คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 394/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะประสพการขาดทุนจำนวนมากติดต่อกันแม้ไม่ได้ประกาศให้ทราบล่วงหน้าก็ถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมแล้ว. ตามระเบียบของจำเลยว่าด้วยเงินบำเหน็จฯยอดเงินที่พนักงานจะได้รับคือยอดเงินที่คำนวณตามหลักเกณฑ์ลบด้วยเงินทุกชนิดที่จำเลยต้องจ่ายให้พนักงานตามกฎหมายก่อนเงินบำเหน็จของโจทก์จึงต้องถูกลบด้วยค่าชดเชยซึ่งเป็นเงินที่จำเลยต้องจ่ายตามกฎหมายเมื่อค่าชดเชยมีจำนวนสูงกว่าเงินบำเหน็จโจทก์ก็ไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จอีก.(ที่มา-ส่งเสิรมฯ)

ย่อยาว

คดี สอง สำนวน นี้ ศาลแรงงานกลาง รวม พิจารณา โดย ให้ เรียก โจทก์ ที่1 และ โจทก์ ที่ 2 ตาม ลำดับ สำนวน
โจทก์ ทั้ง สอง ฟ้อง ขอ ให้ บังคับ จำเลย รับ โจทก์ ทั้ง สอง กลับ เข้าทำงาน ใน ตำแหน่ง หน้าที่ และ อัตรา ค่าจ้าง เดิม หาก ไม่ รับ ให้ จำเลยจ่าย เงิน บำเหน็จ แก่ โจทก์ ทั้ง สอง
จำเลย ทั้งสอง สำนวน ให้การ ว่า จำเลย เลิก จ้าง โจทก์ โดย ปฏิบัติถูกต้อง ตาม กฎหมาย และ โจทก์ ไม่ มี สิทธิ ได้ รับ เงิน บำเหน็จ
ศาลแรงงานกลาง พิพากษา ยกฟ้อง
โจทก์ ทั้ง สอง อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีแรงงาน วินิจฉัย ว่า ที่ โจทก์ ทั้ง สอง อุทธรณ์ประการ แรก ว่า จำเลย เลิก จ้าง โจทก์ ทั้ง สอง โดย ไม่ มี ความผิดที่ จำเลย อ้าง ว่า ประสพ ภาวะ การ ขาดทุน ใน ปี พ.ศ. 2526 และ 2527ไม่ เป็น ความจริง ความจริง นั้น จำเลย ยัง มี กำไร สะสม ใน ปี พ.ศ.2526 เป็น เงิน สามสิบหกล้าน บาท เศษ กับ ใน ปี พ.ศ. 2527 เป็น เงินเจ็ดล้าน บาท เศษ และ แม้ จะ มี การ ขาดทุน ตาม งบดุล ก็ มิใช่ เหตุที่ จำเลย จะ อ้าง เพื่อ เลิก จ้าง โจทก์ ทั้ง สอง ได้ ซึ่ง เป็น การวินิจฉัย คลาดเคลื่อน ต่อ กฎหมาย นั้น ปรากฏ ว่า ใน ปี พ.ศ. 2525จำเลย มี กำไร สะสม อยู่ 36,000,421 บาท แต่ ต้อง จัดสรร ไว้ ใน อัตราหนึ่ง ใน ยี่สิบ ส่วน ของ ผลกำไร เป็น ทุนสำรอง ต่อมา ใน ปี พ.ศ. 2526จำเลย ขาดทุน เป็น เงิน 28,454,121 บาท เมื่อ หัก กับ เงินทุน สำรองที่ มี อยู่ 7,546,300 บาท แล้ว จึง ฟัง ได้ ว่า ใน ปี พ.ศ. 2526ประสพ กับ การ ขาดทุน ใน ปี พ.ศ. 2527 จำเลย ขาดทุน อีก 14,275,802 บาทตาม งบ กำไร ขาดทุน และ กำไร สะสม สำหรับ ใน ปี พ.ศ. 2526 และ 2527 คงมี ยอด ขาดทุน สะสม 6,729,502 บาท ซึ่ง แสดงว่า จำเลย ประสพ การ ขาดทุนตลอดมา และ จำเลย ได้ เลิก จ้าง โจทก์ ทั้งสอง เมื่อ วันที่ 31 มกราคม2528 เช่นนี้ กรณี จึง หา ใช่ ศาลแรงงานกลาง วินิจฉัย พยานหลักฐานคลาดเคลื่อน ต่อ กฎหมาย ดัง อุทธรณ์ ของ โจทก์ ไม่ การ ที่ จำเลย ประสพการ ขาดทุน จำนวน มาก เป็น เวลา ติดต่อ กัน ตลอดมา เช่นนี้ จำเลย ย่อมมี ความ จำเป็น ต้อง ปรับปรุง แผนการ ดำเนิน ธุรกิจ ของ ตน เพื่อหลีกเลี่ยง ภาวะ ที่ กำลัง ประสพ อยู่ นั้น จึง ต้อง กระทำ การ ลดรายจ่าย ของ จำเลย เป็น เบื้องต้น โดย ไม่ จำต้อง ประกาศ ให้ ทราบล่วงหน้า การ เลิกจ้าง โจทก์ ทั้ง สอง จึง เป็น การ เลิกจ้าง ที่เป็นธรรม แล้ว ศาลแรงงานกลาง หา ได้ วินิจฉัย พยานหลักฐาน ขัด ต่อกฎหมาย ดัง อุทธรณ์ ของ โจทก์ ทั้ง สอง ไม่
ที่ โจทก์ ทั้ง สอง อุทธรณ์ ว่า เงิน บำเหน็จ เป็น เงิน ที่ อยู่ ในระเบียบ ข้อบังคับ ของ จำเลย นอกเหนือ จาก เงิน ที่ ต้อง จ่าย ตามกฎหมาย และ เป็น ส่วนหนึ่ง แห่ง สภาพ การจ้าง เงิน บำเหน็จ จึง เป็นเงิน นอกเหนือ จาก ค่าชดเชย เมื่อ จำเลย จ่าย ค่าชดเชย ให้ แก่ โจทก์ทั้ง สอง ตาม กฎหมาย แล้ว จำเลย ต้อง จ่าย เงิน บำเหน็จ ตาม ระเบียบข้อบังคับ ให้ แก่ โจทก์ ทั้ง สอง ด้วย พิเคราะห์ แล้ว เห็นว่า ตามระเบียบ ว่า ด้วย เงิน บำเหน็จ สำหรับ ผู้เกษียณ อายุ ผู้ ลาออก และผู้ ไร้ความสามารถ ตาม เอกสาร หมาย จ.7 ข้อ 6.3 กำหนด ไว้ ว่า ภายใต้เงื่อนไข ใน ระเบียบ นี้ ยอด เงิน ผลประโยชน์ สุทธิ ที่ พนักงาน จะได้ รับ คือ ยอดเงิน ที่ คำนวณ ตาม หลักเกณฑ์ ลบ ด้วย ยอดเงิน ใดๆที่ บริษัท ออก สมทบ หรือ จ่าย (ไม่ ใช่ ใน ลักษณะ เบี้ย ประกัน) ให้แก่ โครงการ กองทุน หรือ แผนงาน ที่ กฎหมาย กำหนด ไว้ เกี่ยวกับ เงินบำเหน็จ หรือ ผลประโยชน์ เมื่อ ออก จาก งาน และ จำนวน เงินทุน ชนิด ที่บริษัท จะ ต้อง สมทบ หรือ จ่าย ให้ พนักงาน ตาม กฎหมาย ซึ่ง มี ความหมายว่า แม้ โจทก์ ทั้ง สอง มี สิทธิ ได้ รับ เงิน บำเหน็จ ตาม ระเบียบนี้ ก็ ตาม ก็ ยัง คง ต้อง ถูก บังคับ ตาม ข้อ 6.3 ซึ่ง เป็น ข้อ ยกเว้นว่าเงิน บำเหน็จ ของ โจทก์ ทั้ง สอง ต้อง ถูก ลบ หรือ หัก ด้วย จำนวน เงินทุก ชนิด ที่ จำเลย จะ ต้อง จ่าย ให้ พนักงาน ตาม กฎหมาย ค่าชดเชยเป็น เงิน ที่ จำเลย มี หน้าที่ ต้อง จ่าย ให้ แก่ โจทก์ ทั้ง สอง เมื่อเลิก จ้าง ตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน จึงเป็น เงิน ที่ จำเลย ต้อง จ่าย ตาม กฎหมาย ตาม นัย ระเบียบ ของ จำเลยดังกล่าว จึง ต้องนำ ค่าชดเชย มา ลบออก จาก เงิน บำเหน็จ ที่ โจทก์ทั้ง สอง มี สิทธิ ได้ รับ เมื่อ ค่าชดเชย มี จำนวน สูงกว่า เงินบำเหน็จ เช่นนี้ โจทก์ ทั้ง สอง ก็ ไม่ มี สิทธิ ได้ รับ เงิน บำเหน็จอีก
พิพากษา ยืน

Share