญญัติ ดังกล่าว ที่ ศาลชั้นต้น สั่ง รับ ฎีกา ของจำเลย ที่ 1 ใน ข้อ นี้ มา นั้น จึง เป็น การ ไม่ชอบ ศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัยและ ที่ จำเลย ที่ 1 ฎีกา ใน ข้อ ที่ ว่า ศาลอุทธรณ์ มิได้ วินิจฉัย ใน ส่วน ที่จำเลย ที่ 1 อุทธรณ์ ขอให้ นำ ราคา ตัวถัง และ ดั๊ม ของ จำเลย ที่ 1ที่ รวม ติด มา กับ รถ หักกลบลบหนี้ โจทก์ ให้ แก่ จำเลย ที่ 1 ด้วย เหตุ นี้หาก จำเลย ที่ 1 จะ ต้อง ใช้ ค่าเสียหาย ให้ โจทก์ ก็ ขอให้ ศาลฎีกา หักกลบลบ หนี้ ดังกล่าว ให้ แก่ จำเลย ที่ 1 นั้น เห็นว่า ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้นได้ นำ ราคา ตัวถัง และ ดั๊ม ของ จำเลย ที่ 1 ที่ รวม ติด มา กับ รถ คิด เป็น เงินประมาณ 150,000 บาท หัก ออกจาก ราคา รถ ที่ ยัง ขาด อยู่ จน ไม่มี ราคา รถที่ โจทก์ ยัง ขาด อยู่ อีก ต่อไป แล้ว จำเลย ที่ 1 อุทธรณ์ ขอให้ นำ ราคาตัวถัง และ ดั๊ม ของ จำเลย ที่ 1 ราคา ประมาณ 150,000 บาท มา หัก ออกจาก ค่าเสียหาย ใน กรณี ที่ จำเลย ที่ 1 จะ ต้อง ชดใช้ ค่าเสียหายให้ แก่ โจทก์ อีก โดย มิได้ คัดค้าน คำพิพากษา ศาลชั้นต้น ว่า ที่ ศาลชั้นต้นนำ ราคา ตัวถัง และ ดั๊ม ของ จำเลย ที่ 1 มา หัก ออกจาก ค่าเสียหาย ของ โจทก์นั้น ไม่ถูกต้อง อย่างไร บ้าง เป็น การ อุทธรณ์ ขึ้น มา ลอย ๆ จึง เป็นอุทธรณ์ ที่ ไม่ ชัดแจ้ง ต้องห้าม มิให้ อุทธรณ์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ที่ ศาลชั้นต้นสั่ง รับ อุทธรณ์ ของ จำเลย ที่ 1 ใน ข้อ นี้ มา จึง เป็น การ ไม่ชอบ ซึ่งศาลอุทธรณ์ ไม่อาจ วินิจฉัย ให้ ได้ และ ที่ ต่อมา ศาลชั้นต้น สั่ง รับ ฎีกาของ จำเลย ที่ 1 ใน ข้อ นี้ มา ก็ ต้อง ถือว่า เป็น ข้อ ที่ มิได้ ยกขึ้น ว่า กันมา แล้ว โดยชอบ ใน ศาลอุทธรณ์ ต้องห้าม มิให้ ฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งที่ ศาลชั้นต้น สั่ง รับ ฎีกา ของ จำเลย ที่ 1 มา นั้น จึง เป็น การ ไม่ชอบศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัย และ ที่ จำเลย ที่ 1 ฎีกา ใน ข้อ สุดท้าย ว่า ฟ้องโจทก์ เกี่ยวกับ ราคา รถ ที่ ยัง ขาด อยู่ ขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 563 แล้ว นั้น เป็น ฎีกาใน ข้อกฎหมาย ศาลฎีกา รับ วินิจฉัย ให้ ใน การ วินิจฉัย ปัญหาข้อกฎหมายศาลฎีกา จำต้อง ถือ ตาม ข้อเท็จจริง ที่ ศาลอุทธรณ์ ได้ วินิจฉัย จาก พยานหลักฐาน ใน สำนวน ศาลอุทธรณ์ ฟัง ข้อเท็จจริง ว่า โจทก์ ฟ้อง เรียก ราคารถ ที่ ยัง ขาด อยู่ อันเป็น การ ฟ้อง เรียก ค่าเสียหาย โจทก์ มิได้ ฟ้อง เรียกค่าเช่าซื้อ ส่วน ที่ ค้างชำระ เห็นว่า ใน กรณี ที่ โจทก์ ฟ้อง เรียก ราคา รถที่ ยัง ขาด อยู่ ไม่มี กฎหมาย บัญญัติ อายุความ ไว้ โดยเฉพาะ จึง ต้อง ใช้อายุความ 10 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30หาใช่ มี อายุความ 6 เดือน ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 563อัน จะ ทำให้ ฟ้องโจทก์ ใน ส่วน นี้ ขาดอายุความ ดัง จำเลย ที่ 1 ฎีกา ไม่ฟ้องโจทก์ จึง ไม่ขาดอายุความ ฎีกา ของ จำเลย ที่ 1 ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน