แหล่งที่มา : สำนักงาน ส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
โจทก์ทั้งสองแต่งงานอยู่กินเป็นสามีภรรยากันตั้งแต่ก่อนประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5แม้มิได้จดทะเบียนสมรสก็เป็น สามีภรรยากัน โดยชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็น บิดามารดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายมีอำนาจฟ้องผู้ทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตายโดยละเมิดได้และแม้มิได้บรรยายฟ้องในคำฟ้องว่าเป็นบิดามารดาโดยชอบด้วยกฎหมายอย่างไรก็เป็นเรื่องรายละเอียดที่จะนำสืบได้ในชั้นพิจารณาการนำสืบถึงสถานภาพการสมรสของโจทก์ทั้งสองจึงมิใช่เป็นการนำสืบนอกคำฟ้อง โจทก์ทั้งสองต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวของโจทก์แต่ละคนฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดฐานละเมิดแม้จะฟ้องรวมกันมาในคำฟ้องเดียวกันก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกันโจทก์ทั้งสองเรียกค่าเสียหายมาคนละ205,000บาทศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองคนรวม240,000บาทถือได้ว่าทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์และฎีกาของโจทก์แต่ละคนคือคนละ120,000บาทต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคแรก
ย่อยาว
โจทก์ ทั้ง สอง ฟ้อง ว่า โจทก์ ทั้ง สอง เป็น บิดา มารดา ของ เรือโท หญิง จิรภา กาญจนวิสุทธิ์ ผู้ตาย จำเลย ที่ 1 เป็น นิติบุคคล ประเภท ห้างหุ้นส่วนจำกัด มี จำเลย ที่ 2 เป็น หุ้นส่วน ผู้จัดการ จำเลย ที่ 2เป็น เจ้าของ และ เป็น ผู้ครอบครอง รถยนต์บรรทุก หมายเลข ทะเบียน81-4544 นครปฐม เมื่อ วันที่ 11 มกราคม 2532 จำเลย ทั้ง สองใช้ นาย มโนรมย์ แพรทอง ลูกจ้าง ขับ รถยนต์ คัน ดังกล่าว บรรทุก ข้าวสาร ไป ส่ง ที่ โกดัง ใน เขต บางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร มี นาย ศรีแพร ขำเหลือ ลูกจ้าง อีก คนหนึ่ง ติด รถ ไป ด้วย เพื่อ ทำ หน้าที่ แบก กระสอบ ข้าวสาร เมื่อ นาย มโนรมย์ นำ ข้าวสาร ไป ส่ง เรียบร้อย แล้ว ระหว่าง ทาง ขา กลับ นาย มโนรมย์ ได้ ขับ รถ ไป ส่ง นาย ศรีแพร ที่ ซอย ข้าง ถนน พุทธมณฑลสาย 5 ใกล้ สะพาน คลอง ยายสา ตำบลบางระทึก อำเภอ สามพราน จังหวัด นครปฐม ขณะที่ นาย มโนรมย์ ขับ รถ ถอยหลัง ออกจาก ซอย เพื่อ ขึ้น ถนน พุทธมณฑลสาย 5 นาย มโนรมย์ ไม่ได้ ใช้ ความระมัดระวัง และ ถอย รถ ออก ไป จน เลย เส้น กึ่งกลาง ถนนประมาณ 1 เมตร เป็น เวลา เดียว กับ ที่ เรือโท หญิง จิรภา ขับ รถยนต์ หมายเลข ทะเบียน ก-0232 สมุทรสาคร ผ่าน มา เป็นเหตุ ให้ เรือโท หญิง จิรภา ไม่อาจ ขับ รถ หลบ ได้ ทัน จึง เกิด เฉี่ยว ชนกัน ขึ้น รถยนต์ ของ เรือโท หญิง จิรภา ได้รับ ความเสียหาย และ เรือโท หญิง จิรภา ถึงแก่ความตาย ทำให้ โจทก์ ทั้ง สอง ต้อง ขาดไร้อุปการะ ตาม กฎหมายจำเลย ทั้ง สอง ต้อง ใช้ ค่าสินไหมทดแทน เพื่อ การ นี้ ให้ แก่ โจทก์ ทั้ง สองคน ละ 1,500 บาท ต่อ เดือน คิด เป็น เวลา 10 ปี เป็น เงิน360,000 บาท และ เมื่อ โจทก์ ทั้ง สอง เจ็บป่วย ก็ ได้ อาศัย สิทธิ ของเรือโท หญิง จิรภา เบิกเงิน ค่ารักษาพยาบาล จาก หน่วยงาน ราชการ คิด เป็น เงิน ค่ารักษาพยาบาล เฉลี่ย ปี ละ 5,000 บาท เป็น ระยะเวลา10 ปี เป็น เงิน 50,000 บาท รวมเป็น ค่าเสียหาย ทั้งสิ้น 410,000 บาทโจทก์ ทั้ง สอง บอกกล่าว ทวงถาม แล้ว แต่ จำเลย ทั้ง สอง เพิกเฉย ขอให้บังคับ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ชำระ เงิน จำนวน 410,000 บาท แก่ โจทก์ทั้ง สอง พร้อม ดอกเบี้ย ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี ของ ต้นเงิน ดังกล่าวนับแต่ วัน ทำละเมิด จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ว่า โจทก์ ทั้ง สอง มิได้ เป็น สามี ภรรยา กันโดยชอบ ด้วย กฎหมาย และ ฟ้อง ของ โจทก์ ทั้ง สอง เคลือบคลุม เนื่องจากมิได้ บรรยาย ว่า โจทก์ ทั้ง สอง อยู่ ใน ฐานะ สามี ภรรยา กัน โดยชอบ ด้วยกฎหมาย หรือไม่ ทั้ง ไม่มี พยานหลักฐาน แสดง การ เป็น สามี ภรรยา กัน ทำให้จำเลย ทั้ง สอง ไม่ทราบ ว่า โจทก์ ทั้ง สอง กับ เรือโท หญิง จิรภา จะ เป็น บิดา มารดา กับ บุตร ตาม กฎหมาย หรือไม่ อัน จะ ทำให้ โจทก์ ทั้ง สอง มีอำนาจฟ้อง ทำให้ จำเลย ทั้ง สอง เสียเปรียบ และ หลง ข้อต่อสู้ จำเลยทั้ง สอง มิใช่ เจ้าของ และ ผู้ครอบครอง รถยนต์บรรทุก หมายเลข ทะเบียน81-4544 นครปฐม นาย มโนรมย์ ไม่ได้ เป็น ลูกจ้าง ของ จำเลย ทั้ง สอง เหตุ ที่ เกิดขึ้น เป็น ความผิด ของ เรือโท หญิง จิรภา ซึ่ง ขับ รถ โดยประมาท ขณะ เมาสุรา จำเลย ทั้ง สอง มิใช่ ผู้ทำละเมิด จึง ไม่ต้องรับผิด ต่อ โจทก์ ทั้ง สอง จำเลย ที่ 2 ได้ ชดใช้ ค่าเสียหาย ให้ แก่พลตรี เทียนไชย กาญจนวิสุทธิ์ สามี ของ เรือโท หญิง จิรภา ไป แล้ว จำนวน 180,000 บาท โดย เข้าใจ ว่า เป็น การ ชดใช้ ให้ แก่ ผู้เสียหายทุกคน ซึ่ง เป็น จำนวน มาก พอสมควร แล้ว โจทก์ ทั้ง สอง มิได้ ขาดไร้อุปการะ อย่าง แท้จริง เพราะ โจทก์ ทั้ง สอง มี บุตร ซึ่ง สามารถ อุปการะเลี้ยงดู ได้ อีก หลาย คน โดย ไม่ เดือดร้อน ค่า อุปการะ เลี้ยงดู และ ค่ารักษาพยาบาล ที่ โจทก์ เรียกร้อง มา นั้น สูง เกิน ความ เป็น จริง ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ชำระ เงิน จำนวน 240,000บาท พร้อม ดอกเบี้ย ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วันที่ 11 มกราคม 2532จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์ ทั้ง สอง และ ให้ จำเลย ทั้ง สอง ใช้ค่าฤชาธรรมเนียม แทน โจทก์ ทั้ง สอง โดย กำหนด ค่า ทนายความ 4,000 บาทคำขอ อื่น นอกจาก นี้ ให้ยก
จำเลย ทั้ง สอง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “มี ประเด็น วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ จำเลย ทั้ง สองว่า โจทก์ ทั้ง สอง มีอำนาจ ฟ้อง และ ฟ้อง ของ โจทก์ เคลือบคลุม หรือไม่ข้อเท็จจริง ฟัง เป็น ยุติ ว่า โจทก์ ทั้ง สอง แต่งงาน อยู่กิน เป็น สามี ภรรยากัน ตั้งแต่ พ.ศ. 2476 ก่อน ประกาศ ใช้ บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พุทธศักราช 2477 และ เรือโท หญิง จิรภา ผู้ตาย เป็น บุตร ของ โจทก์ ทั้ง สอง เห็นว่า แม้ โจทก์ ทั้ง สอง มิได้จดทะเบียนสมรส ก็ เป็น สามี ภรรยา กัน โดยชอบ ด้วย กฎหมาย โจทก์ ทั้ง สองจึง เป็น บิดา มารดา โดยชอบ ด้วย กฎหมาย ของ ผู้ตาย จึง มีอำนาจ ฟ้องเมื่อ โจทก์ ทั้ง สอง เป็น บิดา มารดา ของ ผู้ตาย แม้ มิได้ บรรยาย ใน คำฟ้อง ว่าเป็น บิดา มารดา โดยชอบ ด้วย กฎหมาย อย่างไร ก็ เป็น เรื่อง รายละเอียดที่ จะ นำสืบ ได้ ใน ชั้นพิจารณา การ ที่ โจทก์ ทั้ง สอง นำสืบ ถึง สถานภาพการ สมรส ของ โจทก์ ทั้ง สอง จึง ไม่เป็น การ นำสืบ พยานหลักฐาน นอก คำฟ้องแต่อย่างใด และ การ ที่ โจทก์ บรรยายฟ้อง ว่า โจทก์ ทั้ง สอง เป็น บิดา มารดาผู้ตาย นาย มโนรมย์ แพรทอง ลูกจ้าง จำเลย ทั้ง สอง ขับ รถ โดยประมาท ชน รถ ผู้ตาย เป็นเหตุ ให้ ผู้ตาย ถึงแก่ความตาย ขอให้ บังคับ จำเลยทั้ง สอง ร่วมกัน ชำระ เงิน จำนวน 410,000 บาท ให้ แก่ โจทก์ ทั้ง สองเช่นนี้ จึง เป็น ฟ้อง ที่ แจ้งชัด ซึ่ง สภาพแห่งข้อหา ของ โจทก์ และ คำขอบังคับ ทั้ง ข้ออ้าง ที่อาศัย เป็น หลักแห่งข้อหา แล้ว จึง เป็น ฟ้องที่ สมบูรณ์ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสองศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ชอบแล้ว ฎีกา ของ จำเลย ทั้ง สอง ใน ประเด็น ดังกล่าวฟังไม่ขึ้น
จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา ประเด็น ต่อไป ว่า นาย มโนรมย์ ไม่ใช่ ลูกจ้าง ของ จำเลย ทั้ง สอง และ ไม่ได้ กระทำ ใน ทางการที่จ้าง นาย มโนรมย์ ไม่ได้ เป็น ฝ่าย ประมาท และ ศาลอุทธรณ์ กำหนด ค่าเสียหาย ให้ โจทก์ทั้ง สอง สูง เกิน ไป นั้น เห็นว่า คดี นี้ โจทก์ ทั้ง สอง ต่าง ใช้ สิทธิเฉพาะตัว ของ โจทก์ แต่ละ คน ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55 ฟ้อง จำเลย ทั้ง สอง ให้ รับผิด ฐาน ละเมิด มา ใน คำฟ้อง เดียว กันแต่ แม้ จะ ฟ้อง รวมกัน มา ก็ ต้อง ถือ ทุนทรัพย์ ของ โจทก์ แต่ละ คน แยก กันโดย โจทก์ ทั้ง สอง เรียก ค่าเสียหาย มา คน ละ 205,000 บาท เมื่อ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ใช้ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ ทั้ง สอง คน รวม 240,000 บาท ก็ ถือได้ว่า ทุนทรัพย์ใน ชั้นอุทธรณ์ และ ฎีกา ของ โจทก์ แต่ละ คน คือ คน ละ 120,000 บาท ดังนั้นการ ที่ จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา ขอให้ กลับ คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ เป็น พิพากษายกฟ้อง โจทก์ จึง เป็น คดี ที่ มี ทุนทรัพย์ ที่พิพาท กัน ใน ชั้นฎีกา ของโจทก์ แต่ละ คน ไม่เกิน 200,000 บาท ซึ่ง ต้องห้าม มิให้ ฎีกา ในข้อเท็จจริง ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248วรรคหนึ่ง ที่ จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา ว่า นาย มโนรมย์ ไม่ใช่ ลูกจ้าง ของ จำเลย ทั้ง สอง และ ไม่ได้ กระทำ ใน ทางการที่จ้าง นาย มโนรมย์ ไม่ได้ เป็น ฝ่าย ประมาท และ จำนวน ค่าเสียหาย ที่ ศาลอุทธรณ์ กำหนด ให้ โจทก์แต่ละ คน สูง เกิน ไป เป็น ฎีกา โต้แย้ง ดุลพินิจ ใน การ รับฟัง พยานหลักฐานและ การ กำหนด ค่าเสียหาย ของ ศาลอุทธรณ์ จึง เป็น ฎีกา ใน ข้อเท็จจริงซึ่ง ต้องห้าม มิให้ ฎีกา ตาม บทบัญญัติ ดังกล่าว ศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัย ”
พิพากษายืน