แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
จำเลยทั้งสองทำบันทึกข้อตกลงแบ่งมรดกให้แก่โจทก์ที่1และรับว่าครอบครองที่พิพาทแทนทายาทอื่นด้วยดังนี้จำเลยทั้งสองจะยกอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1754ขึ้นต่อสู้ทายาทไม่ได้ บุคคลที่จะถูกกำจัดมิให้รับมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1605นั้นมุ่งเฉพาะแต่ทายาทของเจ้ามรดกขณะที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายเท่านั้น ล.มีทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกคือโจทก์ที่2จ. และ ม. เพียง3คนจำเลยทั้งสองเป็นภรรยาและบุตรของ จ. เป็นเพียง ผู้สืบสิทธิของ จ.คือรับมรดกในส่วนของ จ. เท่านั้น(จ.ตามหลัง ล.)ถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นทายาทอันจะถูกกำจัดมิให้รับมรดกของ ล. ทายาททั้งสามมีสิทธิได้รับมรดกเท่ากันคือคนละ1441/3ตารางวาโจทก์ที่2จึงไม่มีสิทธิขอแบ่งที่พิพาทจำนวน1661/2ตารางวาอันเกินไปจากสิทธิที่โจทก์ที่2จะได้รับ
ย่อยาว
โจทก์ ทั้ง สอง ฟ้อง ว่า โจทก์ ที่ 1 เป็น ทายาท ผู้รับมรดก แทนที่ใน ส่วน ของ นาย เมิน ประเสริฐ บิดา ผู้ซึ่ง ได้ ถึงแก่ความตาย ไป แล้ว เมื่อ วันที่ 8 สิงหาคม 2522 นาย เมิน จ่าสิบตำรวจ เจริญ ประเสริฐ และ โจทก์ ที่ 2 เป็น ทายาท ของ นาง หลง ประเสริฐ เจ้ามรดก ซึ่ง ถึงแก่ความตาย เมื่อ วันที่ 5 มกราคม 2500 จ่าสิบตำรวจ เจริญ ถึงแก่ความตาย ไป แล้ว นาง หลง มี ทรัพย์มรดก คือ ที่ดิน เนื้อที่ 1 ไร่ 33 ตารางวา จำเลย ที่ 1 เป็น ภรรยา ของ จ่าสิบตำรวจ เจริญ และ เป็น ทายาท ผู้รับมรดก ที่ ยัง ไม่ได้ แบ่ง ใน ส่วน ของ จ่าสิบตำรวจ เจริญ และ เป็น ผู้ครอบครอง ทรัพย์มรดก ของ นาง หลง ไว้ แทน ทายาท ของ นาง หลง เจ้ามรดก ทุกคน จำเลย ที่ 2 เป็น บุตร ของ จำเลย ที่ 1กับ จ่าสิบตำรวจ เจริญ จำเลย ทั้ง สอง ใช้ อุบาย เบียดบัง ยักยอก และ ยักย้าย เอา ทรัพย์มรดก ที่ เป็น ส่วน ของ ทายาท อื่น ๆ ไป เป็น ของจำเลย ทั้ง สอง ต่อมา โจทก์ มี หนังสือ ขอให้ สำนักงาน ที่ดิน จังหวัดปทุมธานี ระงับ การ ทำนิติกรรม ใด ๆ ใน โฉนด ที่ดิน ดังกล่าว หลังจาก นั้นจำเลย ทั้ง สอง ทำ บันทึก ข้อตกลง ว่า ที่ดิน ซึ่ง เป็น ทรัพย์มรดก ของนาง หลง นั้น จำเลย ทั้ง สอง ได้ ครอบครอง ไว้ แทน ทายาท ทั้งหมด และ ยินยอม ที่ จะ แบ่ง ที่ดิน ดังกล่าว ให้ แก่ โจทก์ ที่ 1 ทายาท ผู้รับมรดกแทนที่ นาย เมิน 100 ตารางวา และ จะ ใส่ ชื่อ โจทก์ ที่ 1 และ แบ่ง ส่วน ให้ แก่ ทายาท อื่น ๆ ต่อไป ตาม กฎหมาย โจทก์ ทั้ง สอง ได้ นัด ให้ จำเลยทั้ง สอง แบ่ง ที่ดิน ให้ แก่ ทายาท อื่น ๆ หลาย ครั้ง แต่ จำเลย ทั้ง สองบ่ายเบี่ยง ตลอดมา ขอ บังคับ ให้ เพิกถอน ชื่อ จำเลย ที่ 2 ออกจาก การ เป็นเจ้าของ กรรมสิทธิ์รวม ใน โฉนด ที่ดิน เลขที่ 15066 ตำบล บ้านฉาง (บางหลวงฝั่งเหนือ) อำเภอ เมือง ปทุมธานี (เชียงราก) จังหวัด ปทุมธานี ให้ จำเลย ที่ 1 หรือ จำเลย ทั้ง สอง แบ่ง ทรัพย์มรดกที่ดิน ตาม โฉนด ดังกล่าว ให้ แก่ โจทก์ ที่ 1 จำนวน 100 ตารางวาตาม สัญญา บันทึก ข้อตกลง แบ่ง ที่ดิน มรดก ฉบับ ลงวันที่ 12 มีนาคม 2533และ แบ่ง ทรัพย์มรดก ที่ดิน ตาม โฉนด ดังกล่าว ให้ แก่ โจทก์ ที่ 2 ครึ่ง หนึ่งของ ส่วน ที่ เหลือ จาก การ แบ่ง ให้ โจทก์ ที่ 1 แล้ว และ ขอให้ศาล สั่ง กำจัด มิให้ จำเลย ที่ 1 มีสิทธิ ได้รับ มรดก ของ นาง หลง เจ้ามรดก หาก จำเลย ทั้ง สอง ไม่ปฏิบัติ ตาม ให้ ถือเอา คำพิพากษา เป็น การแสดงเจตนา ของ จำเลย ทั้ง สอง
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ว่า โจทก์ ที่ 1 ไม่ใช่ ทายาท ผู้รับมรดกแทนที่ ของ นาย เมิน ประเสริฐ บุตรชาย คน ที่ 2 ของ นาง หลง ประเสริฐ จึง ไม่มี อำนาจฟ้อง เรียก ทรัพย์มรดก และ จำเลย ทั้ง สอง ได้ ทำ หนังสือบอกเลิก ข้อตกลง แบ่ง ที่ดิน ไป ยัง โจทก์ ที่ 1 แล้ว เนื่องจาก จำเลยทั้ง สอง หลงผิด คิดว่า โจทก์ ที่ 1 มีสิทธิ ที่ จะ ได้รับ มรดก ของ นาง หลง โจทก์ ที่ 2 ก็ ไม่มี อำนาจฟ้อง เพราะ ว่า ที่ดินพิพาท เป็น กรรมสิทธิ์ของ จำเลย ทั้ง สอง ไม่ใช่ เป็น มรดก ของ นาง หลง จำเลย ที่ 1ก็ ไม่ได้ ครอบครอง ที่ดินพิพาท แทน ทายาท ทั้งหมด ของ นาง หลง โจทก์ ทั้ง สอง ฟ้องคดี นี้ เกิน กำหนด 1 ปี นับแต่ นาง หลง ถึงแก่ความตาย ฟ้อง ของ โจทก์ ทั้ง สอง จึง ขาดอายุความ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษายก ฟ้องโจทก์ ทั้ง สองค่าฤชาธรรมเนียม ให้ เป็น พับ
โจทก์ ทั้ง สอง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน ค่า ทนายความ ชั้นอุทธรณ์ ให้ เป็น พับ
ระหว่าง พิจารณา โจทก์ ที่ 2 ถึงแก่ความตาย นาย ดาบตำรวจ สุพจน์ ประเสริฐ ซึ่ง เป็น ทายาท ของ โจทก์ ที่ 2 ยื่น คำร้องขอ เข้า เป็น คู่ความ แทน ศาลชั้นต้น อนุญาต
โจทก์ ทั้ง สอง ฎีกา
ศาลฎีกา ฟัง ข้อเท็จจริง ว่า นาง หลง ประเสริฐ มี บุตร 3 คน คือ จ่าสิบตำรวจ เจริญ ประเสริฐ ซึ่ง เป็น สามี นาง เฉลิม (จำเลย ที่ 1) นาย เมิน ประเสริฐ ซึ่ง เป็น บิดา นาย ดาบตำรวจ สุพจน์ ประเสริฐ (โจทก์ ที่ 1) และ โจทก์ ที่ 2 วันที่ 5 มกราคม 2500 นาง หลง ถึงแก่ความตาย ต่อมา เดือน มกราคม 2522จ่าสิบตำรวจ เจริญ ถึงแก่ความตาย ครั้น วันที่ 8 สิงหาคม 2522นาย เมิน ถึงแก่ความตาย จำเลย ทั้ง สอง ได้ ทำ บันทึก ข้อตกลง แบ่ง มรดก ตาม เอกสาร หมาย จ. 6 แล้ว วินิจฉัย ว่า เมื่อ จำเลย ทั้ง สอง ทำ บันทึกข้อตกลง แบ่ง มรดก ให้ แก่ โจทก์ ที่ 1 และ รับ ว่า ครอบครอง ที่พิพาทแทน ทายาท อื่น ด้วย ดังนี้ จำเลย ทั้ง สอง ก็ ยก อายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ขึ้น ต่อสู้ ทายาท ไม่ได้ส่วน ปัญหา ที่ ว่า จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ฉ้อฉล ทรัพย์มรดก หรือไม่ ซึ่ง เป็นปัญหา ที่ จะ นำ ไป สู่ การ วินิจฉัย ปัญหา ตาม คำขอ ท้ายฟ้อง ของ โจทก์ คือการ กำจัด มิให้ รับมรดก นั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1605บัญญัติ ว่า “ทายาท คนใด ยักย้าย หรือ ปิดบัง ทรัพย์มรดก เท่า ส่วน ที่ ตนจะ ได้ หรือ มาก กว่า นั้น โดย ฉ้อฉล หรือ รู้ อยู่ ว่า ตน ทำให้ เสื่อม ประโยชน์ของ ทายาท คนอื่น ทายาท คน นั้น ต้อง ถูก กำจัด มิให้ รับมรดก เลย ” เห็นว่าบุคคล ที่ จะ ถูก กำจัด มิให้ รับมรดก ตาม บท กฎหมาย ดังกล่าว มุ่ง เฉพาะแต่ ทายาท ของ เจ้ามรดก ขณะที่ เจ้ามรดก ถึงแก่ความตาย เท่านั้นข้อเท็จจริง ได้ความ ว่า ขณะที่ นาง หลง ถึงแก่ความตาย มี ทายาท ผู้ มีสิทธิ รับมรดก เพียง 3 คน คือ โจทก์ ที่ 2 จ่าสิบตำรวจ เจริญ และ นาย เมิน เพียง 3 คน จำเลย ทั้ง สอง เป็น ภรรยา และ บุตร นาย เจริญ แม้ ว่า จะ มีสิทธิ ใน ทรัพย์มรดก ของ นาง หลง ก็ เพียงแต่ ใน ฐานะ ผู้สืบสิทธิ ของ จ่าสิบตำรวจ เจริญ คือ รับมรดก ใน ส่วน ของ จ่าสิบตำรวจ เจริญ เท่านั้น จึง ถือไม่ได้ว่า จำเลย ทั้ง สอง เป็น ทายาท อัน จะ ถูก กำจัด ไม่ให้ รับมรดก ของ นาง หลง ได้ ดังนั้น ปัญหา ที่ ว่า จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ฉ้อฉล ทรัพย์มรดก หรือไม่ จึง ไม่จำต้อง วินิจฉัยเพราะ ไม่ทำ ให้ ผล แห่ง คดี เปลี่ยนแปลง แต่ ที่ โจทก์ ที่ 2 ขอ บังคับให้ จำเลย ทั้ง สอง แบ่ง ที่พิพาท ซึ่ง มี เนื้อที่ จำนวน 1 ไร่ 33 ตารางวาให้ แก่ โจทก์ ที่ 2 จำนวน กึ่งหนึ่ง หลังจาก ที่ แบ่ง ให้ แก่ โจทก์ ที่ 1จำนวน 100 ตารางวา แล้ว เท่ากับ ขอ แบ่ง ที่พิพาท จำนวน166 1/2 ตารางวา นั้น เห็นว่า ที่พิพาท เป็น ทรัพย์มรดก ของ นาง หลง ขณะที่ นาง หลง ถึงแก่ความตาย มี ทายาท 3 คน คือ โจทก์ ที่ 2จ่าสิบตำรวจ เจริญและนายเมิน ดังนั้น ทายาท ทั้ง สาม จึง มีสิทธิ ได้รับ มรดก คน ละ เท่ากัน คือ คน ละ จำนวน 144 1/3 ตารางวา โจทก์ ที่ 2จึง ไม่มี สิทธิ ขอ แบ่ง ที่พิพาท จำนวน 166 1/2 ตารางวา เพราะ เกิน ไปจาก สิทธิ ที่ โจทก์ ที่ 2 จะ ได้รับ ศาลล่าง ทั้ง สอง พิพากษายก ฟ้อง มา นั้นไม่ต้อง ด้วย ความเห็น ของ ศาลฎีกา ฎีกา โจทก์ ทั้ง สอง ฟังขึ้น บางส่วน
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ทั้ง สอง แบ่ง ที่พิพาท ตาม โฉนดที่ดิน เลขที่ 15066 ตำบล บ้านฉาง (บางหลวงฝั่งเหนือ) อำเภอ เมือง ปทุมธานี (เชียงราก) จังหวัด ปทุมธานี ให้ แก่ โจทก์ ที่ 1จำนวน 100 ตารางวา ให้ แก่ โจทก์ ที่ 2 จำนวน 144 1/3 ตารางวานอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์