แหล่งที่มา : ADMIN
ย่อสั้น
การที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยชั่วคราวมีผลเพียงทำให้จำเลยไม่สามารถดำเนินกิจการได้ด้วยตนเองต้องให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้ดำเนินการแทนหามีผลทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยผู้เป็นนายจ้างกับโจทก์ผู้เป็นลูกจ้างต้องสิ้นสุดหรือระงับไปด้วยไม่โจทก์ยังมีฐานะเป็นลูกจ้างจำเลยอยู่การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิดำเนินกิจการแทนจำเลยปฏิเสธไม่ยอมจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์โดยเกี่ยงให้ไปขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483ก็เป็นเพียงแจ้งให้โจทก์ไปขอรับชำระหนี้ตามกฎหมายเท่านั้นหาใช่เป็นการปฏิเสธว่าจะเลิกจ้างหรือไม่ประสงค์จะให้โจทก์ทำงานต่อไปไม่ถือไม่ได้ว่าจำเลยโดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เลิกจ้างโจทก์แล้วโจทก์จึงยังไม่มีสิทธิฟ้องเรียกร้องค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจากจำเลยได้ส่วนค่าจ้างค้างจ่ายซึ่งเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นหลังจากที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวนั้นไม่ใช่หนี้ที่จะต้องยื่นขอรับชำระหนี้ตามมาตรา94แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483จึงไม่ต้องยื่นคำร้องต่อศาลก่อนตามมาตรา146แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกันเมื่อจำเลยปฏิเสธไม่จ่ายค่าจ้างค้างจ่ายโจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกร้องเอาจากจำเลยได้ทันที.
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ประกอบ ธุรกิจ เงินทุน หลักทรัพย์ จำเลย จ้างโจทก์ ทั้ง สิบหก ทำงาน ใน บริษัท จำเลย โดย จ่าย ค่าจ้าง ทุก วันสิ้นเดือน เมื่อ วันที่ 15 มกราคม 2529 จำเลย ถูก ศาล สั่งพิทักษ์ทรัพย์ ชั่วคราว จำเลย จึง ไม่ จ่าย ค่าจ้าง เดือน มกราคม 2529ให้ โจทก์ โจทก์ ทวงถาม ให้ จำเลย ชำระ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์มี คำสั่ง ไม่ จ่าย ค่าจ้าง ให้ และ แจ้ง ให้ ผู้ชำระ บัญชี ของ จำเลยทราบ ผู้ชำระ บัญชี ได้ แจ้ง คำสั่ง ให้ โจทก์ ทราบ เมื่อ วันที่ 4กุมภาพันธ์ 2529 การ ที่ ไม่ จ่าย ค่าจ้าง ถือ ว่า เป็น การ เลิกจ้างโจทก์ แล้ว ตั้งแต่ วัน ดังกล่าว ขอ ศาล บังคับ จำเลย จ่าย ค่าจ้าง ก่อนที่ จำเลย จะ ถูก ศาล สั่ง พิทักษ์ทรัพย์ ชั่วคราว ค่าชดเชย สินจ้างแทน การ บอกกล่าว ล่วงหน้า และ ค่าชดเชย พร้อมทั้ง ดอกเบี้ย ให้ โจทก์ทั้ง สิบหก
เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ ยื่น คำให้การ ว่า การ ที่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ของ จำเลย มี คำสั่ง ไม่ จ่าย ค่าจ้าง ให้ แก่ โจทก์มิใช่ เป็น การ บอกกล่าว เลิกจ้าง การ เลิกจ้าง เป็น ไป โดย ผล ของกฎหมาย กล่าวคือ เมื่อ ศาล มี คำสั่ง พิทักษ์ทรัพย์ ของ ลูกหนี้ แล้วลูกหนี้ จะ กระทำ การ ใดๆ เกี่ยวกับ ทรัพย์สิน หรือ กิจการ ของ ตน ไม่ได้ จำเลย จึง ไม่ มี อำนาจ ดำเนิน กิจการ ของ ตนเอง ต่อไป ได้ และมี ผล ทำ ให้ บรรดา ลูกจ้าง ของ จำเลย รวมทั้ง โจทก์ ทั้ง สิบหก ไม่ อาจปฏิบัติ หน้าที่ ต่อไป ได้ โดย มิต้อง มี การ บอกกล่าว เลิกจ้าง ภายหลังที่ ศาล มี คำสั่ง พิทักษ์ทรัพย์ ชั่วคราว แต่ ก่อน วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2529 ซึ่ง เป็น วัน ที่ โจทก์ ถือ ว่า เป็น การ บอกกล่าว เลิกจ้าง ทางจำเลย ได้ ส่งมอบ งาน ให้ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ เป็น ผู้ ดำเนินการต่อไป แล้ว ต่อมา ผู้ชำระ บัญชี ของ จำเลย ได้ มี หนังสือ ขออนุมัติค่าใช้จ่าย ประจำเดือน มกราคม 2529 มา ยัง เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ ซึ่ง เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ ได้ มี คำสั่ง เมื่อ วันที่ 4กุมภาพันธ์ 2529 ว่า ผู้ มี สิทธิ เรียกร้อง เงิน ต่างๆ ถือ เป็นเจ้าหนี้ ของ จำเลย หาก ประสงค์ จะ ได้ รับ ชำระหนี้ ก็ จะ ต้อง ยื่นคำขอ รับ ชำระหนี้ ต่อ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ คำสั่ง ดังกล่าวมิใช่ คำสั่ง หรือ คำบอกกล่าว เลิกจ้าง แต่ เป็น คำสั่ง ไม่ อนุมัติการ จ่าย เงิน ตาม ที่ ผู้ชำระ บัญชี ขอ มา เท่านั้น หาก โจทก์ ได้ รับความเสียหาย ก็ ชอบ ที่ จะ ร้อง ต่อ ศาล ซึ่งพิจารณาคดี ล้มละลาย ตามมาตรา 146 แต่ โจทก์ หา ได้ ปฏิบัติ ตาม กลับ มา ดำเนินการ ฟ้องคดีต่อ ศาลแรงงานกลาง เป็น คดี นี้ ใน ขณะ ที่ โจทก์ ยัง ไม่ มี อำนาจ ฟ้อง เพราะ ถือ ไม่ ได้ ว่า เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ ได้ บอก เลิกจ้างอัน เป็น การ โต้แย้ง สิทธิ ของ โจทก์ ส่วน ค่าจ้าง ซึ่ง เกิดขึ้น ก่อนวัน ที่ ศาล มี คำสั่ง พิทักษ์ทรัพย์ ชั่วคราว นั้น โจทก์ อยู่ ใน ฐานะเจ้าหนี้ ซึ่ง มูลหนี้ เกิดขึ้น ก่อน วัน ที่ ศาล สั่ง พิทักษ์ทรัพย์โจทก์ ชอบ ที่ จะ ยื่น คำขอ รับ ชำระหนี้ ต่อ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ขอ ให้ ยกฟ้อง
วันนัด พิจารณา โจทก์ ทั้ง สิบหก ยื่น คำร้อง ขอ ให้ ศาลแรงงานกลางวินิจฉัย ชี้ขาด ข้อกฎหมาย ไป ตาม รูปคดี โดย คู่ความ ไม่ ติดใจ สืบพยาน
ศาลแรงงานกลาง พิพากษา ให้ จำเลย จ่าย ค่าจ้าง ที่ ค้าง (ค่าจ้าง ค้างจ่าย เดือน มกราคม 2529) ค่าชดเชย และ สินจ้าง แทน การ บอกกล่าวล่วงหน้า แก่ โจทก์ ทั้ง สิบหก พร้อมด้วย ดอกเบี้ย ทั้งนี้ ให้การชำระหนี้ ตาม คำพิพากษา อยู่ ใน บังคับ แห่ง พระราชบัญญัติ ล้มละลายพ.ศ. 2483
โจทก์ ทั้ง สิบหก และ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ ของ บริษัท จำเลยอุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนกคดีแรงงาน วินิจฉัย ว่า ข้อเท็จจริง ฟัง ได้ ว่า โจทก์ทั้ง สิบหก เป็น ลูกจ้าง ของ จำเลย ครั้น วันที่ 21 ธันวาคม 2527รัฐมนตรี ว่าการ กระทรวง การคลัง ได้ มี คำสั่ง เพิกถอน ใบอนุญาต ประกอบธุรกิจ เงินทุน และ ธุรกิจ หลักทรัพย์ ที่ ออก ให้ แก่ จำเลย และ ให้ยกเลิก บริษัท จำเลย แล้ว แต่งตั้ง ผู้ชำระ บัญชี ขึ้น ต่อมา วันที่15 มกราคม 2529 ศาลแพ่ง ได้ มี คำสั่ง พิทักษ์ทรัพย์ จำเลย ชั่วคราววันที่ 30 มกราคม 2529 ผู้ชำระ บัญชี ของ จำเลย ได้ มี หนังสือ ถึงเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ เพื่อ ขออนุมัติ ค่าใช้จ่าย ประจำเดือนมกราคม 2529 ของ จำเลย ตลอด ทั้ง เงินเดือน ของ พนักงาน ทุกคน รวมทั้งโจทก์ ทั้ง สิบหก ด้วย วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2529 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ได้ มี คำสั่ง ว่า ผู้ มี สิทธิ เรียกร้อง เงินค่าใช้จ่าย ต่างๆ ตาม ที่ ผู้ชำระ บัญชี ขอ มา ถือว่า เป็น เจ้าหนี้ของ จำเลย เมื่อ ประสงค์ จะ ได้ รับ ชำระหนี้ ก็ จะ ต้อง ยื่น คำขอ รับชำระหนี้ ตาม พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 การ ที่ ผู้ชำระ บัญชีขอ ให้ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ อนุมัติ การ จ่าย เงิน ดังกล่าว แล้ว เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ จึง ไม่ มี อำนาจ ที่ จะ จ่าย ให้ ได้โจทก์ ทั้ง สิบหก ถือว่า คำปฏิเสธ ของ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ เป็นการ เลิกจ้าง โจทก์ ทั้ง สิบหก ตั้งแต่ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2529 แล้วจึง ได้ ฟ้อง เรียก ค่าจ้าง ค้างจ่าย ค่าชดเชย และ สินจ้าง แทน การบอกกล่าว ล่วงหน้า จาก จำเลย
ใน ปัญหา ว่า จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ ทั้ง สิบหก หรือไม่ ศาลฎีกาวินิจฉัย ว่า การ ที่ ศาลแพ่ง มี คำสั่ง พิทักษ์ทรัพย์ จำเลย ชั่วคราวนั้น มี ผล เพียง ทำ ให้ จำเลย ไม่ สามารถ ดำเนิน กิจการ ได้ ด้วยตนเอง ต้อง ให้ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ เป็น ผู้ ดำเนิน กิจการ แทนหา มี ผล ทำ ให้ ความ สัมพันธ์ ระหว่าง จำเลย ผู้ เป็น นายจ้าง กับโจทก์ ทั้ง สิบหก ผู้ เป็น ลูกจ้าง ต้อง สิ้นสุด หรือ ระงับ ไป ด้วย ไม่ ฉะนั้น แม้ ศาลแพ่ง จะ มี คำสั่ง พิทักษ์ทรัพย์ จำเลย ชั่วคราว โจทก์ทั้ง สิบหก ก็ ยัง มี ฐานะ เป็น ลูกจ้าง ของ จำเลย อยู่ นั่นเอง การที่ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ ซึ่ง เป็น ผู้ มี สิทธิ ดำเนิน กิจการแทน จำเลย ปฏิเสธ ไม่ ยอม จ่าย ค่าจ้าง ให้ แก่ โจทก์ ทั้ง สิบหก โดยเกี่ยง ให้ ไป ขอ รับ ชำระหนี้ ตาม พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483นั้น ก็ เป็น เพียง แจ้ง ให้ โจทก์ ทั้ง สิบหก ไป ขอ รับ ชำระหนี้ ตามกฎหมาย เท่านั้น หา ใช่ เป็น การ ปฏิเสธ ว่า จะ เลิกจ้าง หรือ ไม่ประสงค์ จะ ให้ โจทก์ ทั้ง สิบหก ทำงาน ต่อไป ไม่ กรณี จึง ถือ ไม่ ได้ว่า จำเลย โดย เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ ได้ เลิกจ้าง โจทก์ ทั้ง สิบหกแล้ว เมื่อ เป็น เช่นนี้ โจทก์ ทั้ง สิบหก จึง ยัง ไม่ มี สิทธิ ฟ้องเรียกร้อง ค่าชดเชย และ สินจ้าง แทน การ บอกกล่าว ล่วงหน้า จาก จำเลยได้ ส่วน ค่าจ้าง ค้างจ่าย ประจำเดือน มกราคม 2529 ของ โจทก์ ทั้ง สิบหกซึ่ง ถึง กำหนด จ่าย ใน วัน สิ้นเดือน มกราคม 2529 ถือว่า เป็น หนี้ที่ เกิดขึ้น หลังจาก ศาลแพ่ง มี คำสั่ง พิทักษ์ทรัพย์ จำเลย ชั่วคราวจึง ไม่ ใช่ หนี้ ที่ จะ ต้อง ยื่น ขอ รับ ชำระ หนี้ ตาม มาตรา 94แห่ง พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 และ ไม่ ต้อง ยื่น คำร้อง ต่อศาลแพ่ง ก่อน ตาม มาตรา 146 แห่ง พระราชบัญญัติ ฉบับเดียวกัน เมื่อจำเลย ปฏิเสธ ไม่ จ่าย ค่าจ้าง ค้างจ่าย ดังกล่าว โจทก์ ทั้ง สิบหก ย่อมมีสิทธิ ฟ้อง เรียกร้อง เอา จาก จำเลย ได้ ทันที คดี ไม่ จำต้องวินิจฉัย ข้ออุทธรณ์ ของ โจทก์ และ อุทธรณ์ ข้ออื่น ของ จำเลย อีกต่อไป
พิพากษา แก้ เป็น ว่า จำเลย ไม่ ต้อง จ่าย ค่าชดเชย และ สินจ้าง แทนการ บอกกล่าว ล่วงหน้า ให้ แก่ โจทก์ ทั้ง สิบหก นอกจาก ที่ แก้ ให้เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลแรงงานกลาง