คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3152/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

การที่จำเลยนำความเท็จมาฟ้องโจทก์เป็นคดีอาญาซึ่งเป็นการฟ้องเท็จนั้นโจทก์ย่อมเป็นผู้ที่ได้รับความเสียหายโดยตรงจากการกระทำความผิดฐานฟ้องเท็จของจำเลยโจทก์จึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาฐานฟ้องเท็จตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา175ได้.

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอ ให้ ลงโทษ จำเลย ใน ความผิด ฐาน ฟ้องเท็จ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 175
ศาลชั้นต้น ไต่สวน มูลฟ้อง แล้ว เห็น ว่า คดี มี มูล ให้ ประทับ ฟ้องไว้ พิจารณา
จำเลย ให้การ ปฏิเสธ
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา175 ให้ จำคุก 2 ปี
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยืน
จำเลย ฎีกา โดย ผู้พิพากษา ศาลอุทธรณ์ ซึ่ง พิจารณา คดี นี้ อนุญาตให้ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ‘คดี นี้ แม้ จำเลย ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง ได้เพราะ ผู้พิพากษา ศาลอุทธรณ์ ซึ่ง พิจารณา อนุญาต ให้ ฎีกา ก็ ตามแต่ ปัญหา ที่ ว่า จำเลย ได้ กระทำ ความผิด ตาม ฟ้อง หรือ ไม่ ยุติไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น แล้ว เพราะ จำเลย มิได้ อุทธรณ์ โต้แย้งว่า จำเลย มิได้ กระทำ ความผิด ตรงกันข้าม จำเลย ยอมรับ ใน อุทธรณ์ ว่าจำเลย กระทำ ความผิด จริง จำเลย ไม่ มี สิทธิ ฎีกา ใน ข้อ นี้ ที่จำเลย ฎีกา มา ศาลฎีกา ไม่ รับ วินิจฉัย จำเลย ฎีกา ว่า จำเลย มิได้อุทธรณ์ ว่า จำเลย ไม่ ได้ กระทำ ความผิด ศาลอุทธรณ์ จึง ฟัง ว่าจำเลย กระทำ ความผิด เป็น การ ไม่ ชอบ นั้น เห็น ได้ ว่า เป็น การ ฎีกาฝ่าฝืน ข้อความ ตาม ที่ จำเลย อุทธรณ์ ไว้ จะ ถือ ว่า ศาลอุทธรณ์ รับฟัง ไม่ ชอบ หา ได้ ไม่
จำเลย ฎีกา ว่า ความผิด ต่อ เจ้าพนักงาน ใน การ ยุติธรรม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 175 เป็น ความผิด ต่อ แผ่นดิน รัฐ เท่านั้นที่ จะ เป็น ผู้เสียหาย ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา2 (4) โจทก์ จึง ไม่ มี อำนาจ ฟ้อง ศาลฎีกา เห็นว่า คำว่า ผู้เสียหายตาม บทกฎหมาย ดังกล่าว หมายความ ถึง บุคคล ที่ ได้ รับ ความเสียหายเนื่องจาก การ กระทำ ความผิด ฐาน ใด ฐาน หนึ่ง การ ที่ จำเลย นำ ความอัน เป็น เท็จ ไป ฟ้อง โจทก์ ต่อ ศาลอาญาธนบุรี คดี หมายเลข ดำ ที่1034/2525 หมายเลข แดง ที่ 4377/2525 หา ว่า โจทก์ กระทำ ความผิด ในคดี ดังกล่าว ซึ่ง เป็น การ ฟ้องเท็จ โจทก์ เป็น จำเลย ใน คดี ดังกล่าวจึง เป็น ผู้ ที่ ได้ รับ ความ เสียหาย โดยตรง จาก การ กระทำ ความผิดฐาน ฟ้องเท็จ ของ จำเลย โจทก์ จึง เป็น ผู้เสียหาย มี อำนาจ ฟ้องคดี นี้ ได้
จำเลย ฎีกา ว่า จำเลย รับ ราชการ มา นาน ถึง 27 ปี จน ได้ รับ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ จักรพรรดิมาลา และ เหรียญ อื่นๆ ศาลอุทธรณ์ ไม่ ยก ขึ้นวินิจฉัย ใน การ กำหนด โทษ และ รอ การ ลงโทษ ไม่ชอบ นั้น เห็น ว่าดุลพินิจ ใน การ กำหนด โทษ ไม่ มี กฎหมาย บัญญัติ ไว้ ว่า ใน กรณี ใดควร กำหนด โทษ เพียงใด คง บัญญัติ ไว้ เฉพาะ ความผิด นั้นๆ ต้องระวางโทษ เท่านั้น เท่านี้ ดังนั้น การ กำหนด โทษ ใน ระวาง โทษ ที่กฎหมาย บัญญัติ ไว้ จึง เป็น อำนาจ ศาล ที่ จะ ใช้ ดุลพินิจ พิจารณาเป็น เรื่องๆ ไป ว่า คดี ใด ควร กำหนด โทษ เท่าใด ส่วน การ รอการลงโทษ นั้น มี บัญญัติ ไว้ ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 สำหรับ จำเลย ปรากฏ ใน คำพิพากษา ศาลอุทธณ์แล้ว ว่า นอกจาก ศาลอุทธรณ์ จะ ได้ อ้าง เหตุ อื่น ยัง อ้าง เหตุโดย คำนึง ถึง อายุ ประวัติ ความ ประพฤติ สติปัญญา การศึกษา อบรม และอื่นๆ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 แล้ว เห็นว่า ยัง ไม่ สมควร รอการ ลงโทษ แสดงว่า ศาลอุทธรณ์ คำนึง ถึง ข้อ ที่ จำเลย อุทธรณ์ ด้วยจะ ว่า ศาลอุทธรณ์ ใช้ ดุลพินิจ ไม่ ชอบ หา ได้ ไม่ และ ศาลฎีกา ก็เห็นพ้อง ด้วย กับ ความเห็น ของ ศาลอุทธรณ์ ที่ ใช้ ดุลพินิจ ไม่ รอ การลงโทษ ให้ แก่ จำเลย ส่วน การ กำหนด โทษ นั้น เห็นว่า คดี เดิม เป็นคดี ที่ ยอมความ ได้ และ โทษ ชั้นสูง ก็ กำหนด ไว้ เพียง 1 ปี ทั้งจำเลย ก็ เป็น ผู้ ที่ เคย มี คุณงาม ความดี มา ก่อน จึง เห็น สมควรลดโทษ ให้ ต่ำ ลง ตาม รูปคดี
พิพากษา แก้ เป็น ว่า ให้ จำคุก จำเลย 6 เดือน นอกจาก ที่ แก้ ให้เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ของ ศาลอุทธรณ์

Share