แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนสัญญาขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่1กับจำเลยที่2โดยมิได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏว่าขณะที่ทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่1กับจำเลยที่2นั้นจำเลยที่2ได้รู้อยู่ก่อนแล้วว่ามีข้อตกลงระหว่างจำเลยที่1กับโจทก์ที่ให้โอกาสโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทได้ก่อนบุคคลอื่นตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา237ข้อเท็จจริงตามที่โจทก์บรรยายมาในคำฟ้องจึงยังไม่อาจเพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองได้
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ ทำ สัญญาเช่า ที่ดิน โฉนด เลขที่ 30507 จากจำเลย ที่ 1 เพื่อ ทำสวน โดย มี ข้อ สัญญา ว่า เมื่อ จำเลย ที่ 1 ประสงค์จะขาย ที่ดิน ที่ โจทก์ เช่า ต้อง บอก โจทก์ ก่อน เพื่อ โจทก์ จะ ได้ มี โอกาสซื้อ เมื่อ เห็นว่า เป็น ราคา สมควร แต่ ใน ระหว่าง สัญญาเช่า จำเลย ที่ 1ได้ นำ ที่ดิน ดังกล่าว ไป ขาย ให้ แก่ จำเลย ที่ 2 ใน ราคา 500,000 บาทโดย มิได้ แจ้ง ให้ โจทก์ ทราบ ล่วงหน้า อันเป็น การ ผิดสัญญา ดังกล่าวขอให้ มี คำสั่ง เพิกถอน การ จดทะเบียน สัญญา ขาย ที่ดิน ฉบับ ลงวันที่ 30มิถุนายน 2531 ระหว่าง จำเลย ที่ 1 ผู้ขาย กับ จำเลย ที่ 2 ผู้ซื้อและ บังคับ ให้ จำเลย ทั้ง สอง จดทะเบียน ขาย ที่ดิน ดังกล่าว ให้ แก่ โจทก์ตาม ที่ มี ราคา ปรากฏ ใน หนังสือ สัญญา ขาย ที่ดิน ฉบับที่ จดทะเบียน ที่สำนักงาน ที่ดิน หาก ไม่ปฏิบัติ ตาม ขอ ถือเอา คำพิพากษา ของ ศาล เป็น คำสั่งให้ เจ้าพนักงาน ที่ดิน โอน ที่ดิน โฉนด เลขที่ ดังกล่าว ให้ แก่ โจทก์
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ มี ใจความ รวมกัน ว่า จำเลย ที่ 1 ไม่เคย ทำสัญญา ให้ โจทก์ เช่า ที่ดินพิพาท สัญญาเช่า ดังกล่าว เป็น เอกสารปลอมการ ซื้อ ขาย ที่ดินพิพาท ระหว่าง จำเลย ที่ 1 กับ จำเลย ที่ 2 โจทก์ เป็นนายหน้า ชักนำ จำเลย ที่ 2 มา ซื้อ ที่ดินพิพาท เอง จำเลย ที่ 2 จึง ซื้อไว้ โดยสุจริต ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237บัญญัติ ว่า เจ้าหนี้ ชอบ ที่ จะ ร้องขอ ให้ ศาล เพิกถอน เสีย ได้ ซึ่งนิติกรรม ใด ๆ อัน ลูกหนี้ ได้ กระทำ ลง ทั้ง รู้ อยู่ ว่า จะ เป็น ทาง ให้เจ้าหนี้ เสียเปรียบ แต่ ความ ข้อ นี้ ท่าน มิให้ ใช้ บังคับ ถ้า ปรากฏว่าใน ขณะที่ ทำนิติกรรม นั้น บุคคล ซึ่ง เป็น ผู้ ได้ ลาภ งอก แต่ การ นั้นมิได้ รู้ เท่า ถึง ข้อความ จริง อันเป็น ทาง ให้ เจ้าหนี้ ต้อง เสียเปรียบนั้น ด้วย ฯลฯ โจทก์ บรรยายฟ้อง ว่า โจทก์ ทำ สัญญาเช่า ที่ดินพิพาทจาก จำเลย ที่ 1 เพื่อ ทำสวน โดย มี ข้อ สัญญา ว่า เมื่อ จำเลย ที่ 1ประสงค์ จะขาย ที่ดินพิพาท จำเลย ที่ 1 ต้อง บอก โจทก์ ก่อน เพื่อ โจทก์จะ ได้ มี โอกาส ซื้อ เมื่อ เห็นว่า เป็น ราคา สมควร แต่ ใน ระหว่าง สัญญาเช่าจำเลย ที่ 1 นำ ที่ดินพิพาท ไป ขาย ให้ แก่ จำเลย ที่ 2 ใน การ ทำ สัญญา ขายที่ดินพิพาท จำเลย ที่ 1 และ จำเลย ที่ 2 ได้ ร่วมกัน หลอกลวง แจ้งข้อความ อันเป็นเท็จ แก่ เจ้าพนักงาน ที่ดิน ว่า ไม่มี สิ่งปลูกสร้างใน ที่ดิน ไม่มี ค้างชำระ ภาษี ไม่มี ผู้เช่า เป็นเหตุ ให้ เจ้าพนักงานที่ดิน รับ จดทะเบียน โอน ที่ดินพิพาท ให้ แก่ จำเลย ที่ 2 โดย จำเลย ที่ 1มิได้ แจ้ง ให้ โจทก์ ทราบ ล่วงหน้า อันเป็น การ ผิดสัญญา โจทก์ ไม่มี โอกาสซื้อ ที่ดินพิพาท จาก จำเลย ที่ 1 โจทก์ ได้รับ ความเสียหาย ขอให้ ศาลมี คำสั่ง เพิกถอน การ จดทะเบียน สัญญา ขาย ที่ดินพิพาท ระหว่าง จำเลย ที่ 1กับ จำเลย ที่ 2 แต่ โจทก์ มิได้ บรรยายฟ้อง ให้ ปรากฏว่า ขณะที่ ทำนิติกรรมซื้อ ขาย ที่ดินพิพาท ระหว่าง จำเลย ที่ 1 กับ จำเลย ที่ 2 นั้น จำเลย ที่ 2ได้ รู้ อยู่ ก่อน แล้ว ว่า มี ข้อตกลง ระหว่าง จำเลย ที่ 1 กับ โจทก์ ที่ ให้โอกาส โจทก์ ซื้อ ที่ดินพิพาท ได้ ก่อน บุคคลอื่น และ จำเลย ที่ 2 รู้ ถึงข้อตกลง ดังกล่าว ด้วย ดังนี้ ข้อเท็จจริง ตาม ที่ โจทก์ บรรยาย มา ใน คำฟ้องยัง ไม่อาจ เพิกถอน การ โอน ที่ดินพิพาท ระหว่าง จำเลย ทั้ง สองตาม คำขอบังคับ ของ โจทก์ ได้ ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง พิพากษายก ฟ้องโจทก์มา นั้น ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ใน ผล ฎีกา โจทก์ ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน