แหล่งที่มา : ADMIN
ย่อสั้น
โจทก์เป็นผู้รับซื้อฝากที่ดินพิพาทจากป.ครบกำหนดป.ไม่ไถ่คืนที่ดินพิพาทจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์โจทก์จึงฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทจำเลยอ้างว่าได้ปลูกบ้านในที่ดินพิพาทมาก่อนโจทก์รับซื้อฝากที่ดินจากป.แล้วแต่ต่อมาจำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทจากป.ผ่อนชำระเป็นงวดระหว่างผ่อนชำระป.ถึงแก่ความตายเสียก่อนจำเลยมิได้ฟ้องแย้งขอให้เพิกถอนนิติกรรมขายฝากระหว่างโจทก์กับป.โจทก์มิได้เป็นคู่สัญญากับจำเลยและไม่มีบทกฎหมายกำหนดไว้ว่าผู้รับซื้อฝากที่ดินจะต้องรับไปซึ่งสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างผู้ขายฝากกับบุคคลอื่นจำเลยจึงไม่มีสิทธิฟ้องแย้งบังคับให้โจทก์รับไปซึ่งสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างจำเลยกับป..
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า เดิม ที่ดิน พิพาท เป็น ที่ดิน ของ ว. ซึ่ง ขณะนั้นจำเลย ได้ อาศัย ปลูก โรง อยู่ หลังหนึ่ง เมื่อ วันที่ 5 มิถุนายน2522 ว. ได้ ขาย ที่ดิน ดังกล่าว ให้ ป. ต่อมา วันที่ 26 มิถุนายน 2523ป. ขายฝาก ที่ดิน แปลงนี้ ไว้ แก่ โจทก์ มี กำหนด 1 ปี ครั้น ครบ กำหนดป. ไม่ ได้ ไถ่ถอน ที่ดิน จึง ตก เป็น กรรมสิทธิ์ ของ โจทก์ โจทก์ไม่ ต้องการ ให้ จำเลย อยู่ อาศัย ต่อไป จึง ฟ้อง ขับไล่ จำเลย และบริวาร ให้ รื้อ บ้านเรือน ออก ไป จาก ที่ดิน พิพาท ห้าม เข้า ไปเกี่ยวข้อง อีก
จำเลย ให้การ และ ฟ้อง ว่า จำเลย ไม่เคย อาศัย ว. ปลูกบ้าน อยู่ อาศัยเดิม ที่ดิน พิพาท เนื้อที่ 76 วา เป็น ที่ดิน ส่วนหนึ่ง ของ ที่ดินแปลงใหญ่ ซึ่ง เป็น ของ พ. พ. และ บริวาร ได้ ปลูกบ้าน อยู่ อาศัย ภายในที่ดิน พิพาท มา ก่อน ต่อมา ว. ได้ ซื้อ ที่ดิน แปลง ใหญ่ ทั้ง แปลง จาก พ. โดย สัญญา ว่า จะ แบ่งแยก ที่ดิน ตรง ที่ พ. และ บริวาร ปลูกบ้านอยู่ ออก จาก โฉนด ใหญ่ เป็น อีก โฉนด หนึ่ง ต่างหาก แล้ว จะ โอน คืนให้ พ. ภายหลัง แต่ เมื่อ ว. ได้ แบ่งแยก โฉนด เสร็จแล้ว กลับ นำโฉนด ที่ดิน พิพาท ไป โอน ขาย ให้ ป. ต่อมา วันที่ 11 พฤศจิกายน 2521จำเลย ได้ ทำ สัญญา จะซื้อ จะขาย ที่ดิน พิพาท จาก ป. ใน ราคา ตารางวาละ 400 บาท กำหนด ชำระ เป็น งวด งวดละ เดือน เดือนละ 400 บาท จำเลย ได้ผ่อนชำระ ราคา ให้ ป. เรื่อยมา จนกระทั่ง ป. ถึง แก่ ความตาย จึง ไม่ได้ ชำระ อีก เพราะ ไม่ ทราบ ว่า ทายาท ผู้ รับมรดก เป็น ใคร โจทก์ทราบ ดี อยู่ แล้ว ว่า จำเลย และ พวก ได้ ปลูก บ้านเรือน อยู่ บน ที่ดินพิพาท และ ทราบ ว่า จำเลย ได้ ทำ สัญญา จะซื้อ จะขาย ที่ดิน พิพาท จากป. ก่อนแล้ว สัญญา รับ ซื้อฝาก ที่ดิน พิพาท ระหว่าง โจทก์ กับ ป. จึงไม่ สมบูรณ์ เพราะ เป็น การ ซื้อ ขาย โดย ไม่ สุจริต และ จด ทะเบียน โดยไม่ สุจริต ขอ ให้ ยกฟ้อง และ ขอ ให้ พิพากษา ว่า โจทก์ มี หน้าที่ รับไป ซึ่ง สิทธิ และ หน้าที่ ตาม สัญญา จะซื้อ จะขาย ที่ดิน พิพาท ให้โจทก์ รับ เงิน ค่า ที่ดิน ส่วน ที่ เหลือ เป็น งวดๆ ตาม สัญญา แล้วให้ โจทก์ ไป จด ทะเบียน โอน กรรมสิทะิ์ ที่ดิน พิพาท ให้ แก่ จำเลย
วัน ชี้สองสถาน ศาลชั้นต้น เห็นว่า คดี พอ วินิจฉัย ได้ ให้ งด สืบพยานแล้ว พิพากษา ให้ จำเลย และ บริวาร รื้อ บ้านเรือน ออก ไป จาก ที่ดินพิพาท ห้าม เกี่ยวข้อง ใน ที่ดิน ของ โจทก์ ยก ฟ้องแย้ง จำเลย
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยืน
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ข้อเท็จจริง ฟัง เป็น ยุติ ว่า โจทก์ เป็นผู้รับ ซื้อฝาก ที่ดิน พิพาท จาก ป. ครบ กำหนด ขายฝาก ป. ไม่ ไถ่ คืนที่ดิน พิพาท จึง ตก เป็น กรรมสิทธิ์ ของ โจทก์ โจทก์ จึง ฟ้อง ขับไล่จำเลย ออก จาก ที่ดิน พิพาท จำเลย อ้าง ว่า ได้ ปลูก บ้าน ใน ที่ดินพิพาท มา ก่อน โจทก์ รับ ซื้อฝาก ที่ดิน จาก ป. แล้ว แต่ ต่อมา ในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2521 จำเลย ได้ ทำ สัญญา จะซื้อ จะขาย ที่ดิน พิพาทจาก ป. ผ่อน ชำระ เป็น งวด งวด ละ 400 บาท ยัง ค้าง ชำระ อีก 33 งวดป. ก็ ถึง แก่ ความตาย เสียก่อน มี ปัญหา ตาม ที่ จำเลย ฎีกา ว่า โจทก์จะ ต้อง รับ ไป ซึ่ง สิทธิ และ หน้าที่ ตาม สัญญา จะซื้อ จะขาย ที่ดินพิพาท ระหว่าง จำเลย กับ ป. โดย รับ เงิน ค่า ที่ดิน ที่ ค้าง เป็น งวดๆ และ จำเลย มี สิทธิ เอา ที่ดิน พิพาท คืน จาก โจทก์ ได้ หรือไม่พิเคราะห์ แล้ว ที่ จำเลย ขอ ให้ บังคับ โจทก์ รับ ไป ซึ่ง สิทธิ และหน้าที่ ตาม สัญญา จะซื้อ จะขาย ระหว่าง จำเลย กับ ป. ต่อไป นั้น เห็นว่า จำเลย มิได้ ฟ้องแย้ง ขอ ให้ เพิกถอน นิติกรรม ขายฝาก ระหว่าง โจทก์กับ ป. เข้า มา ด้วย โจทก์ มิได้ เป็น คู่สัญญา กับ จำเลย และ ไม่ มีบทกฎหมาย กำหนด ไว้ ว่า ผู้รับ ซื้อฝาก ที่ดิน จะ ต้อง รับ ไป ซึ่งสิทธิ และ หน้าที่ ตาม สัญญา จะซื้อ จะขาย ระหว่าง ผู้ ขายฝาก กับ บุคคลอื่น จำเลย จึง ไม่ มี สิทธิ ฟ้องแย้ง กับ โจทก์ ดังกล่าว ได้
พิพากษา ยืน แต่ ไม่ ตัด สิทธิ จำเลย ที่ จะ ไป ฟ้องแย้ง ขอ เพิกถอนนิติกรรม ขายฝาก ระหว่าง โจทก์ กับ ป.ต่อไป