คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3189/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

เงินรางวัลประจำปีเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเฉพาะที่เป็นพนักงานประจำซึ่งตั้งใจมาปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถและสม่ำเสมอไม่ขาดลาสายหรือกลับก่อนเวลาเลิกงานตามที่ระเบียบกำหนดไว้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่ลูกจ้างประจำที่มีความขยันหมั่นเพียรเป็นพิเศษจึงไม่ใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงานไม่ใช่ค่าจ้างตามความหมายของมาตรา165(9)แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และตามความหมายแห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานฯข้อ2แต่เป็นเงินประเภทอื่นที่ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความเรียกร้องไว้จึงมีอายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164. การที่นายจ้างจะแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งที่มีระเบียบเกี่ยวกับการจ่ายเงินรางวัลประจำปีซึ่งถือว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างได้นั้นจะต้องดำเนินการไปตามขั้นตอนตามที่พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518กำหนดไว้เมื่อนายจ้างเพียงแต่แจกรายงานการประชุมคณะทำงานของบริษัทนายจ้างซึ่งมีความหมายทำนองยกเลิกเงินรางวัลประจำปีแก่ลูกจ้างโดยมิได้ดำเนินการให้ถูกต้องตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯทั้งการแก้ไขก็ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างจึงเป็นการไม่ชอบถือไม่ได้ว่ามีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างคำสั่งเดิมยังมีผลใช้บังคับอยู่.

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ ทั้ง สอง เป็น ลูกจ้าง ประจำ ของ จำเลย ต่อมาจำเลย เลิกจ้าง โจทก์ เนื่องจาก ยุบ เลิก หน่วยงาน โจทก์ ทั้ง สองเป็น ผู้ อยู่ ใน เกณฑ์ มี สิทธิ ได้ รับ เงิน รางวัล ประจำปี ตามข้อตกลง เกี่ยวกับ สภาพ การจ้าง แต่ จำเลย ไม่ จ่าย เงิน รางวัล ประจำปีแก่ โจทก์ นอกจาก นี้ โจทก์ ทั้ง สอง ยัง มี สิทธิ ได้ รับ เงิน บำเหน็จตาม ข้อ ตกลง เกี่ยวกับ สภาพ การ จ้าง อีก ด้วย ขอ ให้ บังคับ จำเลยจ่าย เงิน รางวัล ประจำปี และ เงิน บำเหน็จ แก่ โจทก์ ทั้ง สองพร้อมด้วย ดอกเบี้ย
จำเลย ให้การ ว่า คำสั่ง ที่ 34/2520 เกี่ยวกับ เงิน รางวัล ประจำปีถูก จำเลย ยกเลิก ไป แล้ว ตั้งแต่ ปี 2525 และ เงิน รางวัล ประจำปีเป็น เงิน ค่าจ้าง ทำงาน มี อายุความ ฟ้องร้อง 2 ปี คดี โจทก์ จึงขาด อายุความ โจทก์ ได้ รับ เงิน รางวัล ประจำปี ไป แล้ว ใน ปี 2523ถึง 2525 คง มี สิทธิ ได้ รับ เฉพาะ ปี 2526 ส่วน ปี 2527 โจทก์ ไม่ มีสิทธิ ได้ รับ เพราะ ทำงาน ไม่ ครบ รอบ หนึ่ง ปี นอกจาก นี้ โจทก์ ได้มี การ ลา มา ทำงาน สาย ขาดงาน เกิน ระเบียบ ว่า ด้วย เงิน รางวัลประจำปี จึง ไม่ มี สิทธิ ได้ รับ หรือ หาก มี สิทธิ ได้ รับ ก็ ไม่เต็ม ตาม ฟ้อง โจทก์ ได้ รับ เงิน ต่างๆ จาก จำเลย รวมทั้ง เงิน บำเหน็จตาม ข้อบังคับ การ ทำงาน ทั้งหมด ไป แล้ว หาก ไม่ ได้ รับ โจทก์ ก็ได้ สละ สิทธิ ที่ จะ เรียก เงิน ตาม ฟ้อง ขอ ให้ ยกฟ้อง
ศาลแรงงานกลาง วินิจฉัย ว่า ฟัง ได้ ว่า คำสั่ง ที่ 34/2520(คู่มือ ปฏิบัติงาน ของ จำเลย) ยัง มี ผล ใช้ บังคับ อยู่ สิทธิเรียกร้อง เงิน รางวัล ประจำปี มี อายุความ 10 ปี ฟ้อง โจทก์ ไม่ ขาดอายุความ โจทก์ ทั้ง สอง มี สิทธิ ได้ รับ บำเหน็จ และ เงิน รางวัลประจำปี พิพากษา ให้ จำเลย ชำระ เงิน รางวัล ประจำปี และ บำเหน็จ แก่โจทก์ ทั้ง สอง พร้อมด้วย ดอกเบี้ย
จำเลย อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดี แรงงาน วินิจฉัย ข้อกฎหมาย ว่า จำเลย อุทธรณ์ ว่าเงิน รางวัล ประจำปี ถือ ว่า เป็น ค่าจ้าง ตาม ความหมาย ของ มาตรา 165แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึง มี อายุความ 2 ปี คดี โจทก์ ขาดอายุความ แล้ว เห็นว่า เงิน รางวัล ประจำปี ตาม คำสั่ง ที่ 34/2520ของ จำเลย เป็น เงิน ที่ จำเลย ผู้ เป็น นายจ้าง ตกลง จ่าย ให้ แก่ลูกจ้าง เฉพาะ ที่ เป็น พนักงาน ประจำ ซึ่ง ตั้งใจ มา ปฏิบัติ งาน อย่างเต็ม ความ สามารถ และ สม่ำเสมอ ไม่ขาด ลา สาย หรือ กลับ ก่อน เวลาเลิกงาน ใน รอบ หนึ่ง ปี เพื่อ จะ ได้ มี กำลังใจ ใน การ ปฏิบัติ งานหาก ลูกจ้าง ผู้ใด ขาด ลา สาย หรือ กลับ ก่อน เวลา เลิกงาน เงิน ที่จะ จ่าย ก็ ลดลง ตาม ส่วน หรือ จะ ไม่ มี สิทธิ ได้ เรับ เงิน เลยเงิน รางวัล ประจำปี จึง ไม่ ใช่ ค่าจ้าง ตาม ความหมาย ของ มาตรา165 (9) แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และ ตาม ความหมาย แห่งประกาศ กระทรวง มหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 2 เพราะ ไม่ ใช่เงิน ที่ นายจ้าง จ่าย ให้ แก่ ลูกจ้าง เป็น การ ตอบแทน การ ทำงานใน เวลา ทำงาน แต่ เป็น เงิน ประเภท อื่น ที่ นายจ้าง จ่าย ให้ แก่ลูกจ้าง โดย มี วัตถุประสงค์ เพื่อ เป็น ขวัญ และ กำลังใจ แก่ ลูกจ้างที่ มี ความ ขยัน หมั่นเพียร เป็น พิเศษ จึง เป็น เงิน ประเภท อื่นซึ่ง ไม่ มี กฎหมาย กำหนด อายุความ เรียกร้อง ไว้ มี อายุความ 10 ปีตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
ที่ จำเลย อุทธรณ์ ว่า เมื่อ ได้ มี การ แจก รายงาน การ ประชุม คณะทำงาน ของ บริษัท จำเลย ให้ แก่ ลูกจ้าง ทุกคน แล้ว โดย ที่ รายงานการ ประชุม ดังกล่าว ใน ข้อ 4.6 มี ข้อความ ที่ มี ความหมาย ว่า ยกเลิกรางวัล ประจำปี ก็ ต้อง ถือ ว่า มี ข้อ ตกลง ให้ ยกเลิก เงิน รางวัลประจำปี แล้ว และ ข้อ ตกลง นี้ ไม่ ขัด ต่อ พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 13 แต่ อย่างใด เห็นว่า คำสั่ง ของจำเลย ที่ 34/2520 ซึ่ง มี ระเบียบ ว่า ด้วย เงิน รางวัล ประจำปีถือ ว่า เป็น ข้อตกลง เกี่ยวกับ สภาพ การจ้าง การ ที่ จำเลย ผู้ เป็นนายจ้าง จะ แก้ไข เพิ่มเติม อย่างไร จะ ต้อง ดำเนินการ ตาม ขั้นตอนที่ พระราชบัญญัติ แรงงานสัมพันธ์ฯ กำหนด ไว้ การ ที่ จำเลย เพียง แต่แจก รายการ ประชุม คณะทำงาน ของ บริษัท จำเลย ซึ่ง มี ความหมาย ทำนองยกเลิก เงิน รางวัล ประจำปี เสีย โดย จำเลย มิได้ ดำเนินการ ให้ ถูกต้องตาม ขั้นตอน ของ บทกฎหมาย ดังกล่าว อีก ทั้ง การ แก้ไข นี้ ก็ ไม่ เป็นคุณ แก่ ลูกจ้าง จึง เป็น การ ไม่ ชอบ ถือ ไม่ ได้ ว่า มี การ แก้ไขเปลี่ยนแปลง ข้อตกลง เกี่ยวกับ สภาพ การจ้าง คำสั่ง ดังกล่าว มี ผลใช้ บังคับ อยู่ อุทธรณ์ ของ จำเลย ฟัง ไม่ ขึ้น
พิพากษา ยืน.

Share