แหล่งที่มา : ADMIN
ย่อสั้น
ค่าสอนพิเศษเป็นเงินที่ได้จากการทำงานนอกเวลาทำงานปกติของวันทำงานถือไม่ได้ว่าเป็นค่าจ้างตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ2จึงไม่ใช่ค่าจ้างที่ต้องนำมารวมคำนวณค่าชดเชย.
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย จ้าง โจทก์ เป็น ลูกจ้าง ประจำ จำเลย เลิก จ้างโจทก์ โดย ไม่ มี ความผิด และ ไม่ ปรากฏ สาเหตุ ขอ ให้ บังคับ จำเลยจ่าย ค่าชดเชย แก่ โจทก์ โดย ให้ นำ ค่า สอนพิเศษ มา รวมกับ เงินเดือนเพื่อ คำนวณ ค่าชดเชย ด้วย
จำเลย ให้การ ว่า จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ เพราะ ไป ทำงาน สาย เกียจคร้านทำงาน ไม่ เข้า สอน ตรง ตาม ตารางสอน ขาด สมรรถภาพ ใน การ ทำงาน เลิกสอน ก่อน กำหนด จำเลย มี สิทธิ เลิกจ้าง โจทก์ โดย ไม่ ต้อง จ่ายค่าชดเชย และ ไม่ ใช่ เป็น การ เลิกจ้าง โดย ไม่ เป็น ธรรม ทั้ง ค่าสอนพิเศษ ไม่ ใช่ ค่าจ้าง
ศาลแรงงานกลาง พิพากษา ให้ จำเลย ชำระเงิน ค่าชดเชย แก่ โจทก์ โดยไม่ นำ ค่า สอนพิเศษ มา รวม คำนวณ ค่าชดเชย
โจทก์ อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีแรงงาน วินิจฉัย ว่า เรื่องนี้ ศาลแรงงานกลาง ฟังข้อเท็จจริง ว่า ค่า สอนพิเศษ เป็น เงิน ที่ ตอบแทน การ ทำงาน นอกเวลาทำงาน ปกติ ของ วัน ทำงาน และ เป็น รายได้ ที่ ไม่ แน่นอน จึง ไม่ ใช่ค่าจ้าง ไม่ นำมา รวม คำนวณ ค่าชดเชย ศาลฎีกา เห็นว่า เงิน ที่ ได้จาก การ ทำงาน นอกเวลา ทำงาน ปกติ ของ วัน ทำงาน ถือ ไม่ ได้ ว่า เป็นค่าจ้าง ตาม ความหมาย ของ คำว่า ค่าจ้าง ตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2
พิพากษายืน