แหล่งที่มา : สำนักงาน ส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
การออกหมายเรียกเพื่อประเมินภาษีการค้าล่วงหน้าตามมาตรา18ทวิแห่งประมวลรัษฎากรเจ้าพนักงานประเมินไม่จำต้องระบุเลขมาตราเนื่องจากประมวลรัษฎากรไม่ได้กำหนดไว้ว่าในการออกหมายเรียกเพื่อตรวจสอบภาษีอากรจะต้องระบุมาตราที่จะใช้ในการประเมินภาษีอากรแต่อย่างใด การประเมินเรียกเก็บภาษีล่วงหน้าตามมาตรา18ทวินั้นกำหนดให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจเรียกเก็บได้ก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการเมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าได้มีการขยายหรือเลื่อนกำหนดระยะเวลาสำหรับการยื่นแบบแสดงรายการการค้าของโจทก์สำหรับเดือนภาษีในรอบระยะเวลาบัญชีปี2528และ2529การที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยประเมินภาษีการค้าของโจทก์สำหรับเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมีนาคม2528และของเดือนเมษายนถึงมีนาคม2529ล่วงหน้าตามมาตรา18ทวิเมื่อวันที่27มิถุนายน2531จึงเป็นการประเมินหลังจากพ้นกำหนดเวลายื่นรายการการค้าสำหรับเดือนภาษีในรอบระยะเวลาบัญชีปี2528และ2529แล้วการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินจึงไม่ชอบ
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ขอให้ เพิกถอน การ ประเมิน ของ เจ้าพนักงาน ประเมิน
จำเลย ให้การ ว่า การ ประเมิน ของ เจ้าพนักงาน ประเมิน และ คำวินิจฉัยอุทธรณ์ ของ คณะกรรมการ พิจารณา อุทธรณ์ ชอบ ด้วย ข้อเท็จจริง และ ข้อกฎหมายแล้ว ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลภาษีอากรกลาง พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีภาษีอากร วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริงฟัง เป็น ยุติ ว่า เมื่อ วันที่ 29 เมษายน 2531 เจ้าพนักงาน ประเมินได้ ออกหมาย เรียก ตรวจสอบ ภาษีอากร ของ โจทก์ สำหรับ รอบ ระยะเวลา บัญชีตั้งแต่ วันที่ 25 พฤษภาคม 2527 ถึง วันที่ 31 มีนาคม 2528 และรอบ ระยะเวลา บัญชี ตั้งแต่ วันที่ 1 เมษายน 2528 ถึง วันที่ 31 มีนาคม2529 ต่อมา วันที่ 27 มิถุนายน 2531 เจ้าพนักงาน ประเมิน ของ จำเลยได้ ประเมิน ภาษีการค้า และ ภาษีบำรุงท้องที่ ของ โจทก์ ตาม ประมวลรัษฎากรมาตรา 18 ทวิ ประเภท การค้า 12 ชนิด 1 แห่ง บัญชีอัตราภาษีการค้าจาก ดอกเบี้ย ค้าง รับ ของ รอบ ระยะเวลา บัญชี วันที่ 25 พฤษภาคม 2527ถึง วันที่ 31 มีนาคม 2528 และ ของ รอบ ระยะเวลา บัญชี วันที่ 1 เมษายน2528 ถึง วันที่ 31 มีนาคม 2529 จำนวน 3,044,855.04 บาท และ3,160,972.16 บาท คิด เป็น ภาษีการค้า 91,345.65 บาท และ 94,829.16บาท ภาษีบำรุงท้องที่ 9,134,56 บาท และ 9,482.92 บาท ตามลำดับและ เจ้าพนักงาน ประเมิน ได้ ประเมิน เรียกเก็บ ภาษีการค้า และภาษีบำรุงท้องที่ เพิ่มเติม ตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 87 ทวิ (2),88, 88 ทวิ (1) โดย อ้างว่า โจทก์ ยื่น รายรับ จาก ดอกเบี้ย ไว้ ไม่ถูกต้องสำหรับ เดือน ตุลาคม 2527 จำนวน 3,082.19 บาท สำหรับ เดือน มีนาคม 2529จำนวน 9,003.56 บาท ต้อง เสีย ภาษีการค้า พร้อม เบี้ยปรับ เงินเพิ่มและ ภาษีบำรุงท้องที่ รวม จำนวน 270 บาท และ 714 บาท ตามลำดับโจทก์ อุทธรณ์ คัดค้าน การ ประเมิน คณะกรรมการ พิจารณา อุทธรณ์ ของ จำเลยวินิจฉัย ให้ยก อุทธรณ์ มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม อุทธรณ์ ของ โจทก์ใน ประการ แรก ว่า การ ประเมิน ภาษีการค้า ใน เดือน ตุลาคม 2527 และเดือน มีนาคม 2529 ชอบ หรือไม่ ที่ โจทก์ อุทธรณ์ ว่า รายรับ จำนวน3,082.19 บาท และ จำนวน 9,003.56 บาท ที่ จำเลย นำ มา ประเมินใน เดือน ตุลาคม 2527 และ เดือน มีนาคม 2529 ตามลำดับ ไม่ถูกต้องเพราะ รายรับ ทั้ง สอง จำนวน ดังกล่าว โจทก์ มิได้ รับ พร้อมกัน ใน เดือนเดียว กัน แต่ ได้รับ 4 ครั้ง ครั้ง ละ เดือน เดือน ละ ไม่ถึง 4,000 บาทได้รับ ยกเว้น ภาษีอากร ตาม พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517มาตรา 6(8) การ ที่ เจ้าพนักงาน ของ จำเลย นำ มา รวมกัน โดย ถือว่ารับ พร้อมกัน ใน เดือน เดียว กัน เป็น การ ประเมิน ที่ ไม่ชอบ นั้น ใน ข้อ นี้แม้ โจทก์ จะ ได้ ตั้ง ประเด็น ต่อสู้ ไว้ ใน ชั้นอุทธรณ์ การ ประเมินแต่ ใน ชั้นพิจารณา โจทก์ คง มี แต่ นาย ไพบูลย์ บัวขาว ผู้รับมอบอำนาจ โจทก์ มา เบิกความ ประกอบ อุทธรณ์ ของ โจทก์ ลอย ๆ โดย ไม่มี หลักฐานการ รับ เงิน และ บัญชี มา แสดง ให้ เห็นว่า โจทก์ ได้รับ เงิน มาจาก ใครเมื่อใด ครั้ง ละ จำนวน เท่าใด พยานหลักฐาน โจทก์ จึง ไม่มี น้ำหนัก รับฟังการ ประเมิน ภาษีการค้า ใน เดือน ตุลาคม 2527 และ เดือน มีนาคม 2529จึง ชอบแล้ว อุทธรณ์ โจทก์ ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น
ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม อุทธรณ์ ของ โจทก์ ใน ประการ ต่อมา มี ว่าใน การ ออกหมาย เรียก เพื่อ ประเมิน ภาษีการค้า ล่วงหน้า เจ้าพนักงานประเมิน จะ ต้อง ระบุ มาตรา ที่ จะ ทำการ ประเมิน ภาษีการค้า หรือไม่ที่ โจทก์ อุทธรณ์ ว่า ใน การ ออกหมาย เรียก เพื่อ ประเมิน ภาษีการค้า ล่วงหน้าจะ ต้อง ระบุ มาตรา 18 ทวิ ไว้ ใน หมายเรียก ด้วย จึง จะ ประเมิน ภาษี ล่วงหน้าได้ ใน คดี นี้ เจ้าพนักงาน ประเมิน มิได้ ระบุ มาตรา ที่ จะ ใช้ ใน การ ประเมินภาษีการค้า ล่วงหน้า การ ประเมิน จึง ไม่ชอบ นั้น เห็นว่าตาม ประมวลรัษฎากร ไม่ได้ กำหนด ไว้ ว่า ใน การ ออกหมาย เรียก เพื่อตรวจสอบ ภาษีอากร จะ ต้อง ระบุ มาตรา ที่ จะ ใช้ ใน การ ประเมิน ภาษีอากรแต่อย่างใด อุทธรณ์ โจทก์ ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น เช่นกัน
คง มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม อุทธรณ์ ของ โจทก์ ใน ประการ สุดท้าย ว่าการ ประเมิน ภาษีการค้า และ ภาษีบำรุงเทศบาล ล่วงหน้า ตาม ประมวลรัษฎากรมาตรา 18 ทวิ ของ เจ้าพนักงาน จำเลย ชอบ ด้วย กฎหมาย หรือไม่ ที่ โจทก์อุทธรณ์ ว่าการ ประเมิน ภาษีการค้า ล่วงหน้า ตาม ประมวลรัษฎากรมาตรา 18 ทวิ จะ ต้อง เข้า หลักเกณฑ์ สาม ประการ คือ มี กรณี จำเป็น เพื่อรักษา ประโยชน์ ใน การ จัดเก็บ ภาษี ต้อง ประเมิน จาก ผู้ต้องเสียภาษีและ ต้อง ทำการ ประเมิน ก่อน ถึง กำหนด เวลา ยื่น รายการ เพื่อ เสีย ภาษีกรณี ของ โจทก์ ไม่ เข้า หลักเกณฑ์ ดังกล่าว จึง ไม่อาจ ประเมิน ภาษีการค้าของ โจทก์ ล่วงหน้า ได้ นั้น เมื่อ พิเคราะห์ ตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา84 วรรคแรก , 85 ทวิ และ มาตรา 86 ประกอบ กัน แล้ว เห็น ได้ว่าประมวลรัษฎากร ได้ กำหนด ไว้ ว่า ไม่ว่า จะ มี รายรับ ใน เดือน ภาษี หรือไม่ให้ ผู้ประกอบการค้า ยื่น แบบแสดงรายการ การค้า ภายใน วันที่ 15 ของ เดือนถัด ไป หาก มี ภาษีการค้า ต้อง ชำระ ก็ ให้ ยื่น ชำระ ภาษีการค้า พร้อม กับการ ยื่น แบบแสดงรายการ การค้า ภายใน เวลา ดังกล่าว ด้วย เว้นแต่ อธิบดีจะ กำหนด ระยะเวลา เป็น อย่างอื่น หาก ไม่มี การ กำหนด ระยะเวลา เป็นอย่างอื่น ผู้ประกอบการค้า จะ ต้อง ยื่น แบบแสดงรายการ การค้า พร้อม ทั้งชำระ ภาษีการค้า ภายใน วันที่ 15 ของ เดือน ถัด ไป สำหรับ การ ประเมินเรียกเก็บ ภาษี ล่วงหน้า จาก ผู้ต้องเสียภาษี ตาม ประมวลรัษฎากรมาตรา 18 ทวิ นั้น บทบัญญัติ ใน มาตรา ดังกล่าว กำหนด ไว้ ให้ เจ้าพนักงานประเมิน มีอำนาจ เรียกเก็บ ได้ ก่อน ถึง กำหนด เวลา ยื่น รายการ ใน คดี นี้ไม่ปรากฏ ข้อเท็จจริง ว่า ได้ มี การ ขยาย หรือ เลื่อน กำหนด ระยะเวลา สำหรับการ ยื่น แบบแสดงรายการ การค้า ของ โจทก์ สำหรับ เดือน ภาษี ใน รอบ ระยะเวลาบัญชี ปี 2528 และ 2529 การ ที่ เจ้าพนักงาน ประเมิน ของ จำเลย ประเมินภาษีการค้า ของ โจทก์ สำหรับ เดือน พฤษภาคม ถึง เดือน มีนาคม 2528และ ของ เดือน เมษายน ถึง มีนาคม 2529 ล่วงหน้า ตาม มาตรา 18 ทวิเมื่อ วันที่ 27 มิถุนายน 2531 จึง เป็น การ ประเมิน หลังจาก พ้น กำหนด เวลายื่น รายการ การค้า สำหรับ เดือน ภาษี ใน รอบ ระยะเวลา บัญชี ปี 2528และ 2529 แล้ว การ ประเมิน ของ เจ้าพนักงาน ประเมิน และ คำวินิจฉัย อุทธรณ์ของ คณะกรรมการ พิจารณา อุทธรณ์ ใน ส่วน นี้ จึง ไม่ชอบ ที่ ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัย ว่า เมื่อ โจทก์ อ้างว่า ยัง ไม่ได้ รับ ชำระ ดอกเบี้ย กำหนด เวลาการ ยื่น แบบแสดงรายการ ค้า จึง ไม่ เกิดขึ้น การ ประเมิน ภาษีการค้าใน กรณี นี้ จึง เป็น การ ประเมิน ก่อน กำหนด เวลา ยื่น รายการ เจ้าพนักงานประเมิน จึง มีอำนาจ ประเมิน นั้น ศาลฎีกา ไม่เห็น พ้อง ด้วย ฎีกา โจทก์ใน ส่วน นี้ ฟังขึ้น ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ เพิกถอน การ ประเมิน ของ เจ้าพนักงาน ประเมิน