คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2291/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

ข้อบังคับโรงงานน้ำตาลกรมโรงงานอุตสาหกรรมว่าด้วยกองทุนบำเหน็จพ.ศ.2527มีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการจ่ายเงินบำเหน็จแตกต่างจากค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ46เพราะตามข้อบังคับดังกล่าวข้อ10นั้นแม้กรณีที่พนักงานตายหรือลาออกก็มีสิทธิได้รับบำเหน็จถือได้ว่าเงินบำเหน็จตามข้อบังคับของจำเลยเป็นเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้างแม้ข้อบังคับข้อ12วรรคแรกจะระบุว่า’พนักงานที่ออกจากงานโดยมีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามกฎหมายเกี่ยวกับแรงงานแล้วไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตามข้อบังคับนี้แต่ถ้าค่าชดเชยที่มีสิทธิได้รับนั้นต่ำกว่าเงินบำเหน็จที่จะได้รับตามข้อบังคับนี้ก็ให้จ่ายเพิ่มให้เท่าจำนวนที่ต่ำกว่านั้น’ก็ตามแต่ความในวรรคสองของข้อบังคับดังกล่าวก็ระบุว่า’ความในวรรคแรกมิให้ใช้บังคับกับพนักงานที่เข้าทำงานอยู่ก่อนวันที่30พฤษภาคม2526’เมื่อปรากฏว่าโจทก์เข้าทำงานตั้งแต่วันที่1ตุลาคม2509ข้อบังคับนี้จึงไม่มีผลใช้บังคับแก่โจทก์. การที่จำเลยแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับว่าด้วยกองทุนบำเหน็จพ.ศ.2527ลงวันที่26มิถุนายน2527ระบุยกเว้นมิให้ถือว่าค่าครองชีพเป็นค่าจ้างด้วยนั้นถือได้ว่าเป็นการแก้ไขข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายและข้อบังคับใหม่ก็ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างข้อบังคับในส่วนนี้จึงไม่มีผลผูกพันโจทก์.

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า เมื่อ วันที่ 1 ตุลาคม 2509 จำเลย จ้าง โจทก์ ทั้ง11 คน เป็น ลูกจ้าง ประจำ ต่อมา วันที่ 1 ตุลาคม 2528 จำเลย เลิกจ้างโจทก์ เพราะ เหตุ เกษียณอายุ โดย ไม่ จ่าย ค่าชดเชย ให้ ตาม กฎหมายนอกจากนี้ ยัง จ่าย เงิน บำเหน็จ ให้ โจทก์ ที่ 4 ถึง 11 ไม่ ถูกต้องขอ ให้ บังคับ จำเลย จ่าย ค่าชดเชย ให้ โจทก์ ทั้ง 11 คน และ ชำระเงินบำเหน็จ ส่วน ที่ ขาด ให้ โจทก์ ที่ 4 ถึง 11 ด้วย
จำเลย ให้การ ว่า จำเลย ไม่ ต้อง จ่าย ค่าชดเชย ให้ โจทก์ ทั้ง 11 คนและ ได้ จ่าย เงิน บำเหน็จ ให้ โจทก์ ที่ 4 ถึง 11 ถูกต้อง แล้ว
ศาลแรงงานกลาง พิพากษา ให้ จำเลย จ่าย ค่าชดเชย ให้ โจทก์ ทั้ง 11 คนและ จ่าย เงินบำเหน็จ ที่ ขาด ให้ โจทก์ ที่ 4 ถึง 11
จำเลย อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีแรงงาน วินิจฉัย ว่า ข้อบังคับ โรงงาน น้ำตาลกรมโรงงานอุตสาหกรรม ว่าด้วย กองทุน บำเหน็จ พ.ศ. 2527 มี หลักเกณฑ์และ เงื่อนไข ใน การ จ่าย แตกต่าง จาก ค่าชดเชย ตาม ประกาศ กระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 เพราะ ประกาศ กระทรวง มหาดไทยดังกล่าว บังคับ ให้ นายจ้าง จ่าย ค่าชดเชย แก่ ลูกจ้าง เมื่อ เลิกจ้างแต่ ตาม ข้อบังคับ ของ จำเลย ข้อ 10 นั้น แม้ กรณี ที่ พนักงาน ตายหรือ ลาออก ก็ มี สิทธิ ได้ รับ บำเหน็จ ถือ ได้ ว่า เงินบำเหน็จเป็น เงิน ประเภท อื่น ซึ่ง นายจ้าง ตกลง จ่าย ให้ แก่ ลูกจ้าง แม้ข้อบังคับ ของ จำเลย ข้อ 12 วรรคแรก จะ ระบุ ว่า ‘พนักงาน ที่ ออก จากงาน โดย มี สิทธิ ได้ รับ ค่าชดเชย ตาม กฎหมาย เกี่ยวกับ แรงงาน แล้วไม่ มี สิทธิ ได้ รับ เงิน บำเหน็จ ตาม ข้อบังคับ นี้ แต่ ถ้า ค่าชดเชยที่ มี สิทธิ ได้ รับ นั้น ต่ำกว่า เงิน บำเหน็จ ที่ จะ ได้ รับ ตามข้อบังคับ นี้ ก็ ให้ จ่าย เพิ่ม ให้ เท่า จำนวน ที่ ต่ำกว่า นั้น’ก็ ตาม แต่ ความ ใน วรรคสอง ก็ ระบุ ว่า ‘ความ ใน วรรคแรก มิให้ ใช้บังคับ กับ พนักงาน ที่ เข้า ทำงาน อยู่ ก่อน วันที่ 30 พฤษภาคม 2526เมื่อ ปรากฏ ว่า โจทก์ ทั้ง 11 คน เข้า ทำงาน ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม2509 ฉะนั้น ข้อบังคับ นี้ จึง ไม่ มี ผล ใช้ บังคับ แก่ โจทก์
ส่วน ปัญหา ที่ ว่า จำเลย จะ ต้อง นำ ค่า ครองชีพ มา เป็น ฐาน ใน การคำนวณ เงินบำเหน็จ ให้ แก่ โจทก์ ที่ 4 ถึง 11 ด้วย หรือไม่ นั้นปรากฏ ว่า จำเลย ได้ แก้ไข ข้อบังคับ ฉบับ ใหม่ ระบุ ยกเว้น มิให้ถือ ว่า ค่าครองชีพ เป็น ค่าจ้าง การ ที่ จำเลย แก้ไข เพิ่มเติมข้อบังคับ ว่าด้วย กองทุน บำเหน็จ พ.ศ. 2527 ลง วันที่ 26 มิถุนายน 2527 ดังกล่าว ซึ่ง เป็น ข้อตกลง เกี่ยวกับ สภาพ การจ้าง โดย ไม่ ปรากฏ ว่าจำเลย ได้ ปฏิบัติ ตาม ขั้นตอน ของ กฎหมาย และ ข้อบังคับ ใหม่ ก็ ไม่เป็น คุณ แก่ ลูกจ้าง ข้อบังคับ ของ จำเลย ใน ส่วน นี้ จึง ไม่ มี ผลผูกพัน โจทก์ ที่ 4 ถึง 11

Share