คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2543/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

คำฟ้องที่ขอให้ศาลพิพากษาว่าการประเมินภาษีโรงเรือนและคำชี้ขาดของจำเลยให้โจทก์ชำระค่าภาษีโรงเรือนเป็นเงิน5,400บาทไม่ถูกต้องก็คือให้ศาลวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีหนี้ที่จะต้องชำระตามจำนวนที่จำเลยประเมินและมีคำชี้ขาดโจทก์จึงมีคำขอให้จำเลยคืนเงินภาษีโรงเรือนที่โจทก์อ้างว่าจำเลยคิดให้โจทก์เสียเกินไปให้แก่โจทก์ด้วยหากศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีทุกข์ของโจทก์ย่อมปลดเปลื้องไปตามจำนวนเงินที่โจทก์ไม่ต้องชำระหนี้และได้รับเงินที่เสียเกินไปนั้นคืนฟ้องของโจทก์จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ตามตาราง1ข้อ1ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224.

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอ ให้ ศาล พิพากษา ว่า การ ประเมิน ภาษี โรงเรือน ของจำเลย ที่ 1 และ คำ ชี้ขาด ของ จำเลย ที่ 2 ที่ ให้ โจทก์ ชำระ ค่า ภาษีโรงเรือน เป็น เงิน 5,400 บาท ไม่ ถูกต้อง ให้ จำเลย ทั้ง สอง คืน เงินค่า ภาษีโรงเรือน จำนวน 3,525 บาท ที่ คิด เกิน ให้ แก่ โจทก์
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ว่า เจ้าหน้าที่ ของ จำเลย ที่ 1 ประเมิน ภาษีโรงเรือน ของ โจทก์ ถูกต้อง เหมาะสม แล้ว ขอ ให้ ยกฟ้อง
ระหว่าง พิจารณา จำเลย ที่ 2 ถึงแก่กรรม ศาล สั่ง จำหน่าย คดี เฉพาะจำเลย ที่ 2
ศาลชั้นต้น พิพากษา ยกฟ้อง
โจทก์ อุธรณ์
ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่า อุทธรณ์ ของ โจทก์ ต้องห้าม มิให้ อุทธรณ์ใน ข้อเท็จจริง ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 พิพากษายก อุทธรณ์ ของ โจทก์
โจทก์ ฎีกา
ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ไม่ รับ ฎีกา โจทก์
โจทก์ อุทธรณ์ คำสั่ง
ศาลฎีกา มี คำสั่ง ว่า ที่ โจทก์ ฎีกา ว่า คดี นี้ เป็น คดี ฟ้อง ของให้ ปลดเปลื้อง ทุกข์ อัน ไม่ อาจ คำนวณ เป็น ราคา เงิน ได้ อุทธรณ์ของ โจทก์ ไม่ ต้องห้าม ตาม กฎหมาย ศาลอุทธรณ์ จะ ต้อง วินิจฉัย อุทธรณ์ของ โจทก์ นั้น เป็น ฎีกา ใน ข้อกฎหมาย ให้ รับ ฎีกา ของ โจทก์
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า คำขอ ของ โจทก์ ที่ ให้ ศาล พิพากษา ว่า การประเมิน ภาษี โรงเรือน และ คำชี้ขาด ของ จำเลย ทั้ง สอง ให้ โจทก์ ชำระค่า ภาษี โรงเรือน เป็น เงิน 5,400 บาท ไม่ ถูกต้อง ก็ คือ ให้ ศาลวินิจฉัย ว่า โจทก์ ไม่ มี หนี้ ที่ จะ ต้อง ชำระ ตาม จำนวน ที่ จำเลยประเมิน และ มี คำชี้ขาด โจทก์ จึง มี คำขอ ให้ จำเลย คืนเงิน ภาษีโรงเรือน ที่ โจทก์ อ้าง ว่า จำเลย คิด ให้ โจทก์ เสีย เกินไป ให้ แก่โจทก์ ด้วย หาก ศาล พิพากษา ให้ โจทก์ ชนะ คดี ทุกข์ ของ โจทก์ ย่อมปลดเปลื้อง ไป ตาม จำนวน เงิน ที่ โจทก์ ไม่ ต้อง ชำระ หนี้ และ ได้รับ เงิน ที่ เสีย เกินไป นั้น คืน ฟ้อง ของ โจทก์ จึง เป็น คดี ที่ มีคำขอ ให้ ปลดเปลื้อง ทุกข์ อัน อาจ คำนวณ เป็น ราคา เงินได้ ตาม ตาราง1 ข้อ 1(1) ท้าย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เหตุ นี้ เมื่อ จำนวนทุนทรัพย์ ที่ พิพาท ไม่เกิน 20,000 บาท และ อุทธรณ์ ของ โจทก์ เป็นอุทธรณ์ ใน ข้อเท็จจริง ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224ศาลอุทธรณ์ จึง ไม่ รับ วินิจฉัย นั้น ชอบ แล้ว
พิพากษา ยืน

Share