คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2630/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ศาลมีคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความว่าจำเลยยอมจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์บ้านพิพาท(ทาวน์เฮ้าส์)จำนวน2ห้องในสภาพที่ดีพร้อมที่ดินให้โจทก์ภายในเวลาที่กำหนดหากผิดนัดยอมชดใช้ค่าเสียหายจำเลยได้โอนบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ตามกำหนดแต่บ้านหลังหนึ่งยังไม่มีฝ้าเพดานห้องน้ำและทั้งสองหลังไม่อาจใช้ไฟฟ้าได้เพราะยังไม่ได้ติดตั้งมิเตอร์เป็นหน้าที่ของจำเลยที่ต้องจัดการให้เรียบร้อยสมบูรณ์ก่อนส่งมอบจำเลยมีเวลาเกือบ5เดือนในการปฏิบัติตามสัญญาแต่หาได้ตรวจสอบดูแลสภาพของบ้านพิพาทก่อนว่ามีสิ่งใดขาดตกบกพร่องหรือไม่สมบูรณ์เพื่อจะปรับปรุงแก้ไขให้อยู่ในสภาพที่ดีก่อนโอนกรรมสิทธิ์ส่งมอบไม่แสดงว่าไม่นำพาจะปฏิบัติตามสัญญาให้ครบถ้วนและมิใช่ข้อบกพร่องเล็กน้อยหรืออยู่นอกเหนือสัญญาประนีประนอมยอมความจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาและต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์

ย่อยาว

คดี สืบเนื่อง มาจาก โจทก์ ฟ้อง ขอให้ บังคับ จำเลย จดทะเบียนโอน กรรมสิทธิ์ บ้าน (ทาวน์เฮ้าส์ ) จำนวน 2 หลัง พร้อม ที่ดิน ให้ แก่โจทก์ ตาม สัญญาจะซื้อจะขาย แล้ว โจทก์ จำเลย ตกลง ทำ สัญญา ประนีประนอมยอมความ กัน โดย จำเลย จะ ไป จดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ และ ส่งมอบ บ้าน พิพาท(ทาวน์เฮ้าส์ ) จำนวน 2 หลัง ใน สภาพ ดี พร้อม ที่ดิน ให้ โจทก์ ภายใน เวลาที่ กำหนด หาก ผิดนัด ยอม ชดใช้ ค่าเสียหาย ให้ โจทก์ 300,000 บาทศาลชั้นต้น พิพากษา ตาม สัญญา ประนีประนอม ยอมความ นั้น แล้ว ต่อมาโจทก์ ยื่น คำร้อง ว่า จำเลย ไป จดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ และ ส่งมอบบ้าน พิพาท (ทา วน์เฮาส์) ให้ โจทก์ แล้ว โจทก์ เข้า ไป ตรวจ ดู พบ ว่าบ้าน พิพาท (ทา วน์เฮาส์) ทั้ง สอง หลัง ไม่มี ไฟฟ้า ใช้ และ หลัง หนึ่ง ไม่มีฝ้าเพดาน ห้องน้ำ โจทก์ ถือว่า จำเลย ผิดสัญญา ประนีประนอม ยอมความ ไม่ส่งมอบ ทรัพย์พิพาท ใน สภาพ ที่ ดี ขอให้ ศาล ออกคำบังคับ จำเลย ชำระค่าเสียหาย จำนวน 300,000 บาท แก่ โจทก์ ตาม สัญญา ประนีประนอม ยอมความ
ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ให้ยก คำร้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ข้อเท็จจริง ฟัง เป็น ยุติ ได้ว่า โจทก์ จำเลยทำ สัญญา ประนีประนอม ยอมความ กัน ข้อ (1) มี ใจความ ว่า จำเลย ยอมจดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ บ้าน พิพาท (ทา วน์เฮาส์) จำนวน 2 ห้องใน สภาพ ที่ ดี พร้อม ที่ดิน ให้ โจทก์ ภายใน เวลา ที่ กำหนด และ ศาลชั้นต้นพิพากษา ตาม สัญญา ประนีประนอม ยอมความ นั้น แล้ว จำเลย ได้ โอน บ้าน พิพาทให้ แก่ โจทก์ ตาม กำหนด แต่ บ้าน หลัง หนึ่ง ยัง ไม่มี ฝ้าเพดาน ห้องน้ำและ ทั้ง สอง หลัง ไม่อาจ จะ ใช้ ไฟฟ้า ได้ เพราะ ยัง ไม่ได้ ติด ตั้ง มิเตอร์มี ปัญหา ที่ จะ ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ โจทก์ ว่าการ ที่ จำเลย ส่งมอบบ้าน พิพาท แก่ โจทก์ ใน สภาพ ดังกล่าว เป็น การ ส่งมอบ บ้าน ใน สภาพ ดีตาม สัญญา ประนีประนอม ยอมความ แล้ว หรือไม่ เห็นว่า บ้าน พิพาท เป็นทา วน์เฮาส์มี สภาพ เป็น ที่อยู่อาศัย ฉะนั้น บ้าน ที่ มี สภาพ ดี จะ ต้องมี สภาพ ที่ สามารถ เข้า อยู่อาศัย เป็น ปกติ สุข ได้ ตาม สมควร เช่น บุคคลอื่น ๆใน ละแวก นั้น อาศัย อยู่ ไฟฟ้า เป็น สาธารณูปโภค ประเภท ที่ มี ความจำเป็นสำหรับ ความ เป็น อยู่ ใน ปัจจุบัน แม้ ข้อเท็จจริง จะ ไม่ปรากฏ ชัดเจน ว่าบ้าน พิพาท ทั้ง สอง หลัง ดังกล่าว เคย มี ไฟฟ้า ใช้ มา แล้ว แต่ ถูก ตัด ไฟและ ถอด เอา มิเตอร์ ออก ไป เพราะ มี การค้า งจ่าย ค่า ไฟฟ้า หรือ ยัง ไม่เคยมี ไฟฟ้า ติด ตั้ง มิเตอร์ มา ก่อน ก็ ตาม ก็ เป็น หน้าที่ ของ จำเลย ตามสัญญา ประนีประนอม ยอมความ ที่ จะ ต้อง จัดการ เกี่ยวกับ เรื่อง นี้ ให้เรียบร้อย สมบูรณ์ ก่อน ส่งมอบ โจทก์ จำเลย ทำ สัญญา ประนีประนอม ยอมความกัน และ ศาล พิพากษา ตามยอม เมื่อ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2533 โดย กำหนด เวลาที่ จะ ปฏิบัติ ตาม สัญญา ต่อ กัน ใน วันที่ 15 เมษายน 2534 เป็น เวลาเกือบ 5 เดือน ใน ระยะเวลา ดังกล่าว จำเลย จะ ต้อง ตรวจสอบ ดูแล สภาพของ บ้าน พิพาท เสีย ก่อน ว่า มี สิ่ง ใด ขาดตกบกพร่อง หรือไม่ สมบูรณ์เพื่อ ที่ จะ ปรับปรุง แก้ไข ให้ อยู่ ใน สภาพ ที่ ดี ก่อน ที่ จะ โอน กรรมสิทธิ์ส่งมอบ ให้ แก่ โจทก์ ตาม สัญญา แต่ จำเลย ก็ ได้ ปล่อยปละละเลย หา ได้ทำการ ตรวจสอบ ไม่ แสดง ให้ เห็น อย่าง ชัดแจ้ง ว่า จำเลย ไม่นำ พา ที่จะ ปฏิบัติ ตาม สัญญา ให้ ครบถ้วน เช่นนี้ ถือไม่ได้ว่า จำเลย ได้โอน กรรมสิทธิ์ บ้าน พิพาท ทั้ง สอง ห้อง ให้ แก่ โจทก์ ใน สภาพ ที่ ดี แล้วและ มิใช่ เป็น เพียง ข้อ บกพร่อง เล็กน้อย หรือ เป็น ข้อ บกพร่อง ที่อยู่ นอกเหนือ สัญญา ประนีประนอม ยอมความ ดัง ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง วินิจฉัยจำเลย จึง เป็น ฝ่าย ผิดสัญญา ประนีประนอม ยอมความ จะ ต้อง ชดใช้ ค่าเสียหายแก่ โจทก์ ตาม สัญญา ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง พิพากษา มา นั้น ศาลฎีกาไม่เห็น พ้อง ด้วย ฎีกา โจทก์ ฟังขึ้น ”
พิพากษากลับ ให้ ศาลชั้นต้น ออกคำบังคับ ให้ จำเลย ชำระ ค่าเสียหายจำนวน 300,000 บาท แก่ โจทก์

Share