แหล่งที่มา : ADMIN
ย่อสั้น
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยทำงานให้แก่จำเลยในประเทศไทยมูลคดีที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าจ้างค้างจ้ายค่าทำงานล่วงเวลาสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าค่าชดเชยและค่าเสียหายในการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมเกิดขึ้นในประเทศไทยแม้จำเลยจะมิได้มีภูมิลำเนาในประเทศไทยโจทก์ก็ชอบที่จะเสนอคดีต่อศาลแรงงานกลางได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา33. แม้อายุสัญญาขุดเจาะน้ำมันระหว่างจำเลยกับบริษัทท.จะกำหนดเวลาไว้แน่นอนแต่โจทก์กับจำเลยมิได้ตกลงจ้างกันเพียงหมดอายุสัญญาระหว่างจำเลยกับบริษัทท.คราวใดคาวหนึ่งการจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงหาใช่การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอนไม่.
ย่อยาว
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างประจำจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามสำนวนโดยไม่ปรากฏความผิดไม่บอกกล่าวล่วงหน้าและไม่จ่ายค่าชดเชยค้างจ่ายค่าจ้างและจำเลยค้างจ่ายค่าทำงานล่วงเวลาแก่โจทก์สำนวนแรกขอให้บังคับจำเลยชำระเงินดังกล่าวแก่โจทก์ทุกสำนวนพร้อมดอกเบี้ย
จำเลยสำนวนแรกและสำนวนที่สองให้การว่าโจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างแน่นอนมูลคดีเป็นเรื่องพิพาทตามข้อตกลงสัญญาว่าจ้างซึ่งได้กระทำในต่างประเทศมิได้มีข้อตกลงให้ฟ้องในประเทศไทยทั้งจำเลยมิได้มีภูมิลำเนาในประเทศไทยโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องต่อศาลแรงงานกลางฟ้องโจทก์เคลือบคลุมจำเลยไม่ต้องจ่ายค่าล่วงเวลาแก่โจทก์สำนวนแรกเพราะโจทก์สำนวนแรกทำงานในตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงจำเลยไม่ได้ค้างจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ทุกสำนวนจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเพราะโจทก์ฝ่าฝืนข้อสัญญาอย่างร้ายแรง
ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าจ้างค้างจ่ายค่าล่วงเวลาสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยที่ขาดพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์สำนวนแรกให้จำเลยจ่ายค่าจ้างค้างจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์สำนวนที่สองให้จำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์สำนวนที่สาม
โจทก์สำนวนที่สามและจำเลยทั้งสามอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานพิพากษายกคำพิพากษาศาลแรงงานกลางให้เพิกถอนการสืยพยานโจทก์สำนวนที่สามและการสืบพยานจำเลยให้ศาลแรงงานกลางดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับคำให้การของจำเลยสำนวนที่สามให้ถูกต้องโดยสืบพยานโจทก์ในสำนวนที่สามและพยานจำเลยใหม่
ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้วพิพากษาคดีทั้งสามสำนวนให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ทั้งสามสำนวนอย่างเดียวกันกับที่พิพาทในชั้นแรก
จำเลยทั้งสามสำนวนอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่าโจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยทำงานให้แก่จำเลยในประเทศไทยมูลคดีที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าจ้างค้างจ่ายค่าทำงานล่วงเวลาสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าค่าชดเชยและค่าเสียหายในการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมเป็นคดีนี้เกิดขึ้นในประเทศไทยโจทก์จึงชอบที่จะเสนอคดีต่อศาลแรงงานกลางได้ถึงหากจำเลยจะมิได้มีภูมิลำเนาในประเทศไทยตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา33
แม้อายุสัญญาขุดเจาะน้ำมันที่จำเลยทำไว้กับบริษัทไทยเชลล์จำกัดจะกำหนดเวลาไว้แน่นอนคราวละ6เดือนแต่เมื่อโจทก์กับจำเลยมิได้ตกลงจ้างกันเพียงหมดอายุสัญญาระหว่างจำเลยกับบริษัทไทยเชลล์จำกัดคราวใดคราวหนึ่งการจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงหาใช่การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาไว้แน่นอนไม่
พิพากษายืน.