คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 114/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

พยานโจทก์ทั้งสามปากต่างเป็นเจ้าพนักงานซึ่งไม่ปรากฏว่าเคยรู้จักจำเลยมาก่อนไม่มีเหตุที่จะทำให้ระแวงสงสัยว่าจะเบิกความปรักปรำจำเลยทั้งคำเบิกความก็สอดคล้องและเชื่อมโยงกันมีน้ำหนักฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯมาตรา15วรรคสองบัญญัติว่าการมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท1คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ตั้งแต่20กรัมขึ้นไปถือว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเมื่อจำเลยมีเฮโรอีนซึ่งเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท1ไว้ในครอบครองคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้1,302กรัมจึงต้องถือว่าจำเลยมียาเสพติดให้โทษเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำเลยมียาเสพติดให้โทษเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เป็นจำนวนมากถึง1,302กรัมการที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์กำหนด โทษประหารชีวิตและ ลดโทษให้จำเลยกึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา78ประกอบมาตรา52คง จำคุกจำเลยตลอดชีวิตนั้นจึงเป็นการใช้ ดุลพินิจในการลงโทษที่เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งรูปคดีแล้ว

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย มี เฮโรอีน อันเป็น ยาเสพติดให้โทษ ชนิด ร้ายแรงใน ประเภท 1 มี ปริมาณ คำนวณ เป็น สาร บริสุทธิ์ หนัก 1,302 กรัมไว้ ใน ครอบครอง เพื่อ จำหน่าย โดย ไม่ได้ รับ อนุญาต จาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข อันเป็น การ ฝ่าฝืน ต่อ กฎหมาย ขอให้ ลงโทษ ตามพระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 4, 7, 8, 15, 66, 102ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33, 49 ริบของกลาง และ มี คำสั่ง ห้ามจำเลย เสพ ยาเสพติดให้โทษ อีก ต่อไป ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 49
จำเลย ให้การรับสารภาพ
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ตามพระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 66 วรรคสองประหารชีวิต จำเลย ให้การรับสารภาพ เป็น ประโยชน์ แก่ การ พิจารณามีเหตุ บรรเทา โทษ ลดโทษ ให้ กึ่งหนึ่ง ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78ประกอบ มาตรา 52 คง จำคุก จำเลย ตลอด ชีวิต ของกลาง ริบ ยก คำขอ ของ โจทก์ใน เรื่อง การ ห้าม เสพ ยาเสพติด เพราะ ตาม พระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 มาตรา 98 ได้ บัญญัติ วิธีการ บำบัด วิธีการ รักษา ไว้ แล้ว
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “คดี มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ใน ชั้น นี้ ตาม ที่จำเลย ฎีกา ว่า จำเลย ได้ กระทำ ความผิด ฐาน มี ยาเสพติดให้โทษ เฮโรอีนไว้ ใน ครอบครอง เพื่อ จำหน่าย ตาม ฟ้อง หรือไม่ ใน ปัญหา นี้ โจทก์ มีจ่าสิบตำรวจ พิทักษ์ ผลละออ ร้อยตำรวจเอก สมบูรณ์ สาระสิทธิ์ พนักงานสอบสวน และ นางสาว พัชราวัล พันธศิลาโรจน์ นัก วิทยา ศาสตร์ 5สำนักงาน คณะกรรมการ ป้องกัน และ ปราบปราม ยาเสพติด เบิกความ เป็น พยานโดย จ่าสิบตำรวจ พิทักษ์ เบิกความ ว่า พยาน ได้รับ แจ้ง จาก สาย ลับ เมื่อ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2536 ว่า จะ มี การ ส่งมอบ เฮโรอีน กัน ที่ ช่องขาย บัตร โดยสาร รถไฟ สถานีรถไฟ กรุงเทพ (หัวลำโพง ) โดย สาย ลับแจ้ง ว่า ผู้ที่ จะ ส่งมอบ เป็น ชาย อายุ ประมาณ 35 ปี สูง ประมาณ 170เซนติเมตร รูปร่าง ท้วมขาว ไว้ ผม ยาว พยาน แจ้ง ให้ ผู้บังคับบัญชา ทราบและ ได้รับ คำสั่ง ให้ นำ กำลัง ไป เฝ้า ดู ที่ สถานีรถไฟ พยาน กับพวก ไป ถึงสถานีรถไฟ หัวลำโพง เวลา ประมาณ 11.30 นาฬิกา และ ไป ดู ที่ หน้า ช่อง ขาย บัตร ผู้โดยสาร จน ถึง เวลา ประมาณ 12 นาฬิกา พบ ชาย ลักษณะ ดัง ที่ สาย ลับแจ้ง ไว้ ถือ กระเป๋า อยู่ บริเวณ หน้า ช่อง ขาย บัตร โดยสาร ต่อมา ชาย นั้นเดิน ออก มา หน้า สถานีรถไฟ และ ไป หยุด ยืน อยู่ ที่ บริเวณ ฟุตบาท หน้าสถานีรถไฟ พยาน จึง เข้า แสดง ตัว และ ขอ ตรวจค้น พบ ผง ขาว คล้าย เฮโรอีน4 ถุง ขนาด กว้าง ประมาณ 7 นิ้ว ยาว 10 นิ้ว มี ตรา สิงห์โตคู่เหยียบลูกโลก ใน กระเป๋า นั้น จึง ยึด เฮโรอีน และ กระเป๋า ดังกล่าว ไว้ เป็น ของกลาง และ แจ้ง ข้อหา จำเลย ว่า มี เฮโรอีน ไว้ ในครอบครอง เพื่อ จำหน่าย พยาน พา จำเลย ไป กอง กำกับ การ 1 กองบังคับการสอบสวน กองบัญชาการ ตำรวจ ปราบปราม ยาเสพติด และ ทำ บันทึก การ จับกุมเอกสาร หมาย จ. 1 หลังจาก นั้น พยาน ได้ ถ่าย ภาพ จำเลย พร้อม ของกลาง ไว้ตาม ภาพถ่าย หมาย จ. 2 และ นำ จำเลย พร้อม ของกลาง ส่ง ให้ พนักงานสอบสวน ดำเนินคดี ร้อยตำรวจเอก สมบูรณ์ เบิกความ ว่า พยาน เป็น ผู้สอบสวน จำเลย ใน วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2536 โดย จ่าสิบตำรวจ พิทักษ์ แจ้ง พยาน ว่า ได้ จับกุม ตัว จำเลย พร้อม ของกลาง เฮโรอีน น้ำหนัก ประมาณ 1,550 กรัม ใน ขณะ กำลัง ยืน อยู่ ที่ ทางเท้า หน้าสถานีรถไฟ หัวลำโพง จ่าสิบตำรวจ พิทักษ์ มอบ บันทึก การ จับกุม เอกสาร หมาย จ. 1 และ ภาพถ่าย หมาย จ. 2 ให้ พยาน พร้อม เฮโรอีน จำนวน 4 ถุง พยาน ได้ทำ บันทึก ของกลาง ไว้ ตาม บัญชี ของกลาง คดีอาญา เอกสาร หมาย จ. 6 และส่ง วัตถุ ผง สี ขาว ของกลาง เฮโรอีน ไป ตรวจ พิสูจน์ ที่ สำนักงาน คณะกรรมการป้องกัน และ ปราบปราม ยาเสพติด ตาม เอกสาร หมาย จ. 3 ผล ของ การ ตรวจพิสูจน์ ปรากฏว่า วัตถุ ผง สี ขาว ของกลาง เป็น เฮโรอีน บริสุทธิ์ จำนวน1,302 กรัม ตาม เอกสาร หมาย จ. 4 พยาน แจ้ง ข้อหา จำเลย ว่า มียาเสพติดให้โทษ ประเภท 1 เฮโรอีน ไว้ ใน ครอบครอง เพื่อ จำหน่าย โดยไม่ได้ รับ อนุญาต จำเลย ให้การรับสารภาพ ตาม บันทึก คำให้การ เอกสาร หมายจ. 5 และ นางสาว พัชราวัล เบิกความ ว่า พยาน เป็น ผู้ตรวจ พิสูจน์ ของกลาง เจ้าพนักงาน ตำรวจ กอง กำกับ การ 1 กองบังคับการ สอบสวนกองบัญชาการ ตำรวจ ปราบปราม ยาเสพติดให้โทษ ส่ง ผง สี ขาว จำนวน 4 ถุงไป ให้ พยาน ตรวจ พิสูจน์ ตาม ใบ ตรวจรับ ของกลาง เอกสาร หมาย จ. 3 พยาน ได้ ทำการ ตรวจ พิสูจน์ ผง สี ขาว ทั้ง 4 ถุง นั้น พบ ว่า เป็น เฮโรอีน 1,431 กรัมคำนวณ เป็น สาร บริสุทธิ์ ได้ 1,302 กรัม พยาน ได้ ทำ รายงาน การ ตรวจ พิสูจน์เอกสาร หมาย จ. 4 ไว้ ศาลฎีกา ได้ พิเคราะห์ พยานหลักฐาน ของ โจทก์ดังกล่าว เห็นว่า พยานโจทก์ ทั้ง สาม ดังกล่าว ต่าง เป็น เจ้าหน้าที่ซึ่ง ไม่ปรากฏ ว่า เคย รู้ จัก จำเลย มา ก่อน ไม่มี เหตุ ที่ จะ ทำให้ ระแวงสงสัย ว่า พยานโจทก์ ดังกล่าว จะ เบิกความ ปรักปรำ จำเลย แต่อย่างใดคำเบิกความ ของ พยานโจทก์ ทั้ง สาม ซึ่ง สอดคล้อง และ เชื่อม โยง กันดังกล่าว มี น้ำหนัก ฟังได้ โดย ปราศจาก ข้อสงสัย ว่า จำเลย มี เฮโรอีน ซึ่งเป็น ยาเสพติดให้โทษ ใน ประเภท 1 จำนวน 1,302 กรัม ไว้ ใน ครอบครองพระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสองบัญญัติ ว่า การ มีไว้ ใน ครอบครอง ซึ่ง ยาเสพติดให้โทษ ใน ประเภท 1 คำนวณเป็น สาร บริสุทธิ์ ได้ ตั้งแต่ 20 กรัม ขึ้น ไป ให้ ถือว่า มีไว้ ใน ครอบครองเพื่อ จำหน่าย เมื่อ จำเลย มี เฮโรอีน ซึ่ง เป็น ยาเสพติดให้โทษ ประเภท 1ไว้ ใน ครอบครอง คำนวณ เป็น สาร บริสุทธิ์ ได้ 1,302 กรัม จึง ต้อง ถือว่าจำเลย มี ยาเสพติดให้โทษ เฮโรอีน ไว้ ใน ครอบครอง เพื่อ จำหน่าย ฎีกา ของจำเลย ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น
ที่ จำเลย ฎีกา ขอให้ ลงโทษ สถาน เบา นั้น เห็นว่า ยาเสพติดให้โทษเฮโรอีน ที่ จำเลย มีไว้ ใน ครอบครอง เพื่อ จำหน่าย มี ปริมาณ คำนวณ เป็นสาร บริสุทธิ์ เป็น จำนวน มาก ถึง 1,302 กรัม ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง ใช้ดุลพินิจ กำหนด โทษ ประหารชีวิต และ ลดโทษ ให้ จำเลย กึ่งหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ประกอบ มาตรา 52 (ที่ ถูก มาตรา 52(2))คง จำคุก จำเลย ตลอด ชีวิต นั้น ศาลล่าง ทั้ง สอง ได้ ใช้ ดุลพินิจ ใน การลงโทษ จำเลย เหมาะสม แก่ พฤติการณ์ แห่ง รูปคดี แล้ว ไม่มี เหตุ ที่ ศาลฎีกาจะ เปลี่ยนแปลง แก้ไข ฎีกา ของ จำเลย ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น เช่นกัน ”
พิพากษายืน

Share