แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
ขณะโจทก์ทั้งสองยื่นฟ้องคดีนี้คดีก่อนซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีเพราะโจทก์ทั้งสองขาดนัดพิจารณายังอยู่ในระยะเวลาที่จำเลยมีสิทธิยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นได้และต่อมาจำเลยได้ยื่นอุทธรณ์ต้องถือว่าขณะที่โจทก์ทั้งสองยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ใหม่คดีก่อนของโจทก์ทั้งสองดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างพิจารณาฟ้องของโจทก์ทั้งสองคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา173วรรคสอง(1)แม้ต่อมาศาลอุทธรณ์จะได้มีคำพิพากษาว่าคำสั่ง จำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นชอบแล้วและคดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้วก็ตาม
ย่อยาว
โจทก์ ทั้ง สอง ฟ้อง ว่า จำเลย ว่าจ้าง โจทก์ ทั้ง สอง เป็น ทนายความแล้ว ค้างชำระ ค่าใช้จ่าย ใน การ ดำเนินคดี 1,500 บาท และ ยัง มิได้ชำระ ค่า ทนายความ อีก 150,000 บาท ขอให้ บังคับ จำเลย ชำระ เงิน ดังกล่าวพร้อม ด้วย ดอกเบี้ย
จำเลย ให้การ ว่า จำเลย เคย ว่าจ้าง โจทก์ ที่ 1 ฟ้องคดี แพ่ง โดยตกลง ค่าใช้จ่าย และ ค่า ทนายความ เป็น เงิน 30,000 บาท เท่านั้น ไม่เคยว่าจ้าง โจทก์ ที่ 2 ให้ เป็น ทนายความ ฟ้องโจทก์ ทั้ง สอง คดี นี้ เป็นฟ้องซ้อน ขอให้ ยกฟ้อง
ใน วันนัดชี้สองสถาน ศาลชั้นต้น ได้ สอบ ทนายโจทก์ ทั้ง สอง แล้วได้ความ ว่า ก่อน ฟ้องคดี นี้ โจทก์ ทั้ง สอง เคย ยื่นฟ้อง จำเลย ต่อศาลชั้นต้น เป็น คดีแพ่ง หมายเลขดำ ที่ 160/2535 เรียก ค่า ว่าความและ ค่าใช้จ่าย แต่ ถึง วันนัด โจทก์ ทั้ง สอง ไม่มา ศาล ศาล จึง มี คำสั่งจำหน่ายคดี และ โจทก์ ทั้ง สอง ได้ ฟ้องคดีใหม่ ก่อน คดีแพ่ง หมายเลขดำที่ 160/2535 ถึงที่สุด ศาลชั้นต้น เห็นว่า คดี พอ วินิจฉัย ได้ จึงให้ งดสืบพยาน
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ ทั้ง สอง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ทั้ง สอง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ข้อเท็จจริง ฟัง ยุติ ได้ว่า โจทก์ ทั้ง สองเคย ยื่นฟ้อง จำเลย ต่อ ศาลชั้นต้น ใน เรื่อง เดียว กับ คดี นี้ มา แล้วตาม คดีแพ่ง หมายเลขดำ ที่ 160/2535 ซึ่ง ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง จำหน่ายคดีเมื่อ วันที่ 3 กรกฎาคม 2535 เนื่องจาก โจทก์ ทั้ง สอง ขาดนัดพิจารณาไม่มา ศาล ใน วันนัด สืบพยานโจทก์ ต่อมา วันที่ 7 กรกฎาคม 2535 โจทก์ทั้ง สอง จึง ฟ้อง จำเลย เป็น คดี นี้ ใหม่ ครั้น วันที่ 31 กรกฎาคม 2535จำเลย ได้ ยื่น อุทธรณ์ คัดค้าน คำสั่งศาล ชั้นต้น ใน คดีแพ่ง หมายเลขดำที่ 160/2535 ต่อ ศาลชั้นต้น ไว้ แล้ว ต่อมา วันที่ 6 สิงหาคม 2535จำเลย จึง ได้ ยื่นคำให้การ แก้ฟ้อง ของ โจทก์ ทั้ง สอง ใน คดี นี้ ปัญหาที่ ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ โจทก์ ทั้ง สอง มี ว่า ฟ้องโจทก์ ทั้ง สอง ในคดี นี้ เป็น ฟ้องซ้อน กับ คดีแพ่ง หมายเลขดำ ที่ 160/2535 หรือไม่โจทก์ ทั้ง สอง ฎีกา ว่า ที่ ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง จำหน่ายคดี ของ โจทก์ทั้ง สอง ใน คดี ดังกล่าว ข้างต้น นั้น เป็น การ สั่ง ตาม ประมวล กฎหมาย วิธีพิจารณา ความ แพ่ง มาตรา 201 การ ที่ จำเลย อุทธรณ์ คดีแพ่ง หมายเลขดำที่ 160/2535 ใน วันที่ 31 กรกฎาคม 2535 แต่ ต่อมา ใน วันที่ 25 มกราคม2537 ศาลอุทธรณ์ ได้ พิพากษาคดี ดังกล่าว ว่า คำสั่ง จำหน่ายคดี ของศาลชั้นต้น ชอบแล้ว รายละเอียด ตาม เอกสาร ท้ายฟ้อง ฎีกา และ ขณะ นี้คดี ดังกล่าว ถึงที่สุด แล้ว คดี ของ โจทก์ ทั้ง สอง จึง ไม่ ตกอยู่ใน ระหว่างพิจารณา ของ ศาลอุทธรณ์ แต่อย่างใด การ ที่ โจทก์ ทั้ง สอง ได้ นำ คดีมา ฟ้อง ใหม่ ภายใน อายุความ จึง เห็น ได้ว่า ฟ้อง ของ โจทก์ ทั้ง สอง ในคดี นี้ ไม่เป็น ฟ้องซ้อน อีก ต่อไป นั้น เห็นว่า แม้ จะ ได้ความ ตาม ที่โจทก์ ทั้ง สอง ฎีกา ว่าคดี แพ่ง หมายเลขดำ ที่ 160/2535 ที่ จำเลย อุทธรณ์คัดค้าน คำสั่ง ของ ศาลชั้นต้น ไป นั้น ศาลอุทธรณ์ ได้ พิพากษา แล้วและ คดีถึงที่สุด ก็ ตาม แต่เมื่อ ข้อเท็จจริง ได้ความ ว่า ขณะ โจทก์ทั้ง สอง ยื่นฟ้อง คดี นี้ คดี ก่อน ยัง อยู่ ใน ระยะเวลา ที่ จำเลย มีสิทธิยื่น อุทธรณ์ คัดค้าน คำสั่ง ของ ศาลชั้นต้น ได้ และ ต่อมา จำเลย ได้ ยื่นอุทธรณ์ เมื่อ วันที่ 31 กรกฎาคม 2535 แล้ว กรณี จึง ต้อง ถือว่า ขณะที่ โจทก์ ทั้ง สอง ยื่นฟ้อง จำเลย เป็น คดี นี้ ใหม่ นั้น คดี ก่อน ของ โจทก์ทั้ง สอง ดังกล่าว ยัง อยู่ ใน ระหว่าง พิจารณา ตาม ที่ บัญญัติ ไว้ ใน มาตรา173 แห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ดังนั้น ฟ้อง ของ โจทก์ทั้ง สอง คดี นี้ จึง เป็น ฟ้องซ้อน กับ คดีแพ่ง หมายเลขดำ ที่ 160/2535ของ ศาลชั้นต้น ดังกล่าว ต้องห้าม ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173 วรรคสอง (1) ที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษา มา นั้น ชอบแล้ว ฎีกาโจทก์ ทั้ง สอง ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน