คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 249/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

อุทธรณ์ของโจทก์ที่เป็นเพียงการแสดงความคิดเห็นต่างๆของโจทก์ในการรับฟังข้อเท็จจริงว่าคดีโจทก์มีมูลนั้นมิได้ทำให้ปัญหาที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเปลี่ยนแปลงไปคดียังคงมีปัญหาว่าฟ้องของโจทก์มีมูลหรือไม่เมื่อศาลอุทธรณ์พิจารณาพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบแล้วเห็นว่าโจทก์ไม่ได้นำสืบ(ชั้นไต่สวนมูลฟ้อง)ให้ปรากฏว่าวันที่เช็คถึงกำหนดจำเลยมีเงินในบัญชีพอที่จะจ่ายเงินตามเช็คพิพาทได้หรือไม่หรือบัญชีของจำเลยปิดแล้วหรือไม่ซึ่งเป็นสาระสำคัญของคดีความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คคดีของโจทก์จึงไม่มีมูลนั้นเหตุผลที่ศาลอุทธรณ์ยกขึ้นวินิจฉัยดังกล่าวเป็นการเพียงพอแล้วที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษายกฟ้องโจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นได้โดยไม่จำต้องวินิจฉัยหักล้างเหตุผลที่โจทก์แสดงต่อศาลอุทธรณ์เพราะเหตุผลนั้นไม่เป็นสาระไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไปการที่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจแัยหักล้างอุทธรณ์ของโจทก์หรือยกเหตุผลอื่นขึ้นวินิจฉัยจึงไม่ใช่การวินิจฉัยนอกประเด็นไม่ตรงตามที่โจทก์อุทธรณ์และการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวแม้จะให้เหตุผลแตกต่างไปจากคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นก็ไม่ทำให้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด.

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอ ให้ ลงโทษ จำเลย ตาม พระราชบัญญัติ ว่าด้วย ความ ผิดอัน เกิด จาก การ ใช้ เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3
ศาลชั้นต้น ไต่สวน มูลฟ้อง แล้ว วินิจฉัย ว่า การ นำสืบ ของ โจทก์ไม่ ได้ ความ ว่า จำเลย เป็น ผู้ ลง ลายมือชื่อ สั่ง จ่าย เช็ค คดีจึง ไม่ มี มูล พิพากษา ยกฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิจารณา แล้ว เห็นว่า โจทก์ ไม่ ได้ นำสืบ ให้ ปรากฏชัด ว่า วันที่ เช็ค ถึง กำหนด จำเลย มี เงิน ใน บัญชี พอ ที่ จะ จ่ายเงิน ตาม เช็ค พิพาท ได้ หรือไม่ หรือ บัญชี ของ จำเลย ปิด แล้ว หรือไม่ ซึ่ง เป็น ข้อ สาระ สำคัญ แห่ง คดี คดี โจทก์ จึง ไม่ มี มูลพิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า คดี มี ปัญหา ตาม ฎีกา โจทก์ ว่า ศาลอุทธรณ์มิได้ วินิจฉัย ตาม คำ อุทธรณ์ ของ โจทก์ ที่ ได้ อุทธรณ์ คำพิพากษาศาลชั้นต้น แต่ กลับ มี คำพิพากษา ยกฟ้อง ของ โจทก์ โดย อาศัย คน ละเหตุ แตกต่าง จาก คำพิพากษา ของ ศาลชั้นต้น อัน เป็น การ นอก ประเด็นไม่ ตรง ตาม ที่ โจทก์ อุทธรณ์ ไว้ นั้น เป็น คำพิพากษา ที่ ชอบ ด้วยกฎหมาย หรือไม่
พิเคราะห์ แล้ว ปัญหา ข้อ นี้ โจทก์ อุทธรณ์ คัดค้าน คำ พิพากษาศาลชั้นต้น ว่า เรื่อง ลายมือชื่อ ของ จำเลย หรือ ผู้ สั่ง จ่าย เช็คนั้น มิใช่ ประเด็น ข้อ พิสูจน์ อัน แสดง ว่า คดี มี มูล หรือไม่เช็ค และ ใบคืนเช็ค ต่างหาก ที่ เป็น หลักฐาน ยืนยัน ว่า ได้ มี การกระทำ ความ ผิด เกิด ขึ้น ซึ่ง เป็น ภาระ ของ โจทก์ ที่ จะ นำสืบใน ชั้น พิจารณา ใน ชั้น ไต่สวน มูลฟ้อง เพียง โจทก์ ให้การ ว่าทราบ จาก นาย วรรณชัย สุรอมรรัตน์ ผู้โอน เช็ค ให้ แก่ โจทก์ ว่าเป็น ลายมือชื่อ ของ จำเลย แม้ จะ เป็น คำ บอกเล่า ก็ เป็น คำ บอกเล่าที่ เชื่อถือ ได้ และ มี น้ำหนัก พอ ที่ ศาล จะ รับฟัง ได้ ที่อยู่ของ จำเลย นั้น ถึงแม้ ที่อยู่ ของ จำเลย ตาม ฟ้อง จะ ไม่ ใช่ ที่อยู่ของ จำเลย ที่ แท้จริง แต่ เมื่อ โจทก์ ทราบ ที่อยู่ ที่ แท้จริงของ จำเลย แล้ว ก็ ได้ ยื่น คำร้อง ขอ แก้ไข เพิ่มเติม คำฟ้อง โดยศาล สั่ง อนุญาต แล้ว ปัญหา เรื่อง ที่อยู่ ของ จำเลย จึง ยุติ ลงและ ถือ ว่า ตาม ฟ้อง ของ โจทก์ ถูกต้อง แล้ว โจทก์ ได้ เบิกความ ต่อศาล ว่า จำเลย มี เจตนา ที่ จะ ไม่ ใช้ เงิน ตาม เช็ค โดย โจทก์มี พยาน เอกสาร คือ ใบ คืนเช็ค แสดง ต่อ ศาล จึง เป็น ข้อ พิสูจน์ได้ ชัด ว่า โจทก์ ไม่ สามารถ รับ เงิน ตาม เช็ค นั้น ได้ อัน เป็นความ ผิด ตาม กฎหมาย แล้ว แม้ ใบคืนเช็ค จะ อ้าง เหตุผล ว่า โปรด ติดต่อผู้ สั่ง จ่าย มิใช่ ปฏิเสธ ว่า เงิน ใน บัญชี ไม่ พอ จ่าย ก็ ถือได้ ว่า เป็น การ ปฏิเสธ การ ใช้ เงิน ตาม เช็ค แสดง ว่า ผู้ออก เช็คมี เจตนา ที่ จะ ไม่ ให้ มี การ ใช้ เงิน ตาม เช็ค การ ไต่สวน มูลฟ้อง โจทก์ มี ภาระ นำสืบ พยาน หลักฐาน เพียง เท่าที่ จำเป็น พอ ที่ศาล จะ เห็น หรือ เชื่อว่า คดี มี มูล แตกต่าง ไป จาก การ นำสืบ ในชั้น พิจารณาคดี ที่ จะ ต้อง นำสืบ ให้ ละเอียด เพื่อ ให้ ศาล เชื่อโดย ปราศจาก ข้อสงสัย เพื่อ ลงโทษ ผู้ กระทำ ความ ผิด เมื่อ โจทก์นำสืบ ให้ ปรากฏ ชัด ต่อ ศาล ซึ่ง เช็ค และ ใบคืนเช็ค ซึ่ง แสดง ถึงการ ปฏิเสธ การ จ่าย เงิน แล้ว ย่อม เป็น ข้อ พิสูจน์ ว่า ความ ผิดได้ เกิด ขึ้น ตาม บทบัญญัติ ของ กฎหมาย แล้ว แม้ จะ เป็น พยานบอกเล่า เพราะ โจทก์ เป็น ผู้รับ โอน เช็ค มา่ อีก ต่อหนึ่ง ก็ มีน้ำหนัก ที่ ศาล จะ เชื่อถือ ได้ เมื่อ โจทก์ นำสืบ ดังกล่าว จึงเพียงพอ ที่ จะ รับฟัง ว่า คดี โจทก์ มี มูล แล้ว นั้น เห็นว่า อุทธรณ์ของ โจทก์ ดังกล่าว เป็น เพียง การ แสดง ความ คิดเห็น ของ โจทก์ ในการ รับฟัง ข้อเท็จจริง ว่า คดี โจทก์ มี มูล เท่านั้น ดังนั้น ปัญหาตาม ที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย จึง มิได้ เปลี่ยนแปลง ไป คดี ยัง คง มีปัญหา ว่า ฟ้อง ของ โจทก์ มี มูล หรือไม่ เมื่อ ศาลอุทธรณ์ พิจารณาพยาน หลักฐาน ที่ โจทก์ นำสืบ แล้ว เห็น ว่า โจทก์ ไม่ ได้ นำสืบให้ ปรากฏ ว่า วันที่ เช็ค ถึง กำหนด คือ วันที่ 25 กันยายน 2525จำเลย มี เงิน ใน บัญชี พอ ที่ จะ จ่าย เงิน ตาม เช็ค พิพาท ได้ หรือไม่ หรือ บัญชี ของ จำเลย ปิด แล้ว หรือไม่ ซึ่ง เป็น ข้อ สาระ สำคัญของ คดี คดี ของ โจทก์ จึง ไม่ มี มูล นั้น เห็น ได้ ว่า เหตุ ผลที่ ศาลอุทธรณ์ ยกขึ้น วินิจฉัย ดังกล่าว เป็น การ เพียงพอ แล้ว ที่ศาลอุทธรณ์ จะ พิพากษา ยกฟ้อง โจทก์ ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น ได้ โดยไม่ จำเป็น ต้อง วินิจฉัย หักล้าง เหตุผล ที่ โจทก์ แสดง ต่อ ศาลอุทธรณ์เพราะ เหตุผล นั้น ไม่ เป็น สาระ ไม่ ทำ ให้ ผล แห่ง คดี เปลี่ยนแปลงไป การ ที่ ศาลอุทธรณ์ มิได้ วินิจฉัย หักล้าง อุทธรณ์ ของ โจทก์หรือ ยก เหตุผล อื่น ขึ้น วินิจฉัย จึง ไม่ ใช่ การ วินิจฉัย นอกประเด็นไม่ ตรง ตาม ที่ โจทก์ อุทธรณ์ และ การ วินิจฉัย ของ ศาลอุทธรณ์ดังกล่าว แม้ จะ ให้ เหตุผล แตกต่าง ไป จาก คำวินิจฉัย ของ ศาลชั้นต้นก็ ไม่ ทำ ให้ คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ไม่ ชอบ ด้วย กฎหมาย แต่ อย่างใดด้วย
พิพากษายืน.

Share