แหล่งที่มา : ADMIN
ย่อสั้น
การที่จำเลยที่1ซึ่งแต่งเครื่องแบบข้าราชการกรมป่าไม้กับจำเลยที่2เข้าไปในบ้านของผู้เสียหายขณะผู้เสียหายกำลังทำหน้าต่างด้วยไม้สักที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายอยู่แล้วจำเลยที่1พูดว่าเอาเงินมา1,000บาทถ้าไม่ให้จะเสียเงินมากกว่านี้นั้นถือได้ว่าคำพูดดังกล่าวประกอบกับการแต่งเครื่องแบบข้าราชการเป็นการข่มขู่เรียกร้องเอาเงินจากผู้เสียหายอยู่ในตัวและผู้เสียหายยอมมอบเงินให้จำเลยทั้งสองไป500บาทจำเลยทั้งสองจึงมีความผิดฐานกรรโชก.
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน แสดงตน เป็น เจ้าพนักงานป่าไม้ และ กระทำการ เป็น เจ้าพนักงาน ป่าไม้ เข้า จับกุม นาง บานผู้เสียหาย และ ข่มขืน ใจ ผู้เสียหาย ให้ ยอม ให้ เงิน 1,000 บาทโดย ขู่เข็ญ ว่า จะ จับ ผู้เสียหาย ส่ง สถานี ตำรวจ จน ผู้เสียหาย ยอมให้ เงิน จำเลย ทั้ง สอง ไป 500 บาท ขอ ให้ ลงโทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 145, 337, 83
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ปฏิเสธ
ศาลชั้นต้น พิพากษา ยกฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา แก้ เป็น ว่า จำเลย ทั้ง สอง มี ความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 337, 83 จำคุก คนละ 1 ปี นอกจาก ที่ แก้ไข ให้เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น
จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ที่ จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา ว่า คำพูด ของ จำเลยที่ 1 ที่ พูด ว่า ‘เอา เงิน มา 1,000 บาท ถ้า ไม่ ให้ จะ เสีย เงินมากกว่า นี้’ มิได้ เป็น การ พูด ข่มขู่ แต่ ประการ ใด เป็น เพียงเรื่อง การ ต่อรอง ตาม ปกติ ธรรมดา เท่านั้น ศาลฎีกา เห็นว่า จำเลยทั้ง สอง กับ ผู้เสียหาย ไม่ มี หนี้สิน เกี่ยวพัน กัน จึง ไม่ มีเหตุผล ประการ ใด ที่ จำเลย ทั้ง สอง จะ ต้อง ไป เรียก เก็บ เงิน หรือต่อรอง เกี่ยวกับ การ เงิน กับ ผู้เสียหาย แต่ อย่างใด การ ที่ จำเลยที่ 1 แต่ง เคื่องแบบ ข้าราชการ และ พูด ให้ ผู้เสียหาย เอา เงิน มาให้ จำเลย 1,000 บาท มิฉะนั้น อาจ จะ ต้อง เสีย เงิน มากกว่า นั้นแสดง ให้ เห็น ว่า จำเลย ทราบ ว่า ผู้เสียหาย มี ความผิด เกี่ยวกับไม้แปรรูป ที่ นำ มา ใช้ ทำ หน้าต่าง จึง ได้ มา เรียกร้อง เอา เงินหาก ผู้เสียหาย ไม่ ให้ ก็ อาจ ถูก จับกุม ดำเนินคดี ต้อง เสีย เงินมากกว่า 1,000 บาท เห็น ได้ ว่า คำพูด ของ จำเลย ที่ 1 ดังกล่าว ประกอบกับ การ แต่ง เครื่องแบบ ข้าราชการ ของ จำเลย ที่ 1 เพื่อ ให้ผู้เสียหาย เข้าใจ ว่า เป็น เจ้าพนักงาน ป่าไม้ เป็น การ ข่มขู่ อยู่ใน ตัว หา ใช่ เป็น การ ต่อรอง ซึ่ง เป็น เรื่อง ใน ทางแพ่ง ดัง จำเลยฎีกา ไม่ จำเลย ทั้ง สอง จึง มี ความผิด ฐาน กรรโชก
พิพากษา ยืน.