แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำสัญญากู้เงินไปจากโจทก์แต่โจทก์นำสืบว่าเดิมภริยาของจำเลยกู้เงินโจทก์ไปต่อมาจำเลยยอมทำสัญญากู้พิพาทให้โจทก์เป็นการนำสืบถึงมูลหนี้เดิมซึ่งเป็นรายละเอียดโจทก์ไม่จำเป็นต้องบรรยายในฟ้องก็ได้การที่ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระเงินให้โจทก์ก็ไม่เป็นการเกินคำขอท้ายฟ้อง จำเลยฎีกาว่ามีการนำดอกเบี้ยผิดกฎหมายรวมในสัญญากู้เป็นปัญหาข้อกฎหมายแต่การวินิจฉัยต้องอาศัยข้อเท็จจริงซึ่งศาลล่างฟังเป็นยุติแล้วว่าโจทก์เป็นหนี้โจทก์ตามสัญญากู้พิพาทเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่ฎีกาจึงมีผลเป็นอย่างเดียวกับการฎีกาในข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคแรก
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า เมื่อ วันที่ 23 มิถุนายน 2530 จำเลย ที่ 1ได้ ทำ สัญญากู้ และ รับ เงินกู้ ไป จาก โจทก์ จำนวน 51,000 บาท ตกลง ให้ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 15 ต่อ ปี ชำระ เงิน คืน ใน วันที่ 25 มีนาคม 2533โดย มี จำเลย ที่ 2 ทำ สัญญาค้ำประกัน ครบ กำหนด แล้ว จำเลย ที่ 1 ไม่ชำระขอ บังคับ ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน หรือ แทน กัน ชำระ เงิน ให้ โจทก์ 67,337บาท พร้อม ดอกเบี้ย
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ว่า เมื่อ ประมาณ ปี 2530 จำเลย ที่ 1กู้เงิน โจทก์ 20,000 บาท ได้ ลงชื่อ ใน ช่อง ผู้กู้ ใน สัญญากู้ และ จำเลยที่ 2 ลงชื่อ ใน สัญญาค้ำประกัน โดย ไม่ได้ กรอก ข้อความ หลังจาก กู้ แล้วจำเลย ที่ 1 ได้ ชำระ เงิน ให้ โจทก์ รวมทั้งสิ้น 50,000 บาท ต่อมาเมื่อ ต้น ปี 2535 โจทก์ ให้ จำเลย ที่ 1 ชำระ เงิน อีก 20,000 บาทจำเลย ที่ 1 ไม่ชำระ โจทก์ จึง กรอก ข้อความ ใน แบบพิมพ์ สัญญากู้และ สัญญาค้ำประกัน โดย ไม่ได้ รับ ความ ยินยอม จาก จำเลย ทั้ง สอง แล้วนำ มา ฟ้อง สัญญากู้ และ สัญญาค้ำประกัน จึง เป็น สัญญา ปลอม ใช้ บังคับจำเลย ทั้ง สอง ไม่ได้ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 1 ชำระ เงิน จำนวน 67,337 บาทพร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 15 ต่อ ปี นับ ถัด จาก วันฟ้อง (31 มีนาคม2535) จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์ หาก จำเลย ที่ 1 ไม่ชำระ ให้ จำเลยที่ 2 ชำระ แทน
จำเลย ทั้ง สอง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษายืน
จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “เห็นว่า คดี นี้ มี ทุนทรัพย์ ใน ชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท จึง ต้องห้าม ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง คดี ขึ้น มา สู่การ พิจารณา ของ ศาลฎีกา เฉพาะ ปัญหาข้อกฎหมาย ตาม ฎีกา ของ จำเลยทั้ง สอง ว่า การ ที่ โจทก์ บรรยายฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 กู้ยืม เงิน โจทก์เมื่อ วันที่ 30 มิถุนายน 2530 จำนวน 51,000 บาท และ รับ เงินไป ใน วัน ทำ สัญญา แล้ว แต่ จาก การ นำสืบ ของ โจทก์ กลับ ปรากฏว่า จำเลย ที่ 1ไม่ได้ รับ เงิน ไป ใน วัน ทำ สัญญา ข้อเท็จจริง ตาม ทางพิจารณา จึง ต่าง กับที่ โจทก์ ฟ้อง ศาล พิพากษา ให้ โจทก์ ชนะคดี เป็น การ พิพากษา เกินคำขอท้ายฟ้อง นั้น ใน การ วินิจฉัย ข้อกฎหมาย ดังกล่าว ศาลฎีกา จำต้อง ถือข้อเท็จจริง ตาม ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 ได้ วินิจฉัย จาก พยานหลักฐาน ในสำนวน ว่า เดิม ภริยา ของ จำเลย ที่ 1 เคย กู้ยืม เงิน โจทก์ ต่อมา โจทก์กับ จำเลย ที่ 1 ได้ ทำ ความ ตกลง หนี้ ส่วน ที่ ภริยา ของ จำเลย ที่ 1 กู้ยืมเงิน โจทก์ ปรากฏว่า ภริยา ของ จำเลย ที่ 1 เป็น หนี้ โจทก์ ทั้ง เงินต้นและ ดอกเบี้ย รวมเป็น เงิน 51,000 บาท จำเลย ที่ 1 จึง ทำ สัญญากู้เอกสาร หมาย จ. 1 ให้ โจทก์ ไว้ เมื่อ วันที่ 30 มิถุนายน 2530 โดย จำเลยที่ 2 เข้า ทำ สัญญาค้ำประกัน เงินกู้ ดังกล่าว ตาม เอกสาร หมาย จ. 2เห็นว่า การ นำสืบ ของ โจทก์ ดังกล่าว เป็น การ นำสืบ ถึง มูลหนี้เดิม ก่อนที่ จะ นำ เอา มูลหนี้ นั้น มา ทำ เป็น สัญญากู้ ซึ่ง เป็น รายละเอียด โจทก์ไม่จำต้อง บรรยาย ถึง มูลหนี้เดิม มา ใน ฟ้อง ก็ ได้ การ นำสืบ ของ โจทก์ดังกล่าว จึง ไม่เป็น การ นำสืบ แตกต่าง หรือ ขัดแย้ง กับ คำฟ้อง ที่ ศาลล่างทั้ง สอง พิพากษา จึง ไม่เกินคำขอ ท้ายฟ้อง ดัง ที่ จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา
ที่ จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา ว่า สัญญากู้ ตาม เอกสาร หมาย จ. 1 เป็นโมฆะ เพราะ นำ เอา ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 4 ต่อ เดือน ซึ่ง ผิด กฎหมายกับ นำ ดอกเบี้ย เกิน 5 ปี มา รวมกับ เงินต้น เป็น การ คิด ดอกเบี้ย ทบต้นนั้น เห็นว่า ที่ จำเลย ฎีกา มา นั้น แม้ จะ เป็น ปัญหาข้อกฎหมาย แต่ การวินิจฉัย ย่อม จะ ต้อง อาศัย ข้อเท็จจริง เพื่อ วินิจฉัย ปัญหาข้อกฎหมายการ เถียง ข้อเท็จจริง ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง ฟัง เป็น ยุติ แล้ว ว่า จำเลย ที่ 1เป็น หนี้ โจทก์ ตาม สัญญากู้ เอกสาร หมาย จ. 1 เพื่อ นำ ไป สู่ ข้อ วินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย ตาม ฎีกา ของ จำเลย ทั้ง สอง จึง มีผล เป็น อย่างเดียว กับการ ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง ซึ่ง ต้องห้าม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับ วินิจฉัย ศาลล่าง ทั้ง สอง พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สอง แพ้ คดี ชอบแล้วฎีกา ของ จำเลย ทั้ง สอง ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน