คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2387/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

หลานในฐานะผู้จัดการมรดกเป็นโจทก์ฟ้องยายในฐานะผู้จัดการมรดกเป็นจำเลยได้มิใช่คดีอุทลุมเพราะโจทก์มิได้ฟ้องในฐานะส่วนตัวของโจทก์และในฐานะส่วนตัวของจำเลยแม้สัญญาจะขายที่ดินตามฟ้องมิได้ระบุว่ายายทำในฐานะผู้จัดการมรดกก็ตาม.

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น ภริยา และ ผู้จัดการ มรดก ของ นาย ไพจิตรสุทธิสัมพัทน์ จำเลย เป็น ผู้จัดการ มรดก ของ หม่อมเจ้า อธิพรพงศ์เกษมศรี เมื่อ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2522 นาย ไพจิตร ทำ สัญญา จะ ซื้อขาย ที่ดิน โฉนด เลขที่ 267 ตำบล บ้านพานถม อำเภอ พระนคร กรุงเทพมหานครจาก จำเลย ใน ฐานะ ผู้จัดการ มรดก ของ หม่อมเจ้า อธิพรพงศ์ ใน ราคา300,000 บาท วาง มัดจำ ไว้ 100,000 บาท ที่ เหลือ ผ่อน ชำระ ใน 4 ปีต่อมา นาย ไพจิตร ชำระ เป็น เงินสด อีก 50,000 บาท คง ค้าง อยู่ เป็นเงิน 150,000 บาท หลังจาก นาย ไพจิตร ถึง แก่กรรม แล้ว โจทก์ ใน ฐานะทายาท และ ผู้จัดการ มรดก ขอ ให้ จำเลย โอน กรรมสิทธิ์ ที่ดิน ดังกล่าวพร้อมกับ รับ ชำระ ค่า ที่ดิน ที่ ค้าง จำเลย ขอ ผัดผ่อน โจทก์ มีหนังสือ กำหนด วันนัด ให้ จำเลย โอน ทะเบียน กรรมสิทธิ์ ที่ดิน ดังกล่าวและ รับ เงิน ค่า ที่ดิน ที่ ค้าง จำเลย ไม่ ไป และ ไม่ ยอม โอนกรรมสิทธิ์ ที่ดิน ขอ ให้ บังคับ จำเลย จด ทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ที่ดิน แก่ โจทก์ พร้อมกับ เงิน ค่าที่ดิน ที่ ค้าง หาก จำเลย ไม่ปฏิบัติ ให้ ถือ เอา คำพิพากษา แทน การ แสดง เจตนา ของ จำเลย
จำเลย ให้การ ว่า ได้ ทำ หนังสือ สัญญา จะ ซื้อ ขาย ที่ดิน ตาม ฟ้องโดย มิได้ รับ ความ ยินยอม จาก บุตร ของ หม่อมเจ้า อธิพรพงศ์ ซึ่งมี สิทธิ ใน ที่ดิน ดังกล่าว ด้วย สัญญา ดังกล่าว จึง ตก เป็น โมฆะสัญญา ดังกล่าว มี เงื่อนไข ว่า ผู้ จะ ซื้อ ยินยอม ให้ ผู้ จะ ขายอยู่ ใน ที่ดิน ดังกล่าว และ ไม่ กระทำ สิ่งใด ให้ กระทบ กระเทือนจิตใจ ผู้ จะ ขาย แต่ ผู้ จะ ซื้อ มี เจตนา ขับไล่ จำเลย ไม่ ให้ความ สะดวก ใน การ ที่ จำเลย จะ ใช้ ประตู บ้าน โจทก์ เป็น ทาง เข้าออก และ แสดง กิริยา ไม่ เคารพ จำเลย เป็น การ ผิด เงื่อนไข ใน สัญญาค่า ที่ดิน บางส่วน นาย ไพจิตร สั่งจ่าย เป็น เช็ค เรียกเก็บ เงินไม่ ได้ โจทก์ จึง เป็น ผู้ผิด สัญญา โจทก์ นัด จด ทะเบียน โอนกรรมสิทธิ์ โดย มิได้ ระบุ วัน เวลา สถานที่ จำเลย จึง มิได้ ผิด นัดขอ ให้ ยกฟ้อง
ก่อน ชี้ สอง สถาน หม่อมราชวงศ์ เขมัสศิริ เกษมศรี กับหม่อมราชวงศ์หญิง ธีรตาร์ เกษมศรี บุตร ของ หม่อมเจ้า อธิพรพงศ์เกษมศรี ร้องสอด ขอ เป็น จำเลย ร่วม ศาลชั้นต้น อนุญาต
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย จด ทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ ที่ดิน ตามฟ้อง ให้ โจทก์ พร้อม กับ ชำระ เงิน ที่ ค้าง หาก จำเลย ไม่ โอน ให้ถือ เอา คำพิพากษา แทน การ แสดง เจตนา
จำเลย และ จำเลย ร่วม อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยืน
จำเลย และ จำเลย ร่วม ฎีกา
ศาลฎีกา ฟัง ข้อเท็จจริง ว่า จำเลย เป็น ผู้จัดการ มรดก ของ หม่อมเจ้าอธิพรพงศ์ และ เป็น ยาย ของ โจทก์ และ วินิจฉัย ข้อกฎหมาย ว่า ที่จำเลย ฎีกา ว่า โจทก์ เป็น หลาน จำเลย โจทก์ ฟ้อง จำเลย เป็น ส่วนตัวเป็น คดี อุทลุม โจทก์ ไม่ มี อำนาจ ฟ้อง นั้น เห็นว่า ตาม คำฟ้องโจทก์ บรรยาย ว่า โจทก์ ใน ฐานะ ผู้จัดการ มรดก ของ นาย ไพจิตรสุทธิสัมพัทน์ ฟ้อง จำเลย ใน ฐานะ ผู้จัดการ มรดก ของ หม่อมเจ้าอธิพรพงศ์ เกษมศรี เป็น จำเลย ซึ่งจำเลย ก็ ให้การ ว่า จำเลย ใน ฐานะผู้จัดการมรดก ของ หม่อมเจ้า อธิพรพงศ์ เกษมศรี ได้ ทำ สัญญา จะ ขาย ที่ดินตาม ฟ้อง แก่ นาย ไพจิตร ดังนี้ เห็น ได้ ว่า โจทก์ หา ได้ ฟ้อง จำเลยใน ฐานะ ส่วนตัว ของ โจทก์ และ ฐานะ ส่วนตัว ของ จำเลย ไม่ แม้สัญญา จะ ขาย ที่ดิน ตาม ฟ้อง มิได้ ระบุ ว่า จำเลย ทำ ใน ฐานะผู้จัดการ มรดก ก็ หา ทำให้ ฟ้อง ดังกล่าว เป็น ฟ้อง ใน ฐานะ ส่วนตัวจำเลย ไม่ คดี ที่ โจทก์ ฟ้อง จึง มิใช่ คดี อุทลุม โจทก์ มี อำนาจ ฟ้องจำเลย ได้
พิพากษา ยืน.

Share