แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ผู้ต้องหายื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยว่าพระราชบัญญัติกำหนดเวลาขังผู้ต้องหาในกรณีที่ต้องหาว่าปลงพระชนม์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พ.ศ. 2491 เป็นโมฆะ ไม่มีผลบังคับ ต่อมาพนักงานอัยยการได้ฟ้องผู้ต้องหาเป็นจำเลยในความผิดที่+ศาลสั่งขังในระหว่างสอบสวนนั้น และศาลสั่งริบประทับฟ้องไว้แล้ว ดังนี้ ย่อมไม่เป็นประโยชน์หรือผลแก่คดีของผู้ต้องหาอย่างใด ที่จะวินิจฉัยว่า กฎหมายที่ผู้ต้องหากล่าวอ้างเป็นโมฆะหรือไม่ ศาลฎีกาย่อมให้ยกฎีกาเสีย
ย่อยาว
คดีนี้นานเฉลียว ผู้ต้องหาซึ่งพนักงานสอบสวนยื่นคำร้องขอให้ศาลขัง และศาลสั่งขังมีกำหนด ๓๐ วัน โดยอาศัยอำนาจ พระราชบัญญัติกำหนดเวลาขังผู้ต้องหาในกรณีที่ต้องหาว่าปลงพระชนม์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พ.ศ. ๒๔๙๑ ยื่นคำร้องว่า พ.ร.บ.ดังกล่าวไม่มีผลบังคับคดีของผู้ต้องหา และถือว่าผู้ต้องหาถูกคุมขังโดยปราศจากมูลที่จะอ้างกฎหมาย ขอให้ศาลสั่งปล่อย หรือให้มีประกันต่อไป
ศาลอาญา และศาลอุทธรณ์สั่งและพิพากษาให้ยกคำร้อง
ผู้ต้องหาฎีกา
เมื่อส่งสำนวนมาศาลฎีกาแล้ว ศาลอาญาได้แจ้งว่า พนักงายอัยยการได้ยื่นฟ้องนายเฉลียวกับพวกเป็นจำเลยฐานประทุษฐร้ายต่อองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯลฯ และศาลได้สั่งประทับฟ้อง ดังนี้ศาลฎีกาได้มีมติในที่ประชุมใหญ่ว่า เมื่อผู้ต้องหาถูกฟ้อง และศาลสั่งรับประทับฟัองแล้ว ย่อมไม่เป็นประโยชน์หรือเป็นผลแก่คดีของผู้ตอ้งหาแต่อย่างใด ที่จะวินิจฉัยว่ากฎหมายฉะบับที่ผู้ต้องหาอ้างเป็นโมฆะหรือไม่
พิพากษายกฎีกา