แหล่งที่มา : ADMIN
ย่อสั้น
โจทก์ฟ้องว่าอ.ทำกลฉ้อฉลหลอกลวงขายที่ดินให้โจทก์โดยอ้างว่าที่ดินดังกล่าวมีเนื้อที่เต็มตามโฉนดโจทก์หลงเชื่อจึงทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินดังกล่าวกับอ.ภายหลังโจทก์รังวัดที่ดินดังกล่าวได้เนื้อที่ไม่เต็มตามโฉนดโดยบางส่วนถูกตัดเป็นถนนโจทก์จึงบอกเลิกสัญญาแก่อ.ขอเรียกมัดจำคืนและเรียกค่าเสียหายประเด็นมีว่าการซื้อขายที่ดินดังกล่าวเกิดจากการหลอกลวงของอ.หรือไม่การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์สำคัญผิดในจำนวนที่ดินซึ่งเป็นสาระสำคัญของนิติกรรมสัญญาซื้อขายเป็นโมฆะจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น. อ.ถูกโจทก์ฟ้องเป็นจำเลยในคดีอาญาข้อหาฉ้อโกงศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องคดีอยู่ระหว่างอายุอุทธรณ์อ.ถึงแก่กรรมโจทก์จึงฟ้องทายาทและผู้จัดการมรดกอ.เป็นจำเลยคดีแพ่งว่าอ.ทำกลฉ้อฉลหลอกลวงขายที่ดินให้โจทก์เรียกเงินมัดจำคืนและเรียกค่าเสียหายแม้คดีอาญาข้อหาฉ้อโกงจะต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงแต่โจทก์อาจอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายหรืออาจได้รับการรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้คดีอาญาระงับไปก่อนคดีถึงที่สุด.ดังนั้นจะนำข้อเท็จจริงในคดีอาญามารับฟังในคดีแพ่งไม่ได้ต้องฟังข้อเท็จจริงในคดีแพ่งใหม่.
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ ที่ 2 และ โจทก์ ที่ 3 เป็น กรรมการ ของ โจทก์ที่ 1 เมื่อ ต้นปี พ.ศ. 2521 นาย อุทัย เสมรสุต ได้ เสนอ ขาย ที่ดินโฉนด เลขที่ 3568 ตำบล อ้อมน้อย อำเภอ กระทุ่มแบน จังหวัด สมุทรสาครเนื้อที่ 5 ไร่ 1 งาน 81 ตารางวา ให้ แก่ ผู้เริ่ม ก่อการ ตั้ง โจทก์ที่ 1 กับ โจทก์ ที่ 2 และ โจทก์ ที่ 3 โดย นาย อุทัย ทำ กล ฉ้อฉลหลอกลวง ว่า ที่ดิน ดังกล่าว มี เนื้อที่ เต็ม ตาม โฉนด ผู้เริ่ม ก่อการตั้ง โจทก์ ที่ 1 กับ โจทก์ ที่ 2 และ โจทก์ ที่ 3 หลงเชื่อ จึง ตกลงซื้อ เป็น เงิน 825,000 บาท และ ทำ สัญญา จะ ซื้อขาย กัน เมื่อ วันที่14 มิถุนายน 2521 วาง เงิน มัดจำ ไว้ เป็น เงิน 325,000 บาท ราคา ที่ดินส่วน ที่ เหลือ ชำระ ไว้ เป็น เช็ค ลง วันที่ ล่วงหน้า ต่อมา เดือนสิงหาคม 2521 ผู้เริ่ม ก่อการ ตั้ง โจทก์ ที่ 1 ได้ ทำการ รังวัด ที่ดินดังกล่าว ปรากฏ ว่า มี เนื้อที่ เพียง 3 ไร่เศษ ส่วน อีก 2 ไร่เศษ ถูกตัด เป็น ถนน ที่ดิน จึง ไม่ พอ แก่ การ ตั้ง โรงงาน ของ โจทก์ ที่ 1จึง ต้อง เสีย เวลา หา ซื้อ ที่ดิน แปลง ใหม่ วัสดุ ก่อสร้าง โรงงานราคา สูงกว่า เดิม ต้อง ขาด ประโยชน์ ที่ ควร ได้ ที่ ต้อง ประกอบธุรกิจ ล่าช้า เป็น เงิน 200,000 บาท โจทก์ ทั้ง สาม ได้ บอกเลิก สัญญาจะ ซื้อ จะ ขาย แก่ นาย อุทัย ต่อมา วันที่ 27 เมษายน 2523 นาย อุทัยถึงแก่กรรม โดย มิได้ ทำ พินัยกรรม และ ไม่ ได้ ตั้ง ผู้จัดการ มรดกจำเลย ทั้ง สอง ใน ฐานะ บุตร และ ทายาท โดยธรรม ของ นาย อุทัย ต้องรับผิด ต่อ โจทก์ ขอ ให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สอง คืน เงิน มัดจำ พร้อมดอกเบี้ย และ ค่าเสียหาย
จำเลย ที่ 1 และ จำเลย ที่ 2 ให้การ ว่า การ ที่ นาย อุทัย ทำ สัญญาจะ ซื้อ ขาย ที่ดิน ดังกล่าว ไม่ ได้ ทำ กล ฉ้อฉล หลอกลวง โจทก์ เพราะก่อน ทำ สัญญา โจทก์ ที่ 2 และ โจทก์ ที่ 3 ได้ ตรวจดู โฉนด และ รูปจำลอง แผนที่ หลัง โฉนด แล้ว และ ได้ ตรวจดู สภาพ อาณาบริเวณ ที่ดินด้วย นาย อุทัย ไม่ เคย บอก โจทก์ ที่ 2 และ โจทก์ ที่ 3 ว่า ที่ดินมี เนื้อที่ สร้าง โรงงาน ได้ เต็ม เนื้อที่ โจทก์ ไม่ ชำระ ราคา ที่ดินที่ เหลือ จึง เป็น ฝ่าย ผิด สัญญา ไม่ มี สิทธิ เรียก ค่าเสียหายฟ้อง เคลือบคลุม โจทก์ เคย ฟ้อง นาย อุทัย ต่อ ศาลแขวง พระนครเหนือข้อหา ฉ้อโกง ศาล พิพากษา ยกฟ้อง โจทก์ ที่ 1 ไม่ มี อำนาจฟ้อง เพราะที่ ประชุม ตั้ง โจทก์ ที่ 1 มิได้ เสนอ และ ลงมติ ให้ โจทก์ ที่ 1รับ เอา สัญญา จะ ซื้อ ขาย ฉบับนี้
นาง จำเนียร เสมรสุต ผู้จัดการ มรดก ของ นาย อุทัย ขอ เข้า เป็นจำเลยร่วม โดย ขอ ถือ เอา คำให้การ ของ จำเลย ที่ 1 และ จำเลย ที่ 2เป็น ของ จำเลยร่วม ศาลชั้นต้น อนุญาต
ศาลชั้นต้น วินิจฉัย ว่า ฟ้อง โจทก์ ไม่ เคลือบคลุม โจทก์ ที่ 1 มีอำนาจฟ้อง นาย อุทัย ไม่ ได้ ทำ กล ฉ้อฉลา หลอกลวง โจทก์ แต่ โจทก์สำคัญผิด ใน จำนวน ที่ดิน ซึ่ง เป็น สาระ สำคัญ ของ นิติกรรม สัญญา จะซื้อ ขาย จึง เป็น โมฆะ นาย อุทัย ต้อง คืน เงิน มัดจำ ให้ โจทก์ แต่โจทก์ ไม่ มี สิทธิ เรียก ค่าเสียหาย พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สาม ในฐานะ ทายาท และ ผู้จัดการ มรดก ของ นาย อุทัย ชำระ เงิน จำนวน 325,000บาท แก่ โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ย
โจทก์ ทั้ง สาม และ จำเลย ทั้ง สาม อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่า นาย อุทัย ไม่ ได้ ทำ กล ฉ้อฉล หลอกลวง โจทก์โจทก์ ไม่ มี สิทธิ บอกเลิก สัญญา และ เรียก เงิน มัดจำ คืน ฟ้อง โจทก์ไม่ ได้ ตั้ง ประเด็น ว่า โจทก์ สำคัญ ผิด ใน สาระ สำคัญ แห่ง นิติกรรมที่ ศาลชั้นต้น วินิจฉัย ว่า โจทก์ สำคัญผิด ใน สาระ สำคัญ แห่งนิติกรรม สัญญา จะ ซื้อ ขาย เป็น โมฆะ นาย อุทัย ต้อง คืน เงิน มัดจำแก่ โจทก์ จึง นอกฟ้อง นอกประเด็น โจทก์ ไม่ มี สิทธิ เรียก เงิน มัดจำและ ค่าเสียหาย พิพากษา กลับ ยกฟ้อง
โจทก์ ทั้ง สาม ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ปัญหา ข้อกฎหมาย ว่า คดี มี ปัญหา ตาม ฎีกา ของ โจทก์ว่า ที่ ศาลชั้นต้น วินิจฉัย ว่า สัญญา จะซื้อขาย ระหว่าง โจทก์ กับ นายอุทัย เป็น โมฆะ เพราะ โจทก์ สำคัญ ผิด ใน จำนวน ที่ดิน ซึ่ง เป็น สาระสำคัญ แห่ง นิติกรรม นั้น เป็น การ วินิจฉัย นอกฟ้อง นอกประเด็น ดังศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย หรือไม่ ใน ปัญหา ดังกล่าว ปรากฏ ว่า ศาลชั้นต้นกำหนด ประเด็น ข้อพิพาท ไว้ 3 ประเด็น คือ 1. การ จะ ซื้อ ขาย ที่ดินเกิดจาก การ หลอกลวง ของ นาย อุทัย หรือไม่ 2. โจทก์ จะ เรียก มัดจำ คืนและ ค่าเสียหาย ได้ เพียงใด และ 3. ฟ้อง เคลือบคลุม หรือไม่ โจทก์ ไม่ได้ โต้แย้ง คัดค้าน ว่า ศาลชั้นต้น กำหนด ประเด็น ไม่ ถูกต้อง จะ เห็นว่า ศาลชั้นต้น ไม่ ได้ กำหนด ประเด็น ข้อพิพาท ไว้ ว่า สัญญา จะ ซื้อขาย เป็น โมฆะ เพราะ เหตุ โจทก์ สำคัญผิด ใน สาระ สำคัญ แห่ง นิติกรรมหรือไม่ ดังนั้น การ ที่ ศาลชั้นต้น ยก ประเด็น ดังกล่าว ขึ้น วินิจฉัยจึง เป็น การ วินิจฉัย นอก ประเด็น ข้อพิพาท ที่ โจทก์ ฎีกา ว่า คดี นี้ เป็น คดีแพ่ง เกี่ยวเนื่อง กับ คดีอาญา หมายเลขแดง ที่ 4696/2523 ที่ศาลแขวง พระนครเหนือ พิพากษา ยกฟ้อง โดย พยานหลักฐาน ฟัง ไม่ ได้ ว่านาย อุทัย มี เจตนา หลอกลวง ขาย ที่ดิน โจทก์ นาย อุทัย ตาย ใน ระหว่างอายุ อุทธรณ์ คดี ดังกล่าว การ ที่ ศาลอุทธรณ์ ฟัง ข้อเท็จจริง คดี นี้ตาม ข้อเท็จจริง ที่ ปรากฏ ใน คดีอาญา ดังกล่าว ชอบ หรือไม่ เห็นว่าคดีอาญา ดังกล่าว ศาลแขวง พระนครเหนือ พิพากษา ยกฟ้อง แม้ จะ ต้องห้ามอุทธรณ์ ใน ปัญหา ข้อเท็จจริง ตาม พระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญา ในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 22 ที่ แก้ไข แล้วแต่ โจทก์ ก็ อาจ อุทธรณ์ ใน ปัญหา ข้อกฎหมาย ได้ หรือ อาจ ได้ รับ การรับรอง ให้ อุทธรณ์ ใน ปัญหา ข้อเท็จจริง ได้ ตาม มาตรา 22 ทวิ ถ้า หากมี การ อุทธรณ์ ดังกล่าว อาจ ทำ ให้ คำพิพากษา ศาลชั้นต้น เปลี่ยนแปลงไป ได้ เมื่อ นาย อุทัย ตาย ระหว่าง อายุ อุทธรณ์ ย่อม ทำ ให้ คดี ระงับไป ทั้ง เรื่อง ก่อน คดี ถึงที่สุด ทำ ให้ โจทก์ หมดสิทธิ อุทธรณ์ดังนั้น จะ นำ ข้อเท็จจริง ใน คดี ที่ ยัง ไม่ ถึงที่สุด มา รับฟัง ในคดีแพ่ง ที่ เกี่ยวเนื่อง กับ คดีอาญา นั้น ย่อม ไม่ ได้ เป็น การไม่ ชอบ ด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 ต้อง พิจารณาข้อเท็จจริง ใหม่
พิพากษา ยืน.