คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2516/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

โจทก์ได้รับโอนกิจการทรัพย์สินหนี้สินและเงินงบประมาณในส่วนที่เกี่ยวกับโรงเรียนประชาบาลจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดตามพระราชบัญญัติโอนกิจการบริหารฯเป็นการโอนโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายไม่อยู่ในบังคับบทบัญญัติว่าด้วยการโอนสิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์สิทธิในการฟ้องผู้ต้องรับผิดตามสัญญาจ้างเหมาและผู้ทำละเมิดเกี่ยวกับสัญญาดังกล่าวจึงโอนมาเป็นของโจทก์ ผู้ว่าราชการจังหวัดได้ไปร่วมงานศพของ พ. กับ ม. โดยตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัดพ.ศ.2498บัญญัติให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นนิติบุคคลมีสภาจังหวัดและผู้ว่าราชการจังหวัดดำเนินกิจการส่วนจังหวัดถือได้ว่าผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้แทนขององค์การบริหารส่วนจังหวัดและได้รู้ถึงการตายของ พ. กับ ม. แล้วโจทก์ซึ่งรับโอนกิจการทรัพย์สินในส่วนที่เกี่ยวกับโรงเรียนประชาบาลมาจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดฟ้องจำเลยที่4และที่5ในฐานะทายาทของ พ.กับ ม. เมื่อพ้นกำหนด1ปีนับแต่วันที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดรู้ถึงความตายของ พ. กับ ม. ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยทั้งสองจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1754 ตามระเบียบของทางราชการคณะกรรมการสืบสวนหาข้อเท็จจริงไม่ใช่คณะกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดทางแพ่งหากโจทก์ฟ้องคดียังไม่พ้น1ปีหลังจากที่เลขาธิการโจทก์ทราบการละเมิดและรู้ตัวผู้ต้องรับผิดทางแพ่งคดีโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ จำเลยที่1ถึงที่3ในฐานะกรรมการตรวจการจ้างทำครุภัณฑ์มิได้ไปตรวจรับงานณสถานที่ส่งมอบและผู้รับจ้างยังส่งงานไม่ครบด้วยแต่กลับทำบันทึกการตรวจรับงานเสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัดว่าผู้รับจ้างได้สร้างงานตามสัญญาถูกต้องสมควรจ่ายเงินให้แก่ผู้รับจ้างทำให้โจทก์เสียหายไม่ได้รับมอบครุภัณฑ์จากผู้รับจ้างครบถ้วนภายในเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาแต่ต้องชำระเงินให้แก่ผู้รับจ้างไปก่อนการกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นการทำละเมิด

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ฐาน ละเมิด ขอให้ บังคับ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 และ ที่ 5ร่วมกัน ชำระ เงิน จำนวน 426,827.50 บาท แก่ โจทก์ จำเลย ที่ 1ถึง ที่ 4 ร่วมกัน ชำระ เงิน จำนวน 578,510 บาท แก่ โจทก์ พร้อม ด้วยดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี ของ ต้นเงิน 411,400 บาท และ ต้นเงิน557,600 บาท ตามลำดับ นับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ทั้ง ห้า ให้การ ทำนอง เดียว กัน ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น วินิจฉัย ว่า โจทก์ ฟ้อง เมื่อ พ้น 1 ปี นับแต่ วัน รู้ ถึงการ ละเมิด และ รู้ตัว ผู้ จะ ต้อง ใช้ ค่าสินไหมทดแทน ทั้ง มิได้ ฟ้องร้อง จนพ้น กำหนด 1 ปี นับแต่ วันที่ ผู้ว่าราชการจังหวัด นครราชสีมา รู้ ถึงความตาย ของ นาย พงษ์ศักดิ์ หล่อธาราประเสริฐ และ นาย มานิตย์ โตมรศักดิ์ ฟ้องโจทก์ จึง ขาดอายุความ พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว คดี มี ปัญหา ตาม ที่ โจทก์ ฎีกาว่า ฟ้องโจทก์ ขาดอายุความ หรือไม่ ข้อเท็จจริง ที่ คู่ความ ไม่ โต้เถียงกัน ฟังได้ ใน เบื้องต้น ว่า เมื่อ วันที่ 15 กันยายน 2520ผู้ว่าราชการจังหวัด นครราชสีมา ทำ สัญญาจ้าง เหมา ห้างหุ้นส่วนจำกัดเชิด ชัยผลิตภัณฑ์ ไม้ ไทย และ ห้างหุ้นส่วนจำกัด มานิตย์ค้าวัสดุก่อสร้าง ให้ จัดทำ ครุภัณฑ์ การศึกษา และ จัด ส่ง ให้ แก่ โรงเรียน ประชาบาล ต่าง ๆ ใน จังหวัด นครราชสีมา ตาม สัญญาจ้างเหมา ทำ ครุภัณฑ์ การศึกษา เอกสาร หมาย จ. 3, จ. 4 จำเลย ที่ 1ถึง ที่ 3 นาย พงษ์ศักดิ์ หล่อธาราประเสริฐ และ นาย มานิตย์ โตมรศักดิ์ ได้รับ แต่งตั้ง เป็น กรรมการ ตรวจ การจ้าง ทำ ครุภัณฑ์ การศึกษา ดังกล่าว ตาม เอกสาร หมาย จ. 7, จ. 8 ต่อมาวันที่ 15 มิถุนายน 2521 จำเลย ที่ 1 ที่ 2 นาย มานิตย์ และ นาย พงษ์ศักดิ์ ทำ หลักฐาน การ ตรวจรับ งาน จ้างเหมา ว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัด เชิดชัยผลิตภัณฑ์ไม้ไทย จัดทำ ครุภัณฑ์ การศึกษา ถูกต้อง ตาม สัญญา คณะกรรมการ ได้ ทำการ ตรวจรับ เห็นว่า ถูกต้อง ตาม สัญญา แล้วตั้งแต่ วันที่ 20 พฤษภาคม 2521 ตาม ใบ ตรวจรับ งาน จ้างเหมาเอกสาร หมาย จ. 11 และ วันที่ 21 มิถุนายน 2521 จำเลย ที่ 1ถึง ที่ 3 และ นาย พงษ์ศักดิ์ ทำ หลักฐาน การ ตรวจรับ งาน จ้างเหมา ว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัด มานิตย์ค้าวัสดุก่อสร้าง จัดทำ ครุภัณฑ์ การศึกษา ถูกต้อง ตาม สัญญา คณะกรรมการ ได้ ทำการ ตรวจรับ เห็นว่าถูกต้อง ตาม สัญญา แล้ว ตั้งแต่ วันที่ 21 พฤษภาคม 2521 ตาม ใบ ตรวจรับงาน จ้างเหมา เอกสาร หมาย จ. 12 และ ได้ มี การ จ่ายเงิน ตาม สัญญาแก่ ห้าง ทั้ง สอง แล้ว ต่อมา มี ผู้ร้องเรียน ต่อ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ว่าการ จ้างเหมา ทำ ครุภัณฑ์ การศึกษา ดังกล่าวมี พฤติการณ์ ส่อ ไป ใน ทาง ไม่สุจริต ตาม รายละเอียด ใน เอกสาร หมาย จ. 9ผู้ว่าราชการจังหวัด นครราชสีมา ได้ ตั้ง คณะกรรมการ สืบสวน ข้อเท็จจริงผู้ว่าราชการจังหวัด นครราชสีมา ได้รับ รายงาน การ สืบสวน ข้อเท็จจริงตาม เอกสาร หมาย จ. 10 เมื่อ วันที่ 4 มกราคม 2522 ต่อมา ได้ มี การประกาศ ใช้ พระราชบัญญัติ แก้ไข เพิ่มเติม ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 216 ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2515 (ฉบับที่ 26) พ.ศ. 2523ให้ สำนักงาน คณะกรรมการ การ ประถมศึกษา แห่งชาติ โจทก์ เป็น กรมใน กระทรวงศึกษาธิการ และ พระราชบัญญัติ โอน กิจการ บริหารโรงเรียน ประชาบาล ของ องค์การบริหารส่วนจังหวัด และ โรงเรียน ประถมศึกษา ของ กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ไป เป็น ของสำนักงาน คณะกรรมการ การ ประถมศึกษา แห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการพ.ศ. 2523 โจทก์ ได้ ให้ ผู้ว่าราชการจังหวัด นครราชสีมา แต่งตั้งคณะกรรมการ สอบสวน เพื่อ พิจารณา หา ผู้รับผิด ใน ทางแพ่ง ใน กรณี ดังกล่าวโจทก์ ได้รับ รายงาน จาก คณะกรรมการ สอบสวน เพื่อ พิจารณา หา ผู้รับผิดทางแพ่ง เมื่อ วันที่ 22 เมษายน 2529 ตาม เอกสาร หมาย จ. 22นาย พงษ์ศักดิ์ ตาย เมื่อ วันที่ 31 ธันวาคม 2521 นาย มานิตย์ ตาย เมื่อ วันที่ 3 ตุลาคม 2521 จำเลย ที่ 4 เป็น ทายาท ของ นาย พงษ์ศักดิ์ จำเลย ที่ 5 เป็น ทายาท ของ นาย มานิตย์ ปัญหา ว่า ฟ้องโจทก์ สำหรับ จำเลย ที่ 4 และ ที่ 5 ขาดอายุความ หรือไม่ โดย โจทก์ ฎีกา ว่า หากนาย เลิศ หงษ์ภักดี ผู้ว่าราชการจังหวัด นครราชสีมา อาจจะ ทราบ ถึง การ ตาย ของ นาย พงษ์ศักดิ์และนายมานิตย์ ก็ เป็น เรื่อง การ ทราบ ใน ฐานะ ที่ เป็น บุคคล ดำรง ตำแหน่ง ผู้ว่าราชการจังหวัด นครราชสีมามิใช่ เป็น การ ทราบ ใน ฐานะ ที่ ปฏิบัติ หน้าที่ แทน องค์การ บริหาร ส่วนจังหวัด นครราชสีมา ซึ่ง เป็น ผู้เสียหาย เกี่ยวกับ การ ละเมิด นั้นข้อ นี้ นาย สุพจน์ เสนาบุญฤทธิ์ พยานโจทก์ ซึ่ง รับ ราชการ เป็น เสมียนตราจังหวัด นครราชสีมา เบิกความ ตอบ คำถามค้าน ทนายจำเลยว่า เสี่ย สี่ ซึ่ง ชื่อ จริง ว่า อะไร ไม่ทราบ แต่ เป็น กรรมการ คนหนึ่ง กับ นาย มานิตย์ ถึงแก่กรรม เมื่อ ปี 2521 ผู้ว่าราชการจังหวัด นครราชสีมา ได้ ไป งาน ศพเสี่ย สี่ และ นาย มานิตย์ น่าเชื่อ ว่า เสี่ย สี่ คือ นาย พงษ์ศักดิ์ ซึ่ง เป็น กรรมการ ตรวจรับ ครุภัณฑ์ ด้วย ฟังได้ ว่า ผู้ว่าราชการจังหวัด นครราชสีมา รู้ ถึง ความตาย ของนาย มานิตย์ ตั้งแต่ ปี 2521 และ รู้ ถึง ความตาย ของ นาย พงษ์ศักดิ์ อย่างช้า เมื่อ ต้น ปี 2522 พระราชบัญญัติ ระเบียบ บริหาร ราชการ ส่วนจังหวัด พ.ศ. 2498 มาตรา 5 บัญญัติ ว่า ให้ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็น นิติบุคคล มี สภาจังหวัด และ ผู้ว่าราชการจังหวัด ดำเนิน กิจการส่วน จังหวัด ตาม บทบัญญัติ แห่ง พระราชบัญญัติ นี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา จึง เป็น ผู้แทน ของ องค์การบริหารส่วนจังหวัด นครราชสีมาตาม บทบัญญัติ ดังกล่าว ย่อม ถือได้ว่า ผู้ว่าราชการจังหวัด นครราชสีมาใน ฐานะ ที่ เป็น ผู้แทน ของ องค์การบริหารส่วนจังหวัด นครราชสีมารู้ ถึง ความตาย ของ นาย มานิตย์และนายพงษ์ศักดิ์ แล้ว จึง ฟังได้ ว่า องค์การบริหารส่วนจังหวัด นครราชสีมา รู้ ถึง ความตาย ของ นาย มานิตย์ ตั้งแต่ ปี 2521 และ รู้ ถึง ความตาย ของ นาย พงษ์ศักดิ์ ตั้งแต่ ต้น ปี 2522 โจทก์ ซึ่ง รับโอน บรรดา กิจการ ทรัพย์สิน หนี้สิน ใน ส่วน ที่ เกี่ยวกับโรงเรียน ประชาบาล มาจาก องค์การบริหารส่วนจังหวัด ตาม กฎหมายฟ้องคดี นี้ เมื่อ วันที่ 21 เมษายน 2530 พ้น กำหนด 1 ปี นับแต่ วันที่องค์การบริหารส่วนจังหวัด นครราชสีมา รู้ ถึง ความตาย ของ นาย พงษ์ศักดิ์ และ นาย มานิตย์ ฟ้องโจทก์ ใน ส่วน ที่ เกี่ยวกับ จำเลย ที่ 4 และ ที่ 5จึง ขาดอายุความ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754
ปัญหา ว่า ฟ้องโจทก์ สำหรับ จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 3 ขาดอายุความหรือไม่ โจทก์ ฎีกา ว่าการ ตั้ง คณะกรรมการ สืบสวน หา ข้อเท็จจริงเป็น แต่เพียง การ สืบสวน ว่า ผู้รับจ้าง ได้ จัด ส่ง ครุภัณฑ์ การศึกษา ภายในกำหนด ตาม สัญญา หรือไม่ หาก ส่ง ไม่ครบ เป็น เพราะ เหตุใด ใคร เป็น ผู้รับผิดค่าเสียหาย เบี้ยปรับ ตาม สัญญา เป็น เท่าใด ไม่มี การ สืบสวนถึง ประเด็น ว่า จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 3 นาย พงษ์ศักดิ์และนายมานิตย์ กระทำ ละเมิด ลักษณะ ไหน อย่างไร เกิด ความเสียหาย เท่าใด แม้ผู้ว่าราชการจังหวัด นครราชสีมา ได้รับ รายงาน การ สืบสวน หา ข้อเท็จจริงก็ ถือไม่ได้ว่า ได้ รู้ ถึง การ ละเมิด และ รู้ตัว ผู้ พึง จะ ต้อง ใช้ค่าสินไหมทดแทน ต่อเมื่อ มี การ ตั้ง คณะกรรมการ สอบสวน เพื่อพิจารณา หา ผู้รับผิดชอบ ทางแพ่ง แล้ว โจทก์ จึง รู้ ถึง การ ละเมิด และรู้ตัว ผู้ พึง จะ ต้อง ใช้ ค่าสินไหมทดแทน เห็นว่า รายงาน ของ คณะกรรมการสืบสวน หา ข้อเท็จจริง เอกสาร หมาย จ. 10 แม้ ตาม ข้อ 11.3 จะ มีข้อความ ว่า คณะกรรมการ สืบสวน หา ข้อเท็จจริง เห็นว่า การ ปฏิบัติงานของ คณะกรรมการ ตรวจ การจ้าง ละเว้น การ ปฏิบัติ อัน พึง จะ ต้อง ปฏิบัติตาม หน้าที่ จน เป็นเหตุ ให้ เกิด ความเสียหาย แก่ ทางราชการ ด้วย แต่ กรณีที่ มี การทุจริต เสียหาย ต่อ ทางราชการ นั้น จะ ต้อง มี การ ตั้ง กรรมการดำเนินการ สอบสวน หา ตัว ผู้รับผิดชอบ ใน ทางแพ่ง ด้วย เมื่อ สอบสวนเสร็จ แล้ว ต้อง ดำเนินการ ไล่เบี้ย เรียกเงิน ชดใช้ จาก ผู้ร่วมรับผิด ชอบทันที ตาม นัย หนังสือ สำนักงาน เลขาธิการ คณะรัฐมนตรี ที่ นว.155/2503ลงวันที่ 1 ธันวาคม 2503 เรื่อง ความรับผิด ชอบ ของ ทางราชการใน ทางแพ่ง (เอกสาร ใน สำนวน สารบัญ อันดับ 56) และ ตาม รายงานการ ตรวจสอบ สืบสวน ของ สำนักงาน ตรวจ เงิน แผ่นดิน ภูมิภาค ที่ 3เอกสาร หมาย จ. 15 แผ่น ที่ 5 ก็ ได้ เสนอแนะ ให้ ดำเนินการ กับคณะกรรมการ ตรวจ การจ้าง ตาม นัย หนังสือ สำนักงาน เลขาธิการ คณะรัฐมนตรีดังกล่าว โดย แต่งตั้ง กรรมการ ขึ้น พิจารณา หา ตัว ผู้รับผิด ใน ทางแพ่งเช่นกัน เห็น ได้ว่า คณะกรรมการ สืบสวน หา ข้อเท็จจริง ไม่ใช่คณะกรรมการ สอบสวน หา ตัว ผู้รับผิด ใน ทางแพ่ง ทั้ง ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ก็ มิได้ ทวงถาม จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 3 ให้ ชดใช้ ค่าเสียหาย แต่อย่างใด แม้ ต่อมา ผู้ว่าราชการจังหวัด นครราชสีมา จะ ได้ ร้องทุกข์ต่อ พนักงานสอบสวน ให้ ดำเนินคดี อาญา แก่ จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 3 ก็ ยัง ถือไม่ได้ ว่า ผู้ว่าราชการจังหวัด นครราชสีมา ได้ รู้ ถึง ตัว ผู้จะพึงต้อง ใช้ ค่าสินไหมทดแทน ให้ แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด นครราชสีมาโจทก์ ซึ่ง ได้รับ โอนสิทธิ และ หน้าที่ ตลอดจน หนี้สิน ต่าง ๆ จาก องค์การบริหาร ส่วน จังหวัด นครราชสีมา ตาม พระราชบัญญัติ โอน กิจการ บริหารโรงเรียน ประชาบาล ของ องค์การบริหารส่วนจังหวัด และ โรงเรียนประถมศึกษา ของ กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ไป เป็น ของสำนักงาน คณะกรรมการ การ ประถมศึกษา แห่งชาติ พ.ศ. 2523ได้ ดำเนินการ ตั้ง คณะกรรมการ ขึ้น ทำการ สอบสวน หา ตัว ผู้รับผิดใน ทางแพ่ง คณะกรรมการ สอบสวน ทำการ สอบสวน แล้ว มี ความเห็น ว่าจำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 3 จะ ต้อง รับผิด ใน ทางแพ่ง และ เสนอ รายงาน ดังกล่าวต่อ โจทก์ เมื่อ วันที่ 22 เมษายน 2529 เลขาธิการ โจทก์ ทราบ เรื่องวันที่ 20 พฤษภาคม 2529 โจทก์ ฟ้องคดี นี้ วันที่ 21 เมษายน 2530ยัง ไม่ พ้น 1 ปี นับแต่ วันที่ โจทก์ รู้ ถึง การ ละเมิด และ รู้ตัว ผู้จะพึงต้อง ใช้ ค่าสินไหมทดแทน ฟ้องโจทก์ ใน ส่วน ที่ เกี่ยวกับ จำเลย ที่ 1 ถึงที่ 3 จึง ไม่ขาดอายุความ ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 วินิจฉัย ว่า ฟ้องโจทก์ ใน ส่วน ที่ เกี่ยวกับ จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 3 ขาดอายุความ ไม่ต้อง ด้วยความเห็น ของ ศาลฎีกา ฎีกา ของ โจทก์ ฟังขึ้น บางส่วน และ ศาลฎีกา เห็นว่าตาม ประเด็น ข้อพิพาท ที่ ศาลชั้นต้น กำหนด นั้น โจทก์ กับ จำเลย ต่าง นำสืบพยานหลักฐาน ไว้ แล้ว สมควร วินิจฉัย ไป โดย ไม่จำต้อง ย้อนสำนวน ไป ให้ศาลชั้นต้น พิจารณา และ วินิจฉัย อีก ซึ่ง ศาลฎีกา จะ ได้ วินิจฉัย ประเด็นต่าง ๆ ตามลำดับ ไป
ประเด็น ว่า โจทก์ เป็น ผู้ต้อง เสียหาย ซึ่ง มีอำนาจ ฟ้อง หรือไม่และ โจทก์ ต้อง บอกกล่าว การ โอนสิทธิ เรียกร้อง หรือไม่ เห็นว่าโจทก์ ได้รับ โอน กิจการ ทรัพย์สิน หนี้สิน และ เงิน งบประมาณ ส่วน ที่ เป็นเงิน อุดหนุน งบ ประถมศึกษา ของ องค์การบริหารส่วนจังหวัด ใน ส่วนที่ เกี่ยวกับ โรงเรียน ประชาบาล ตาม พระราชบัญญัติ โอน กิจการ บริหารโรงเรียน ประชาบาล ของ องค์การบริหารส่วนจังหวัด และ โรงเรียนประถมศึกษา ของ กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการไป เป็น ของ สำนักงาน คณะกรรมการ การ ประถมศึกษา แห่งชาติกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2523 ดังนั้น สิทธิ ใน การ ฟ้องร้อง ผู้ พึงต้อง รับผิด เกี่ยวกับ สัญญาจ้าง เหมา ใน คดี นี้ ตลอดจน ผู้กระทำ ละเมิดเกี่ยวกับ สัญญา ดังกล่าว จึง โอน มา เป็น ของ โจทก์ โจทก์ จึง มีอำนาจ ฟ้องและ การ โอน กิจการ ทรัพย์สิน และ หนี้ ดังกล่าว เป็น การ โอน โดย การ บัญญัติแห่งกฎหมาย ไม่อยู่ ใน บังคับ บทบัญญัติ ว่าด้วย การ โอนสิทธิ เรียกร้องแห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 2 ลักษณะ 1 หมวด 4โจทก์ จึง ไม่จำต้อง บอกกล่าว การ โอนสิทธิ เรียกร้อง
ประเด็น ว่า จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 3 กระทำ ละเมิด หรือไม่ เห็นว่าตาม สัญญาจ้าง เหมา ทำ ครุภัณฑ์ การศึกษา เอกสาร หมาย จ. 3, จ. 4 กำหนด ว่าผู้รับจ้าง จะ ต้อง จัด ส่ง ครุภัณฑ์ การศึกษา แก่ โรงเรียน ประชาบาล ต่าง ๆใน จังหวัด นครราชสีมา ให้ เสร็จสิ้น ภายใน วันที่ 22 พฤษภาคม 2521การ ตรวจรับ การจ้าง ของ กรรมการ จึง ต้อง ไป ตรวจรับ ณโรงเรียน ประชาบาล ต่าง ๆ ซึ่ง ผู้รับจ้าง จะ ต้อง นำ ครุภัณฑ์ การศึกษาไป ส่งมอบ กรรมการ ตรวจ การจ้าง จึง จะ สามารถ รู้ ได้ว่า ผู้รับจ้างส่งมอบ ครุภัณฑ์ การศึกษา ภายใน กำหนด เวลา ตาม ที่ ระบุ ใน สัญญา หรือไม่นาย ประวิทย์ อมรสิน เจ้าหน้าที่ ของ สำนักงาน ตรวจ เงิน แผ่นดิน พยานโจทก์ เบิกความ ว่า ได้ ไป สอบถาม ครูใหญ่ โรงเรียน ต่าง ๆและ ให้ ครูใหญ่ ทำ เอกสาร ยืนยัน วันที่ ได้ ตรวจรับ ครุภัณฑ์ การศึกษาตาม เอกสาร หมาย ปจ. 1 ถึง ปจ. 43 (ศาลจังหวัด อุบลราชธานี ) และ ได้ทำ บัญชี ไว้ ตาม เอกสาร หมาย ปจ. 45 ถึง ปจ. 99 (ศาลจังหวัด อุบลราชธานี )ตาม บัญชี นั้น ปรากฏว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัด เชิดชัยผลิตภัณฑ์ไม้ไทย ผู้รับจ้าง ส่งมอบ ครุภัณฑ์ การศึกษา แก่ โรงเรียน ประชาบาล ล่าช้า กว่ากำหนด เวลา ใน สัญญา หลาย โรงเรียน โดย โรงเรียน ที่ ส่ง ล่าช้ามี การ ส่งมอบ ตั้งแต่ วันที่ 23 พฤษภาคม 2521 ถึง วันที่ 20 กันยายน2521 ส่วน ห้างหุ้นส่วนจำกัด มานิตย์ค้าวัสดุก่อสร้าง ผู้รับจ้าง อีก ราย หนึ่ง ก็ ส่งมอบ ครุภัณฑ์ การศึกษา ให้ แก่ โรงเรียน ประชาบาลล่าช้า หลาย โรงเรียน เช่นกัน โดย โรงเรียน ที่ ส่ง ล่าช้า นั้น มี การ ส่งมอบตั้งแต่ เดือน มิถุนายน 2521 ถึง วันที่ 2 พฤศจิกายน 2521นาย ประวิทย์ ไป ตรวจสอบ โรงเรียน ต่าง ๆ ตาม หน้าที่ และ ไม่มี ส่วนได้เสีย กับ ฝ่ายใด เชื่อ ว่า เบิกความ ไป ตาม ความจริง ทั้ง จำเลย ที่ 1ก็ เบิกความ ว่า การ ตรวจรับ งาน ได้ ตรวจ ที่ โรงงาน ของ ผู้รับจ้างก็ มี ตรวจรับ ที่ โรงเรียน ก็ มี แสดง ว่า กรรมการ ตรวจ การจ้าง ทำ ครุภัณฑ์มิได้ ไป ตรวจรับ งาน ที่ โรงเรียน ประชาบาล ที่ ผู้รับจ้าง จะ ต้อง นำ ครุภัณฑ์การศึกษา ไป ส่งมอบ และ ผู้รับจ้าง ยัง ส่ง งาน ไม่ครบ ด้วย แต่ จำเลยที่ 1 ถึง ที่ 3 กลับ ทำ บันทึก การ ตรวจรับ งาน จ้างเหมา เสนอ ต่อผู้ว่าราชการจังหวัด นครราชสีมา ว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัด เชิดชัยผลิตภัณฑ์ไม้ไทย และ ห้างหุ้นส่วนจำกัด มานิตย์ค้าวัสดุก่อสร้าง ได้ สร้าง งาน ตาม สัญญา ถูกต้อง ตั้งแต่ วันที่ 20 พฤษภาคม 2521 และ วันที่ 21 พฤษภาคม 2521 ตามลำดับ โดยคณะกรรมการ ตรวจ การจ้าง ได้ พร้อมกัน ตรวจรับ เป็น ที่ ถูกต้อง ตาม สัญญา แล้วสมควร จ่ายเงิน ให้ แก่ ผู้รับจ้าง ตาม เอกสาร หมาย จ. 11, จ. 12 นั้นย่อม ทำให้ องค์การบริหารส่วนจังหวัด นครราชสีมา เสียหายไม่ได้ รับมอบ ครุภัณฑ์ การศึกษา จาก ผู้รับจ้าง ครบถ้วน เพื่อ นำ ไป ใช้ประโยชน์ ภายใน เวลา ที่ กำหนด ไว้ ใน สัญญา แต่ ต้อง ชำระ เงิน ให้ แก่ห้าง ผู้รับจ้าง ทั้ง สอง ไป ก่อน การกระทำ ของ จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 3จึง เป็น การ ทำละเมิด จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 3 ต้อง รับผิด ชดใช้ ค่าเสียหายแก่ โจทก์ ซึ่ง ได้รับ โอน กิจการ ทรัพย์สิน และ หนี้ ใน ส่วน ที่ เกี่ยวกับโรงเรียน ประชาบาล มาจาก องค์การบริหารส่วนจังหวัด นครราชสีมาอนึ่ง ที่ จำเลย ที่ 2 อ้างว่า เพิ่ง ทราบ คำสั่ง ให้ เป็น กรรมการ ตรวจการจ้าง ทำ ครุภัณฑ์ การศึกษา เมื่อ วันที่ 15 มิถุนายน 2521 หลังจากสัญญาจ้าง เหมา ทำ ครุภัณฑ์ สิ้น กำหนด แล้ว นั้น ปรากฏว่า คำสั่ง องค์การบริหาร ส่วน จังหวัด นครราชสีมา ที่ 1429/2520 และ ที่ 1435/2520ที่ ตั้ง จำเลย ที่ 2 เป็น กรรมการ ตรวจ การจ้าง เหมา ทำ ครุภัณฑ์ การศึกษาลงวันที่ 27 กันยายน 2520 และ วันที่ 30 กันยายน 2520 จำเลย ที่ 2จึง ได้รับ แต่งตั้ง เป็น กรรมการ ก่อน ที่ การ ส่งมอบ ครุภัณฑ์ การศึกษา ตามสัญญา จะ สิ้น กำหนด อย่างไร ก็ ดี แม้ จำเลย ที่ 2 จะ รับทราบ ว่า ได้รับแต่งตั้ง เป็น กรรมการ เมื่อ วันที่ 15 มิถุนายน 2521 แต่ การ ที่ จำเลยที่ 2 ได้ ร่วม ลงชื่อ เป็น กรรมการ ใน ใบ ตรวจรับ งาน จ้างเหมา เอกสาร หมายจ. 11, จ. 12 รับรอง ว่า ผู้รับจ้าง ได้ ส่งมอบ งาน ถูกต้อง ตาม สัญญาและ คณะกรรมการ ตรวจ การจ้าง ได้ ตรวจรับ เป็น ที่ ถูกต้อง ตาม สัญญาโดย ที่ ความจริง ผู้รับจ้าง ยัง ส่งมอบ ไม่ครบ ถ้วน ถูกต้อง ทำให้ องค์การบริหาร ส่วน จังหวัด นครราชสีมา เสียหาย จำเลย ที่ 2 ย่อม ปัดความรับผิดไม่ได้
ประเด็น ที่ ว่า ค่าเสียหาย มี เพียงใด เห็นว่า ที่ จำเลย ทั้ง สาม ทำหลักฐาน การ ตรวจรับ งาน เหมา เท็จ ว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัด เชิดชัยผลิตภัณฑ์ไม้ไทย และ ห้างหุ้นส่วนจำกัด มานิตย์ค้าวัสดุก่อสร้าง ได้ สร้าง งาน ตาม สัญญา ถูกต้อง โดย คณะกรรมการ ได้ พร้อมกัน ตรวจรับ เป็น ที่ ถูกต้อง ตาม สัญญา แล้ว ตั้งแต่ วันที่ 20 และ21 พฤษภาคม 2521 แต่ ความจริง ห้าง ทั้ง สอง ยัง มิได้ ส่งมอบ ครุภัณฑ์การศึกษา บางส่วน และ คณะกรรมการ ตรวจ การจ้าง รวมทั้ง องค์การบริหาร ส่วน จังหวัด นครราชสีมา ก็ ยัง มิได้ รับมอบ ครุภัณฑ์ การศึกษาใน ส่วน ที่ ยัง ไม่มี การ ส่งมอบ ห้างหุ้นส่วนจำกัด เชิดชัยผลิตภัณฑ์ไม้ไทย และ ห้างหุ้นส่วนจำกัด มานิตย์ค้าวัสดุก่อสร้าง ผู้รับจ้าง จึง เป็น ฝ่าย ผิดสัญญา องค์การ บริหาร ส่วน จังหวัด นครราชสีมา ซึ่ง ยัง ไม่ได้ รับ ครุภัณฑ์ การศึกษาครบถ้วน ภายใน เวลา ที่ กำหนด ใน สัญญา มีสิทธิ เรียก ค่าปรับ จาก ผู้รับจ้างตาม สัญญา ได้ โดย ไม่จำต้อง บอก สงวนสิทธิ ไว้ การกระทำ ของ จำเลยทั้ง สาม หา ได้ ทำให้ องค์การบริหารส่วนจังหวัด นครราชสีมา หรือ โจทก์ไม่อาจ เรียก ค่าปรับ จาก ห้างหุ้นส่วนจำกัด เชิดชัยผลิตภัณฑ์ไม้ไทย และ ห้างหุ้นส่วนจำกัด มานิตย์ค้าวัสดุก่อสร้าง ดัง ที่ โจทก์ ฟ้อง ไม่ การกระทำ ของ จำเลย ทั้ง สาม ทำให้ องค์การบริหารส่วนจังหวัด นครราชสีมาเสียหาย คือ ได้ จ่ายเงิน ค่าจ้าง ให้ แก่ ห้างหุ้นส่วนจำกัด เชิดชัดผลิตภัณฑ์ไม้ไทย และ ห้างหุ้นส่วนจำกัด มานิตย์ค้าวัสดุก่อสร้าง เต็ม จำนวน โดย ยัง มิได้ รับ ครุภัณฑ์ การศึกษา ครบถ้วน ตาม สัญญา ความเสียหาย ของ โจทก์ นั้น ศาลฎีกา พิเคราะห์พฤติการณ์ และ ความ ร้ายแรง แห่ง ละเมิด แล้ว จึง ให้ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2ซึ่ง เป็น กรรมการ ตรวจ การจ้าง ทำ ครุภัณฑ์ การศึกษา ที่ ห้างหุ้นส่วนจำกัด เชิดชัยผลิตภัณฑ์ไม้ไทย เป็น ผู้รับจ้าง ร่วมกัน ใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ จำนวน 60,000 บาท ให้ จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 3 ซึ่ง เป็น กรรมการตรวจ การจ้าง ทำ ครุภัณฑ์ การศึกษา ที่ ห้างหุ้นส่วนจำกัด มานิตย์ค้าวัสดุก่อสร้าง เป็น ผู้รับจ้าง ร่วมกัน ชดใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ จำนวน 100,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปีใน ต้นเงิน แต่ละ จำนวน นับแต่ วันที่ 10 ตุลาคม 2529”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ร่วมกัน ใช้ ค่าเสียหายจำนวน 60,000 บาท และ ให้ จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 3 ร่วมกัน ใช้ ค่าเสียหายจำนวน 100,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปีใน ต้นเงิน แต่ละ จำนวน นับแต่ วันที่ 10 ตุลาคม 2529 จนกว่า จะ ชำระ เสร็จแก่ โจทก์ นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ภาค 1

Share