แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ตามรายการในบัญชีเดินสะพัดในวันครบกำหนดสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีวันที่19สิงหาคม2528ลูกหนี้เป็นหนี้โจทก์อยู่จำนวน2,812,773.64บาทซึ่งเป็นจำนวนที่เกินวงเงินที่ได้ตกลงไว้กับเจ้าหนี้และนับแต่นั้นมาลูกหนี้ก็ไม่ได้นำเงินเข้าบัญชีและเจ้าหนี้ก็ไม่ยอมให้ลูกหนี้เบิกเงินจากบัญชีได้อีกโดยมีแต่รายการนำเช็คของลูกหนี้ซึ่งสั่งจ่ายเบิกเงินจากบัญชีมาเรียกเก็บเงินแต่เจ้าหนี้ก็ไม่ยอมจ่ายเงินตามเช็คแต่ละรายการนั้นเลยซึ่งนับเป็นร้อยๆรายการอันเป็นข้อแสดงว่าเจ้าหนี้ไม่ประสงค์จะให้มีบัญชีเดินสะพัดอีกต่อไปนับแต่วันครบกำหนดตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีนั้นส่วนที่เจ้าหนี้ยินยอมให้ลูกหนี้เบิกเงินจากบัญชีและนำเงินเข้าฝากตามที่ฎีกามานั้นนับแต่สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีครบกำหนดเจ้าหนี้ก็ไม่ยินยอมให้ลูกหนี้เบิกเงินตามเช็คตลอดมาที่เจ้าหนี้ยินยอมให้ลูกหนี้เบิกเงินในเดือนตุลาคม2528จำนวน1ครั้งเป็นเงิน4,664บาทในเดือนเมษายนและเดือนพฤศจิกายน2529รวม2ครั้งเป็นเงิน30,000บาทและ3,162บาทตามลำดับแต่ละรายการจำนวนเงินเล็กน้อยและได้ทิ้งช่วงระยะเวลาห่างกันจนผิดปกติเป็นพิรุธและรายการถอนเงินในวันที่16กรกฎาคม2530จำนวน20,000บาทก็ปรากฏมีรายการแก้ไขในช่องรายการฝากเงินในวันเดียวกันและจำนวนเงินเดียวกันซึ่งเป็นการลงบัญชีผิดพลาดไม่ใช่การถอนเงินออกจากบัญชีแต่อย่างใดและที่เจ้าหนี้จ่ายเบี้ยประกันภัยของลูกหนี้เมื่อวันที่12มิถุนายน2530จำนวน1,375บาทหรือรายการฝากเช็คธนาคาร2ฉบับฉบับละ500,000บาทในวันที่23กุมภาพันธ์2531แต่ในวันรุ่งขึ้นกลับปรากฏในช่องรายการถอนโดยใช้อักษรภาษาอังกฤษ”LOAN” จำนวน1,000,000บาทโดยไม่เกี่ยวข้องกับหนี้ตามรายการเดินสะพัดอย่างไรหรือไม่ส่อแสดงให้เห็นว่าน่าจะเป็นการปรับปรุงรายการบัญชีเดินสะพัดเพื่อจะแสดงให้เห็นว่ายังมีการเดินสะพัดทางบัญชีอยู่เพื่อจะอ้างเป็นเหตุให้คิดดอกเบี้ยทบต้นได้เท่านั้นนับว่าเป็นการกระทำเพื่อแสวงหาประโยชน์จากลูกหนี้โดยไม่ชอบตามพฤติการณ์ยิ่งแสดงให้เห็นเจตนาของเจ้าหนี้ได้อย่างชัดแจ้งว่าหลังจากสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีครบกำหนดแล้วเจ้าหนี้ไม่ประสงค์จะให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีแก่ลูกหนี้อีกต่อไปถือได้ว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้สิ้นสุดลงนับแต่วันครบกำหนดสัญญาคือวันที่19สิงหาคม2528หลังจากนั้นเจ้าหนี้ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้อีกต่อไป
ย่อยาว
คดี สืบเนื่อง มาจาก ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ให้ พิทักษ์ทรัพย์ ของลูกหนี้ (จำเลย ) ทั้ง สอง เด็ดขาด เมื่อ วันที่ 19 กรกฎาคม 2534เจ้าหนี้ ยื่น คำขอ รับชำระหนี้ ใน มูลหนี้ ตาม สัญญา เบิกเงินเกินบัญชีเป็น จำนวน 1,139,732.07 บาท จาก กอง ทรัพย์สิน ของ ลูกหนี้ ทั้ง สองปรากฏ รายละเอียด ตาม บัญชี ท้าย คำขอ รับชำระหนี้
เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ นัด ตรวจ คำขอ รับชำระหนี้ ตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 104 แล้ว ไม่มี ผู้ใดโต้แย้ง คำขอ รับชำระหนี้ ของ เจ้าหนี้ ราย นี้
เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ สอบสวน แล้ว เห็นว่า สัญญา เบิกเงินเกิน บัญชี สิ้นสุด ลง ใน วัน ครบ กำหนด สัญญา คือ วันที่ 19 สิงหาคม 2528เจ้าหนี้ มีสิทธิ คิด ดอกเบี้ย ทบต้น ได้ เพียง วัน ครบ กำหนด สัญญา และหลังจาก นั้น คง มีสิทธิ คิด ดอกเบี้ย ไม่ ทบต้น ตาม ประกาศ ธนาคาร แห่งประเทศ ไทย จน ถึง วัน พิทักษ์ทรัพย์ เด็ดขาด ซึ่ง ลูกหนี้ ทั้ง สอง จะ ต้องร่วมกัน รับผิด ต่อ เจ้าหนี้ เป็นต้น เงิน 383,533.78 บาท และ ดอกเบี้ย50,279.70 บาท รวม จำนวน 433,813.48 บาท แต่ เจ้าหนี้ ขอ มา จำนวน1,139,732.07 บาท จึง ขอ เกิน มา จำนวน 705,918.59 บาท เห็นควร ให้เจ้าหนี้ ได้รับ ชำระหนี้ จำนวน 433,813.48 บาท จาก กอง ทรัพย์สิน ของลูกหนี้ ทั้ง สอง ตาม มาตรา 130(8) แห่ง พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483ส่วน ที่ ขอ เกิน มา ให้ยก เสีย
ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง อนุญาต ให้ เจ้าหนี้ ได้รับ ชำระหนี้ ตาม ความเห็นของ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์
เจ้าหนี้ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
เจ้าหนี้ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ที่ เจ้าหนี้ ฎีกา ว่า หลังจาก สัญญา เบิกเงินเกิน บัญชี ครบ กำหนด ใน วันที่ 19 สิงหาคม 2528 แล้ว ลูกหนี้ ที่ 1ยัง สั่งจ่าย เช็ค เบิกเงินเกินบัญชี และ นำ เช็ค เข้าบัญชี ให้ เจ้าหนี้เรียกเก็บเงิน ตามเช็ค แสดง ให้ เห็น ถึง เจตนา ของ ลูกหนี้ ที่ 1 ยัง มีความ ประสงค์ จะ เดินสะพัด ทาง บัญชี กับ เจ้าหนี้ ต่อไป และ ลูกหนี้ ที่ 1ได้ เบิกเงิน ด้วย เช็ค ไป เมื่อ วันที่ 14 ตุลาคม 2528 จำนวน 4,664 บาทวันที่ 11 เมษายน 2529 จำนวน 30,000 บาท วันที่ 18 พฤศจิกายน2529 จำนวน 3,162 บาท วันที่ 12 มิถุนายน 2530 ลูกหนี้ ที่ 1 ให้เจ้าหนี้ จ่าย ค่า เบี้ยประกัน ภัย ของ ลูกหนี้ ที่ 1 จำนวน 1,375 บาทวันที่ 16 กรกฎาคม 2530 เบิกเงิน ด้วย เช็ค จำนวนเงิน 20,000 บาทและ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2531 ลูกหนี้ ที่ 1 นำ เงิน เข้า ฝาก 2 ครั้งครั้ง ละ 500,000 บาท และ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2531 ถอนเงิน จากบัญชี อีก จำนวน 1,000,000 บาท ถือว่า ลูกหนี้ ที่ 1 ยัง เดินสะพัดทาง บัญชี กับ เจ้าหนี้ เรื่อย มา แม้ สัญญา เบิกเงินเกินบัญชี ครบ กำหนดแล้ว สัญญา ดังกล่าว จึง ยัง มีผล ผูกพัน ตาม ข้อตกลง เดิม โดย ไม่มีเงื่อนเวลา สิ้นสุด จนกว่า อีกฝ่าย จะ แสดง เจตนา บอกเลิก สัญญา เจ้าหนี้ได้ หัก ทอน บัญชี ครั้งสุดท้าย เมื่อ วันที่ 30 มิถุนายน 2532 เจ้าหนี้จึง มีสิทธิ คิด ดอกเบี้ย ทบต้น จน ถึง วันที่ 30 มิถุนายน 2532 นั้นเห็นว่า ตาม รายการ ที่ ปรากฏ ใน บัญชีเดินสะพัด เอกสาร หมาย จ. 5ใน วัน ครบ กำหนด สัญญา เบิกเงินเกินบัญชี วันที่ 19 สิงหาคม 2528ลูกหนี้ ที่ 1 เป็น หนี้ โจทก์ อยู่ จำนวน 2,812,773.64 บาท ซึ่ง เป็นจำนวน ที่ เกิน วงเงิน ที่ ได้ ตกลง ไว้ กับ เจ้าหนี้ และ นับแต่ นั้น มาลูกหนี้ ที่ 1 ก็ ไม่ได้ นำ เงิน เข้าบัญชี และ เจ้าหนี้ ก็ ไม่ยอม ให้ลูกหนี้ ที่ 1 เบิกเงิน จาก บัญชี ได้ อีก โดย ปรากฏ มี แต่ รายการ นำ เช็คของ ลูกหนี้ ที่ 1 ซึ่ง สั่งจ่าย เบิกเงิน จาก บัญชี มา เรียกเก็บเงินแต่ เจ้าหนี้ ก็ ไม่ยอม จ่ายเงิน ตามเช็ค แต่ละ รายการ นั้น เลย ซึ่ง นับ เป็นร้อย ๆ รายการ อันเป็น ข้อ แสดง ว่า เจ้าหนี้ ไม่ประสงค์ จะ ให้ มีบัญชีเดินสะพัด อีก ต่อไป นับแต่ วัน ครบ กำหนด ตาม สัญญา เบิกเงินเกิน บัญชี นั้น ส่วน ที่ เจ้าหนี้ ยินยอม ให้ ลูกหนี้ ที่ 1 เบิกเงิน จากบัญชี และ นำ เงิน เข้า ฝาก ตาม ที่ ฎีกา มา นั้น นับ ตั้งแต่ สัญญา เบิกเงินเกิน บัญชี ครบ กำหนด เจ้าหนี้ ไม่ยินยอม ให้ ลูกหนี้ ที่ 1 เบิกเงินตามเช็ค ตลอดมา ที่ เจ้าหนี้ ยินยอม ให้ ลูกหนี้ ที่ 1 เบิกเงิน ใน เดือนตุลาคม 2528 จำนวน 1 ครั้ง ใน เดือน เมษายน และ เดือน พฤศจิกายน 2529รวม 2 ครั้ง จะ เห็น ได้ว่า แต่ละ รายการ จำนวนเงิน เล็กน้อย และ ได้ ทิ้งช่วง ระยะเวลา ห่าง กัน จน ผิดปกติ เป็น พิรุธ และ รายการ ถอนเงิน ในวันที่ 16 กรกฎาคม 2530 จำนวน 20,000 บาท ก็ ปรากฏ มี รายการ แก้ไขใน ช่อง รายการ ฝากเงิน ใน วันเดียว กัน และ จำนวนเงิน เดียว กัน ซึ่ง เป็นการ ลง บัญชี ผิดพลาด ไม่ใช่ การ ถอนเงิน ออกจาก บัญชี แต่อย่างใด ไม่ส่วน ที่ เจ้าหนี้ จ่าย เบี้ยประกัน ภัย ของ ลูกหนี้ ที่ 1 เมื่อ วันที่12 มิถุนายน 2530 จำนวน 1,375 บาท หรือ รายการ ฝาก เช็ค ธนาคาร2 ฉบับ ฉบับ ละ 500,000 บาท ใน วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2531 แต่ ในวันรุ่งขึ้น กลับ ปรากฏ ใน ช่อง รายการ ถอน โดย ใช้ อักษร ภาษา อังกฤษ “LOAN” จำนวน 1,000,000 บาท โดย ไม่ปรากฏ ว่า เกี่ยวข้อง กับ หนี้ ตาม รายการ เดินสะพัด อย่างไร หรือไม่ ส่อ แสดง ให้ เห็นว่า น่า จะ เป็นการ ปรับปรุง รายการ บัญชีเดินสะพัด ทั้งนี้ เพื่อ จะ แสดง ให้ เห็นว่ายัง มี การ เดินสะพัด ทาง บัญชี อยู่ เพื่อ จะ ได้ อ้าง เป็นเหตุ ให้ คิด ดอกเบี้ยทบต้น ได้ เท่านั้น นับ ว่า เป็น การกระทำ เพื่อ จะ แสวงหา ประโยชน์ จากลูกหนี้ ที่ 1 โดย ไม่ชอบ ตาม พฤติการณ์ ดังกล่าว ยิ่ง แสดง ให้ เห็น เจตนาของ เจ้าหนี้ ได้ อย่าง ชัดแจ้ง ว่า หลังจาก สัญญา เบิกเงินเกินบัญชีครบ กำหนด แล้ว เจ้าหนี้ ไม่ประสงค์ จะ ให้ มี การ เดินสะพัด ทาง บัญชี แก่ลูกหนี้ ที่ 1 อีก ต่อไป ถือได้ว่า สัญญา เบิกเงินเกินบัญชี ระหว่างเจ้าหนี้ กับ ลูกหนี้ ที่ 1 สิ้นสุด ลง นับแต่ วัน ครบ กำหนด สัญญา คือ วันที่19 สิงหาคม 2528 หลังจาก นั้น เจ้าหนี้ ไม่มี สิทธิ คิด ดอกเบี้ย ทบต้นได้ อีก ต่อไป ที่ เจ้าหนี้ คิด ดอกเบี้ย ทบต้น ใน จำนวน หนี้ ที่ ค้างชำระ ตั้งแต่ วันที่ 19 สิงหาคม 2528 ตลอดมา จน ถึง วันที่ 30มิถุนายน 2532 จึง เป็น การ ไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ชอบแล้ว
พิพากษายืน