คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 236/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

โจทก์ที่2อยู่ในฐานะผู้สืบสันดานคือเป็นหลานจำเลยจำเลยอยู่ในฐานะเป็นยายย่อมเป็นบุพการีของโจทก์ที่2การที่โจทก์ที่2ฟ้องจำเลยจึงเป็นการฟ้องบุพการีต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1562โจทก์ที่2จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยสำหรับโจทก์ที่1เป็นเพียงบุตรเขยไม่ได้เป็นผู้สืบสันดานของจำเลยจำเลยไม่ได้เป็นบุพการีของโจทก์ที่1ฟ้องโจทก์จึงไม่ต้องห้ามทั้งหมดโจทก์ที่1ซึ่งเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยในที่พิพาทย่อมมีอำนาจดำเนินคดีต่อไปได้.

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง และ แก้ไข ฟ้อง ว่า โจทก์ ที่ 1 แต่งงาน กับ นาง เป็นบุตร ของ นาย กอง และ จำเลย มี บุตร 1 คน คือ โจทก์ ที่ 2 โจทก์ ที่1 กับ นาง เปน ได้ ช่วยกัน หักร้าง ถาง ป่า ทำ เป็น นา โจทก์ ที่ 2ได้ ช่วย ถากถาง ทำ เป็น นา ต่อ มา ได้ ครอบครอง ทำ กิน เป็น ส่วนสัดมา เป็น เวลา หลาย ปี จนถึง พ.ศ. 2498 โจทก์ ที่ 1 และ ที่ 2 ได้ แจ้งส.ค.1 ไว้ และ เสีย ภาษี บำรุง ท้องที่ ตลอดมา เมื่อ เดือน มกราคม2526 โจทก์ ไป ร้องขอ ออก น.ส.3 จำเลย คัดค้าน อ้างว่า ที่ดิน เป็นของ จำเลย ขอ ให้ สั่ง ว่า ที่ พิพาท เป็น ของ โจทก์ ห้าม จำเลย และบริวาร เข้า เกี่ยวข้อง
จำเลย ให้การ และ แก้ไข คำให้การ ว่า โจทก์ ที่ 1 ไม่ เคย แต่งงานอยู่กิน กับ นาง เปน หรือ เบน โจทก์ ที่ 2 ไม่ ใช่ บุตร นาง เปน หรือเบน โจทก์ ทั้งสอง ไม่ เคย เข้า หักร้าง ถาง ป่า ทำ เป็น นา ใน ที่พิพาท จำเลย กับ สามี ได้ ร่วมกัน จับจอง ที่ พิพาท ทำ เป็น นา ประมาณ40 ปี แล้ว นา พิพาท ยัง ไม่ มี ส.ค.1 จำเลย ได้ ครอบครอง ทำ ประโยชน์และ เสีย ภาษี บำรุง ท้องที่ ตลอดมา ขอ ให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ยกฟ้อง
โจทก์ ทั้งสอง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ว่า ที่นา พิพาท เป็น ของ โจทก์ ห้าม จำเลยและ บริวาร เข้า เกี่ยวข้อง
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า โจทก์ ที่ 2 เป็น บุตร นาง เปน หรือ กาน กับโจทก์ ที่ 1 นาง เปน เป็น บุตร จำเลย โจทก์ ที่ 2 อยู่ ใน ฐานะผู้ สืบสันดาน คือ เป็น หลาน จำเลย จำเลย อยู่ ใน ฐานะ เป็น ยาย ย่อมเป็น บุพการี ของ โจทก์ ที่ 2 การ ที่ โจทก์ ที่ 2 ฟ้อง จำเลย จึงเป็น การ ฟ้อง บุพการี ต้องห้าม ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1562 ซึ่ง บัญญัติ ว่า ผู้ใด จะ ฟ้อง บุพการี ของ ตน เป็น คดีแพ่งหรือ คดีอาญา มิได้ แต่ เมื่อ ผู้นั้น หรือ ญาติสนิท ของ ผู้นั้น ร้องขอ อัยการ จะ ยก คดี ขึ้น ว่ากล่าว ก็ ได้ โจทก์ ที่ 2 จึง ไม่ มีอำนาจ ฟ้อง จำเลย สำหรับ โจทก์ ที่ 1 เป็น เพียง บุตรเขย ไม่ ได้ เป็นผู้ สืบสันดาน ของ จำเลย จำเลย ไม่ ได้ เป็น บุพการี ของ โจทก์ ที่ 1ฟ้อง โจทก์ จึง ไม่ ต้องห้าม ทั้งหมด โจทก์ ที่ 1 ซึ่ง อ้าง ว่า เป็นเจ้าของ รวม อยู่ ด้วย ใน ที่ พิพาท ย่อม มี อำนาจ ดำเนินคดี ต่อไป ได้ แล้ว วินิจฉัย ว่า ที่ พิพาท เป็น ของ โจทก์ ที่ 1 กับพวก
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ ยกฟ้อง สำหรับ โจทก์ ที่ 2 นอกจาก ที่ แก้ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์.

Share