แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
คำว่าดัดแปลงตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯมีความหมายรวมถึงการต่อเติมหรือขยายเนื้อที่ของอาคารที่ได้ก่อสร้างไว้แล้วด้วยฟ้องโจทก์ที่บรรยายว่าจำเลยดัดแปลงอาคารตึกแถวโดยการก่อสร้างอาคารคอนกรีตเพิ่มขยายออกไปจึงพอทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นการดัดแปลงโดยต่อเติมอาคารหลังเดิมหาใช่เป็นการฟ้องว่าจำเลยก่อสร้างอาคารหลังใหม่ขึ้นมาไม่ทั้งจำเลยก็ให้การรับสารภาพตามฟ้องฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา158(5) ศาลจะลงโทษปรับผู้ฝ่าฝืนตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯมาตรา65วรรคสองเป็นรายวันได้ต่อเมื่อมีการดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้รื้อถอนอาคารดังกล่าวตามมาตรา42แล้วแต่เจ้าของอาคารไม่ปฏิบัติตามเมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารซึ่งมีการดัดแปลงทั้งมิได้อ้างมาตรา42มาในคำขอท้ายฟ้องการที่ศาลลงโทษปรับจำเลยเป็นรายวันจึงเป็นการลงโทษนอกเหนือไปจากคำฟ้องไม่ชอบด้วยป.วิ.อ.มาตรา192วรรคแรกและเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ขณะที่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้มีพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร(ฉบับที่2)พ.ศ.2535ออกใช้บังคับโดยยกเลิกความในมาตรา65วรรคแรกและมาตรา70เดิมและให้ใช้ข้อความใหม่แทนโดยกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างจากกฎหมายที่ใช้ในภายหลังต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดไม่ว่าในทางใดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา3
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ขอให้ ลงโทษ จำเลย ตาม พระราชบัญญัติ ควบคุม อาคารพ.ศ. 2522 มาตรา 22, 31, 65, 70
จำเลย ให้การรับสารภาพ
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ตาม พระราชบัญญัติควบคุม อาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 22, 31, 65, 70 ให้ จำคุก 6 เดือนและ ปรับ 30,000 บาท นอกจาก นั้น ยัง ปรับ จำเลย ตาม มาตรา 65 วรรคสองประกอบ ด้วย มาตรา 70 ให้ ปรับ อีก วัน ละ 5,000 บาท รวม 120 วันเป็น เงิน 600,000 บาท รวมเป็น จำคุก 6 เดือน และ ปรับ 630,000 บาทจำเลย ให้การรับสารภาพ ลดโทษ ให้ กึ่งหนึ่ง ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78 คง จำคุก 3 เดือน ปรับ 315,000 บาท โทษ จำคุก ให้ รอการลงโทษไว้ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 มี กำหนด 2 ปี ไม่ชำระ ค่าปรับให้ กักขัง แทน ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 มี กำหนด 2 ปี
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “เห็นสมควร วินิจฉัย ปัญหา ตาม ฎีกา ของ จำเลยใน ปัญหา เรื่อง ฟ้อง ของ โจทก์ เคลือบคลุม หรือไม่ ก่อน พิเคราะห์ ฟ้องของ โจทก์ แล้ว เห็นว่า ได้ บรรยาย การกระทำ ของ จำเลย ว่า จำเลย ดัดแปลงอาคาร ตึกแถว 4 ชั้น โดย การก่อสร้างอาคาร คอนกรีต ชั้น เดียว เพิ่มขยาย ออก ไป อันเป็น ความผิด ตาม พระราชบัญญัติ ควบคุม อาคาร พ.ศ. 2522คำ ว่า ดัดแปลง ตาม พระราชบัญญัติ ดังกล่าว มี ความหมาย รวม ไป ถึง การต่อเติม หรือ ขยาย เนื้อที่ ของ อาคาร ที่ ได้ ก่อสร้าง ไว้ แล้ว ด้วย ฟ้องของ โจทก์ จึง พอ ทำให้ จำเลย เข้าใจ ได้ว่า เป็น การ ดัดแปลง โดย ต่อเติมอาคาร หลัง เดิม หาใช่ เป็น การ ฟ้อง ว่า จำเลย ก่อสร้าง อาคาร หลัง ใหม่ขึ้น มา ดัง ที่ จำเลย ฎีกา ไม่ อีก ทั้ง จำเลย ก็ ให้การรับสารภาพ ตาม ฟ้องฟ้อง ของ โจทก์ จึง ชอบ ด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา158(5) ไม่เป็น ฟ้องเคลือบคลุม ฎีกา ข้อ นี้ ของ จำเลย ฟังไม่ขึ้น
แต่ อย่างไร ก็ ดี ศาลฎีกา เห็นว่า การ ดัดแปลง อาคาร เพื่อ การพาณิชยกรรม และ อยู่อาศัย โดย ไม่ได้ รับ อนุญาต ตาม พระราชบัญญัติควบคุม อาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 22 และ 31 นั้น มี โทษ ตาม มาตรา 65ประกอบ กับ มาตรา 70 นอกจาก นี้ ตาม มาตรา 65 วรรคสอง ประกอบ กับ มาตรา 70ยัง มี โทษ ปรับ อีก วัน ละ ห้า พัน บาท ตลอด เวลา ที่ ยัง ฝ่าฝืน หรือ จนกว่าจะ ได้ ปฏิบัติ ให้ ถูกต้อง ถ้อยคำ ตาม มาตรา 65 วรรคสอง แสดง ว่า ศาลจะ ลงโทษ ปรับ ผู้ฝ่าฝืน เป็น รายวัน ได้ ต่อเมื่อ ได้ มี การ ดัดแปลง อาคารโดย ไม่ได้ รับ อนุญาต และ เจ้าพนักงาน ท้องถิ่น ได้ มี คำสั่ง ให้ รื้อถอนอาคาร ดังกล่าว ตาม มาตรา 42 แล้ว แต่ เจ้าของ อาคาร ไม่ปฏิบัติ ตามจึง จะ ปรับ ผู้ฝ่าฝืน เป็น รายวัน ดังกล่าว ได้ ตลอด เวลา ที่ ยัง ฝ่าฝืนหรือ จนกว่า จะ ได้ ปฏิบัติ ให้ ถูกต้อง แล้วแต่ กรณี คดี นี้ โจทก์ มิได้บรรยายฟ้อง ว่า จำเลย ฝ่าฝืน คำสั่ง ของ เจ้าพนักงาน ท้องถิ่น ที่ สั่งให้ จำเลย รื้อถอน อาคาร ซึ่ง มี การ ดัดแปลง นั้น ทั้ง มิได้ อ้าง มาตรา 42มา ใน คำขอ ท้ายฟ้อง ดังนี้ ที่ ศาลชั้นต้น พิพากษา ลงโทษ ปรับ จำเลย เป็นรายวัน อีก ตาม มาตรา 65 วรรคสอง ประกอบ กับ มาตรา 70 และ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน มา นั้น จึง เป็น การ ลงโทษ จำเลย นอกเหนือ ไป จาก คำฟ้อง ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคแรก ปัญหาข้อ นี้ เป็น ปัญหา ที่ เกี่ยวกับ ความสงบ เรียบร้อย แม้ จำเลย ไม่ได้ ฎีกาศาลฎีกา ก็ มีอำนาจ ยกขึ้น วินิจฉัย เอง ได้
ที่ จำเลย ฎีกา ว่า ศาลล่าง ทั้ง สอง ปรับ บทลงโทษ จำเลย ใน ความผิดกระทง แรก ไม่ถูกต้อง เพราะ ไม่ได้ ใช้ กฎหมาย ใน ส่วน ที่ เป็น คุณ แก่จำเลย นั้น พิเคราะห์ แล้ว สำหรับ ความผิด ฐาน ดัดแปลง อาคาร โดย ไม่ได้รับ อนุญาต กรณี เป็น อาคาร เพื่อ พาณิชยกรรม ซึ่ง ศาลล่าง ทั้ง สอง ลงโทษตาม พระราชบัญญัติ ควบคุม อาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 วรรคแรก ประกอบมาตรา 70 นั้น เนื่องจาก ใน ขณะที่ คดี อยู่ ระหว่าง การ พิจารณา ของศาลฎีกา ได้ มี พระราชบัญญัติ ควบคุม อาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535ออก ใช้ บังคับ โดย มาตรา 22 และ มาตรา 25 ของ พระราชบัญญัติ ดังกล่าวได้ ยกเลิก ความใน มาตรา 65 วรรคแรก และ มาตรา 70 และ ให้ ใช้ ข้อความใหม่ แทน ความใน มาตรา 70 เดิม ซึ่ง บัญญัติ ว่าความ ผิด ที่ เป็น การกระทำอัน เกี่ยวกับ อาคาร เพื่อ พาณิชยกรรม ให้ ผู้กระทำ ต้อง ระวางโทษ จำคุกไม่เกิน สอง ปี หรือ ปรับ เป็น สิบ เท่า ของ โทษ ที่ บัญญัติ ไว้ สำหรับ ความผิดนั้น ๆ หรือ ทั้ง จำ ทั้ง ปรับ ได้ ถูก ยกเลิก และ มาตรา 70 ที่ แก้ไขบัญญัติ ใหม่ เป็น ว่า ความผิด ที่ เป็น การกระทำ อัน เกี่ยวกับ อาคาร เพื่อพาณิชยกรรม ให้ ระวางโทษ เป็น สอง เท่า ของ โทษ ที่ บัญญัติ ไว้ สำหรับความผิด นั้น ซึ่ง ความผิด ดังกล่าว นี้ มาตรา 65 วรรคแรก เดิม และมาตรา 65 วรรคแรก ที่ แก้ไข ใหม่ บัญญัติ ไว้ แตกต่าง กัน โดย มาตรา 65วรรคแรก เดิม บัญญัติ ว่า สำหรับ ความผิด ฐาน ดัดแปลง อาคาร โดย ไม่ได้รับ อนุญาต ผู้กระทำ ต้อง ระวางโทษ ปรับ ไม่เกิน หนึ่ง หมื่น บาท แต่มาตรา 65 วรรคแรก ที่ แก้ไข ใหม่ บัญญัติ ว่า สำหรับ ความผิด ฐาน ดังกล่าวผู้กระทำ ต้อง ระวางโทษ จำคุก ไม่เกิน สาม เดือน หรือ ปรับ ไม่เกิน หก หมื่น บาทหรือ ทั้ง จำ ทั้ง ปรับ กรณี จึง เป็น เรื่อง กฎหมาย ที่ ใช้ ใน ขณะ กระทำความผิด แตกต่าง จาก กฎหมาย ที่ ใช้ ใน ภายหลัง การกระทำ ความผิด ซึ่งตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 ต้อง ใช้ กฎหมาย ใน ส่วน ที่ เป็น คุณ แก่ผู้กระทำ ความผิด ไม่ว่า ใน ทาง ใด จึง ต้อง ใช้ โทษ ตาม มาตรา 70 ที่ แก้ไขใหม่ ประกอบ มาตรา 65 วรรคแรก เดิม ฎีกา ข้อ นี้ ของ จำเลย ฟังขึ้น ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า จำเลย มี ความผิด ตาม พระราชบัญญัติ ควบคุม อาคารพ.ศ. 2522 มาตรา 65 วรรคแรก เดิม ประกอบ มาตรา 70 ที่ แก้ไข เพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติ ควบคุม อาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 25ให้ ปรับ 10,000 บาท ลดโทษ ให้ กึ่งหนึ่ง ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78คง ปรับ 5,000 บาท หาก ไม่ชำระ ค่าปรับ ให้ จัดการ ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 29, 30