คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 255/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

ฟ้องว่าจำเลยปลอมบันทึกขออนุมัติเดินทางไปราชการและยืมเงินทดรองจ่ายกับปลอมสัญญายืมเงินในวันเดียวกันการปลอมทั้งสองครั้งตามฟ้องข้อก.และข.เพื่อนำไปแสดงขอรับเงิน2,500บาทจากพนักงานการเงินพนักงานการเงินหลงเชื่อจึงจ่ายเงินให้ไปดังนี้การกระทำตามฟ้องข้อก.และข.ก็โดยมีเจตนาที่จะนำไปใช้เป็นหลักฐานในการหลอกลวงพนักงานการเงินตามฟ้องข้อค.เป็นการกระทำที่ต่อเนื่องกันตั้งแต่จำเลยปลอมจนถึงเวลาที่ใช้เอกสารปลอมเพื่อหลอกลวงรับเงินจากพนักงานการเงินจึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทมิใช่เป็นการกระทำผิดต่างกรรมกัน. โจทก์กล่าวในฟ้องว่าจำเลยได้เงินของผู้เสียหายไปโดยการหลอกลวงและคดีฟังได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานฉ้อโกงด้วยดังนี้ศาลต้องพิพากษาให้จำเลยคืนหรือใช้จำนวนเงินตามที่โจทก์ขอมาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา43.(ที่มา-เนติฯ)

ย่อยาว

ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา91, 264, 265, 266, 268, 341 ข้อหา ฉ้อโกง กับ ข้อหา ใช้ เอกสารสิทธิอัน เป็น เอกสาร ราชการ ปลอม ให้ ลงโทษ ตาม มาตรา 268 อัน เป็น บทหนักจำเลย เป็น ผู้ ปลอม และ ใช้ เอกสาร ปลอม นั้น เอง จึง ให้ ลงโทษ ฐานใช้ บันทึก ขอ อนุมัติ เดินทาง ปลอม และ ฐาน ใช้ สัญญา การ ยืม เงินปลอม กรรมละ 2 ปี รวม จำคุก 4 ปี จำเลย รับสารภาพ ลดโทษ ให้ กึ่งหนึ่งคง จำคุก 2 ปี ศาลอุทธรณ์ พิพากษา แก้ เป็น ว่า จำเลย มี ความผิด ตาม มาตรา 265, 266(1), 268, 341 แต่ การ กระทำ ของ จำเลย เป็น กรรมเดียวลงโทษ ตาม มาตรา 268, 266(1) ซึ่ง เป็น บท หนักที่สุด จำคุก 2 ปีลดโทษ ให้ กึ่งหนึ่ง คง จำคุก 1 ปี ของกลาง ริบ คำขอ อื่น ให้ ยกโจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ข้อกฎหมาย ว่า ‘คง มี ปัญหา ตาม ฎีกา ของ โจทก์สอง ประการ คือ การ กระทำ ของ จำเลย ตาม ที่ กล่าว ใน ฟ้อง นั้นเป็น ความผิด ต่างกรรม กัน หรือไม่ และ จำเลย จะ ต้อง คืน หรือ ใช้เงิน ให้ ผู้เสียหาย หรือไม่ ใน ปัญหา ประการ แรก ตาม คำฟ้อง ของ โจทก์ข้อ ก. และ ข. นั้น จำเลย ได้ ปลอม บันทึก ขอ อนุมัติ เดินทางไป ราชการ และ ยืม เงิน ทดรองจ่าย กับ ปลอม สัญญา ยืมเงิน ในวันเดียวกัน โดย กล่าว ใน คำฟ้อง ว่า การ ปลอม ทั้ง สองครั้ง นี้ก็ เพื่อ นำ ไป แสดง ขอ รับ เงิน จำนวน 2,500 บาท จาก พนักงาน การเงินและ บัญชี กองคลัง สำนักงาน อธิการบดี มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ โดยวิธีการ หลอกลวง ของ จำเลย ตาม ที่ กล่าว ไว้ ใน คำฟ้อง ข้อ ค. พนักงานการเงิน หลงเชื่อ จึง จ่าย เงิน จำนวน ดังกล่าว ให้ ไป ดังนี้ จึงเป็น ที่ เห็น ได้ ว่า การ กระทำ ของ จำเลย ทั้ง ตาม คำฟ้อง ข้อ ก.และ ข. นั้น ก็ โดย มี เจตนา ที่ จะ นำ ไป ใช้ เป็น หลักฐาน ใน การหลอกลวง พนักงาน การเงิน ตาม ที่ กล่าว ใน คำฟ้อง ข้อ ค. เป็น การกระทำ ที่ ต่อเนื่องกัน ตั้งแต่ จำเลย ปลอม จน ถึง เวลา ที่ ใช้ เอกสารปลอม เพื่อ หลอกลวง รับ เงิน จาก พนักงาน การเงิน จึง เป็น การ กระทำกรรมเดียว ผิด กฎหมาย หลายบท มิใช่ เป็น การ กระทำ ผิด ต่างกรรม กันฎีกา โจทก์ ใน ข้อนี้ ฟัง ไม่ ขึ้น
ปัญหา ประการ ที่ สอง เมื่อ โจทก์ กล่าว ใน ฟ้อง ว่า จำเลย ได้ เงินของ ผู้เสียหาย ไป โดย การ หลอกลวง จำนวน 2,500 บาท และ คดี ฟัง ได้ ว่าการ กระทำ ของ จำเลย เป็น ความผิด ฐาน ฉ้อโกง ด้วย เช่นนี้ แล้ว ศาลก็ ต้อง พิพากษา ให้ จำเลย คืน หรือ ใช้ เงิน จำนวน ดังกล่าว ตาม ที่โจทก์ ขอ มา ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 ที่ศาลอุทธรณ์ ไม่ พิพากษา ให้ จำเลย คืน หรือ ใช้ เงิน จำนวน 2,500 บาทให้ ผู้เสียหาย จึง เป็น การ ไม่ ชอบ ฎีกา โจทก์ ข้อนี้ ฟัง ขึ้น’
พิพากษา แก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย คืน หรือ ใช้ เงิน จำนวน 2,500 บาทแก่ ผู้เสียหาย ด้วย นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษาศาลอุทธรณ์

Share