คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2290/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

นายจ้างกำหนดระเบียบข้อบังคับให้ลูกจ้างปฏิบัติก็เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการปฏิบัติงานและป้องกันมิให้ลูกจ้างกระทำการอันอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินหรือชื่อเสียงของนายจ้าง.ดังนั้นไม่ว่าลูกจ้างจะทำการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับในขณะทำงานหรือนอกเวลาทำงานกระทำภายในหรือภายนอกสถานที่ทำงานถ้าการกระทำนั้นอาจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียงหรือในทางอื่นใดแล้วนายจ้างย่อมมีอำนาจพิจารณาลงโทษลูกจ้างได้ตามระเบียบข้อบังคับโจทก์กระทำอนาจารโดยมีอาวุธต่อต.สาวใช้ของอ.เพื่อนร่วมงานที่บ้านของอ.ซึ่งเป็นความผิดทางอาญาและผิดต่อศีลธรรมเป็นการไม่รักษาเกียรติและประพฤติชั่วทั้งฝ่าฝืนต่อระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรงต้องด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47(3).จำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม.

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น ลูกจ้าง ประจำ ของ จำเลย จำเลย เลิกจ้างโจทก์ โดย หา ว่า โจทก์ กระทำ ผิด อาญา โดย เจตนา ต่อ ผู้อื่น และฝ่าฝืน ระเบียบ วินัย เกี่ยวกับ การ ทำงาน ของ จำเลย ซึ่ง ไม่ เป็นความจริง เป็น การ เลิกจ้าง ที่ ไม่ เป็นธรรม ขอ ให้ บังคับ จำเลยรับ โจทก์ กลับ เข้า ทำงาน หรือ ชดใช้ ค่าเสียหาย ค่าชดเชย และ สินจ้างแทน การ บอกกล่าว ล่วงหน้า พร้อม ดอกเบี้ย ค่าจ้าง นับจาก วันพักงานจน ถึง วัน เลิกจ้าง ค่า ทำงาน ใน วันหยุด และ ออก ใบ ผ่านงาน ให้ โจทก์
จำเลย ให้การ ว่า จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ เพราะ โจทก์ ใช้ กำลังประทุษร้าย โดย มี อาวุธ กระทำ อนาจาร บุคคล อื่น เป็น การ กระทำ ผิดระเบียบ วินัย ของ จำเลย อย่าง ร้ายแรง ไม่ รักษา เกียรติ และ ประพฤติชั่ว ซึ่ง มี โทษ ถึง ไล่ออก ปลดออก ตาม ระเบียบ ของ จำเลย โจทก์ ไม่ มีสิทธิ เรียก เงิน และ ขอ กลับ เข้า ทำงาน ตาม ฟ้อง ขอ ให้ ยกฟ้อง
ศาลแรงงานกลาง พิพากษา ให้ จำเลย จ่าย ค่าชดเชย สินจ้าง แทน การบอกกล่าว ล่วงหน้า ค่าจ้าง ค้างจ่าย พร้อม ดอกเบี้ย และ ให้ ออกใบผ่านงาน ให้ โจทก์ คำขอ อื่น ให้ ยก
โจทก์ จำเลย อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีแรงงาน วินิจฉัย ว่า การ ที่ นายจ้าง กำหนด ระเบียบข้อบังคับ ต่างๆ ไว้ เพื่อ ให้ ลูกจ้าง ปฏิบัติ นั้น ก็ เพื่อ ให้เกิด ความ เป็น ระเบียบ เรียบร้อย ใน การ ปฏิบัติ งาน และ เพื่อ เป็นการ ป้องกัน มิให้ ลูกจ้าง กระทำการ ใดๆ อันอาจ ก่อ ให้ เกิด ความเสียหาย ต่อ ทรัพย์สิน หรือ ต่อ ชื่อเสียง ของ นายจ้าง ไม่ ว่า ลูกจ้างจะ กระทำการ ฝ่าฝืน ระเบียบ ข้อบังคับ ใน ขณะ ทำงาน หรือ นอก เวลา ทำงาน และ ไม่ ว่า ลูกจ้าง จะ ได้ กระทำ ภายใน หรือ ภายนอก สถานที่ ทำงานหาก การ กระทำ ของ ลูกจ้าง อาจ ทำ ให้ นายจ้าง ได้ รับ ความ เสียหายต่อ ชื่อเสียง หรือ ใน ทาง อื่นใด แล้ว นายจ้าง ย่อม มี อำนาจ พิจารณาลงโทษ ลูกจ้าง ไป ตาม ระเบียบ ข้อบังคับ ที่ กำหนด ไว้ ได้ ดัง เช่นกรณี ของ โจทก์ ปรากฏ ว่า โจทก์ กระทำ อนาจาร โดย มี อาวุธ ต่อ นางสาวตุ๊ เด็ก รับใช้ ของ นาง อุไรรัตน์ เพื่อน ที่ ทำงาน เดียวกัน ขณะ ที่นาง อุไรรัตน์ ไม่ อยู่ บ้าน การ กระทำ ของ โจทก์ นอกจาก เป็น ความผิดทาง อาญา แล้ว ยัง ผิด ต่อ ศีลธรรม อันดีงาม อีกด้วย เป็น การ ไม่ รักษาเกียรติ และ ประพฤติ ชั่ว ซึ่ง อาจ ก่อ ให้ เกิด ความ เสียหาย ต่อชื่อเสียง ของ จำเลย ผู้ เป็น นายจ้าง ได้ เมื่อ กรณี ของ โจทก์ เป็นการ ประพฤติ ผิด วินัย ต้อง ด้วย ระเบียบ ข้อบังคับ เกี่ยวกับ การ ทำงานของ จำเลย การ ที่ จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ จึง ถือ ไม่ ได้ ว่า เป็นการ เลิกจ้าง ที่ ไม่ เป็นธรรม และ การ กระทำ ผิด ของ โจทก์ ถือ ได้ ว่าเป็น การ ฝ่าฝืน ต่อ ระเบียบ ข้อบังคับ เกี่ยวกับ การ ทำงาน ของ จำเลยเป็น กรณี ที่ ร้ายแรง กรณี ต้อง ด้วย ประกาศ กระทรวง มหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3) ซึ่ง จำเลย มี สิทธิ เลิกจ้าง โจทก์ ได้โดย ไม่ ต้อง จ่าย ค่าชดเชย และ สินจ้าง แทน การ บอกกล่าว ล่วงหน้า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583
พิพากษา แก้ เป็น ว่า จำเลย ไม่ ต้อง จ่าย ค่าชดเชย และ สินจ้าง แทนการ บอกกล่าว ล่วงหน้า แก่ โจทก์ นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตามคำพิพากษา ศาลแรงงานกลาง

Share