คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22/2540

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทรายพ.ศ.2527มาตรา17ได้กำหนดอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายไว้หลายประการเช่นมาตรา17(18)ให้มีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการจำหน่ายน้ำตาลทรายและเพื่อไว้บริโภคในราชอาณาจักรและกำหนดราคาขายน้ำตาลทรายดังกล่าว(30)ให้อำนาจกำหนดระเบียบอื่นใดเพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ซึ่งระเบียบดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายได้ออกระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่าด้วยการจำหน่ายน้ำตาลทรายให้แก่ผู้ผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกฉบับที่1(พ.ศ.2528)ประกาศเมื่อวันที่26มีนาคม2528ระเบียบในข้อ5มีความว่าให้คณะกรรมการน้ำตาลทรายมีอำนาจหน้าที่(6)กำหนดจำนวนเงินสมทบและระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบและ(7)ให้กองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายจัดทำบัญชีเรียกว่า”บัญชีเงินจ่ายคืนผู้ผลิต”เพื่อนำเงินสมทบที่กองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายเรียกเก็บจากโรงงานน้ำตาลทุกโรงงานตามจำนวนที่คณะกรรมการน้ำตาลทรายกำหนดดังนั้นการที่คณะกรรมการน้ำตาลทรายออกประกาศเรื่องการจำหน่ายน้ำตาลทรายให้แก่ผู้ผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกในฤดูการผลิตปี2530/2531เมื่อวันที่23มีนาคม2531โดยอาศัยอำนาจตามข้อ5แห่งระเบียบดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายโจทก์ขอให้เพิกถอนประกาศดังกล่าวไม่ได้ ประกาศคณะกรรมการน้ำตาลทรายที่เรียกเก็บเงินสมทบเป็นประกาศที่ใช้บังคับแก่การจำหน่ายน้ำตาลทรายให้แก่ผู้ผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกในฤดูการผลิตปี2530/2531ที่พิพาทกันในคดีนี้จะนำประกาศคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายฉบับที่5พ.ศ.2532ซึ่งใช้บังคับแก่การจำหน่ายน้ำตาลทรายให้แก่ผู้ผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกในฤดูการผลิตในปีต่อๆไปอันเป็นระยะเวลาภายหลังฤดูการผลิตปี2530/2531มาใช้บังคับแก่กรณีนี้หาได้ไม่มติของคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายจึงชอบแล้ว

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 17 เป็นคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 จำเลยที่ 18 ถึง 26 เป็นคณะกรรมการบริหาร จำเลยที่ 27 ถึงที่ 41 เป็นคณะกรรมการน้ำตาลทราย จำเลยที่ 42 เป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 ว่า “กองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย”วันที่ 26 มีนาคม 2528 คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายกำหนดระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่าด้วยการจำหน่ายน้ำตาลทรายให้แก่ผู้ผลิตผู้ซึ่งซื้อน้ำตาลทรายเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2528) กำหนดให้ผู้ผลิตผู้ซึ่งซื้อน้ำตาลทรายเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าสำเร็จรูป และส่งสินค้าสำเร็จรูป และส่งสินค้าสำเร็จรูปนั้นออกนอกราชอาณาจักรสามารถซื้อน้ำตาลทรายจากโรงงานน้ำตาลทรายในราคาที่คณะกรรมการน้ำตาลทรายกำหนดและได้กำหนด “เงินจ่ายคืน” และ “เงินสมทบ”ที่ให้โรงงานน้ำตาลทุกโรงงานจ่ายเงินสมทบให้กองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายเพื่อนำไปจ่ายเป็น “เงินจ่ายคืน” ตามระเบียบนี้วันที่23 มีนาคม 2531 คณะกรรมการน้ำตาลทรายได้ออกประกาศเรื่องการจำหน่ายน้ำตาลทรายให้แก่ผู้ผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกในฤดูการผลิตปี 2530/2531 ข้อ 3 กำหนดราคาน้ำตาลทรายของฤดูการผลิตปี 2530/2531ที่ถือเป็นการจำหน่ายให้แก่ผู้ผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก และใช้เป็นเกณฑ์คำนวณเงินจ่ายคืน ข้อที่ 9 กำหนดว่า เมื่อคณะกรรมการน้ำตาลทราย พิจารณาจำนวนเงินจ่ายคืนที่จะจ่ายให้แก่ผู้ผลิตเพื่อการส่งออกทุกรายตามคำขอเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะกำหนดจำนวนเงินสมทบที่จะเรียกเก็บจากโรงงานทุกโรงตามสัดส่วนโควตา ก.ฤดูการผลิตปี 2530/2531 เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2532 เนื่องจากอัตราส่วนของผลตอบแทนระหว่างชาวไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาลที่ใช้บังคับอยู่ตามความในมาตรา 86 แห่งพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทรายพ.ศ. 2527 ได้สิ้นสุดลง คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย จึงออกประกาศคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ฉบับที่ 5 พ.ศ. 2532 เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการจัดทำประมาณรายได้ การกำหนดและการชำระราคาอ้อยและค่าผลิตน้ำตาลทรายและอัตราส่วนของผลตอบแทนระหว่างชาวไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาลตามระบบ 70/30 ภายหลังจากที่มีการประกาศคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายฉบับที่ 5 พ.ศ. 2532 แล้วจำเลยที่ 15 และที่ 27 ถึงที่ 41 ในฐานะคณะกรรมการน้ำตาลทรายซึ่งมีหน้าที่ต้องปฎิบัติให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ฉบับที่ 5 พ.ศ. 2532 กลับเพิกเฉย จำเลยที่ 42 เรียกเก็บ”เงินสมทบ” จากโจทก์เพื่อนำไปชำระเป็น “เงินจ่ายคืน” ให้แก่ผู้ผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกในฤดูการผลิตปี 2530/2531เงินสมทบที่เรียกเก็บจากโจทก์ ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในประกาศคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ฉบับที่ 5 พ.ศ. 2532ทำให้โจทก์ต้องเสียเงินเพิ่มขึ้น การที่จำเลยที่ 15 และที่ 27ถึงที่ 41 ในฐานะคณะกรรมการในราชอาณาจักร และกำหนดราคาขายน้ำตาลทรายดังกล่าว ตลอดจนกำหนดอัตราส่วนของผลตอบแทนระหว่างชาวไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาล ต่อมาคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายได้ออกระเบียบ กำหนดให้คณะกรรมการน้ำตาลทราย มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดจำนวนเงินสมทบและระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบ ดังนั้นประกาศของคณะกรรมการน้ำตาลทราย จึงออกโดยชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ยกฟ้อง
จำเลยที่ 14 ที่ 25 และที่ 33 ให้การว่า โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 14 ที่ 25 และที่ 33 ขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “มีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า การที่คณะกรรมการน้ำตาลทรายออกประกาศเรื่องการจำหน่ายน้ำตาลทรายให้แก่ผู้ผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกในฤดูการผลิตปี 2530/2531 ลงวันที่ 23มีนาคม 2531 เป็นการออกประกาศโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ คำสั่งและมติของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 17 ในการประชุมครั้งที่ 36/2532คำสั่งและมติของจำเลยที่ 16 ถึงที่ 26 ในการประชุมครั้งที่12/2532 และคำสั่งและมติของจำเลยที่ 15 และที่ 27 ถึงที่ 40ในการประชุมครั้งที่ 12/2532 ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และโจทก์จะขอให้เพิกถอนประกาศและคำสั่งตามมติต่าง ๆ ดังกล่าวได้หรือไม่เห็นว่า พระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 มาตรา 17 ได้กำหนดอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายไว้หลายประการเช่น มาตรา 17 (18) ให้มีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการจำหน่ายน้ำตาลทรายเพื่อไว้บริโภคในราชอาณาจักรและกำหนดราคาขายน้ำตาลทรายดังกล่าว (30) ให้อำนาจกำหนดระเบียบอื่นใดเพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้เป็นต้น ซึ่งการกำหนดระเบียบดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายได้ออกระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่าด้วยการจำหน่ายน้ำตาลทรายให้แก่ผู้ผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก ฉบับที่ 1(พ.ศ. 2528) ซึ่งได้ประกาศเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2528 ระเบียบดังกล่าวในข้อ 5 มีความว่า ให้คณะกรรมการน้ำตาลทรายมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (6) กำหนดจำนวนเงินสมทบและระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบและ (7) ความว่าให้กองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายจัดทำบัญชีขึ้นบัญชีหนึ่งเรียกว่า “บัญชีเงินจ่ายคืนผู้ผลิต” เพื่อนำเงินสมทบที่กองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายเรียกเก็บจากโรงงานน้ำตาลทรายทุกโรงงานตามจำนวนที่คณะกรรมการน้ำตาลทรายกำหนดจำนวนเงินสมทบของโจทก์โดยคิดจากน้ำตาลทรายโควตา ก. ตามประกาศคณะกรรมการน้ำตาลทราย ฉบับลงวันที่ 23 มีนาคม 2531 เป็นการกำหนดที่ไม่สอดคล้องกับระบบอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย ระบบ 70/30 ทั้งยังเป็นการขัดต่อประกาศคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ฉบับที่ 5พ.ศ. 2532 ซึ่งเป็นประกาศหลักเกณฑ์ใหญ่ ที่กำหนดให้คณะกรรมการอื่นปฎิบัติให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทรายพ.ศ. 2527 ด้วย ภายหลังที่จำเลยที่ 42 มีหนังสือแจ้งให้โจทก์จ่ายเงินสมทบตามจำนวนดังกล่าวแล้ว โจทก์มีหนังสือถึงจำเลยที่ 27ในฐานะประธานคณะกรรมการน้ำตาลทราย ขอให้แก้ไขหลักเกณฑ์ในการเรียกเก็บเงินสมทบจากโจทก์ให้ถูกต้อง แต่จำเลยที่ 15 และที่ 27ถึงที่ 41 ในฐานะคณะกรรมการน้ำตาลทรายกลับเพิกเฉยและมีมติยืนยันในหลักเกณฑ์เดิม ต่อมาจำเลยที่ 16 ถึงที่ 26 มีมติในการประชุมครั้งที่ 12/2532 แจ้งให้โจทก์จ่ายเงินสมทบมิฉะนั้นจะปรับโจทก์โจทก์อุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ 16 ถึงที่ 26 โดยอุทธรณ์ ต่อจำเลยที่ 1 ในฐานะประธานกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย แต่จำเลยที่ 1ถึงที่ 17 ในฐานะคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายกลับเพิกเฉยไม่แก้ไขและมีมติยกอุทธรณ์ของโจทก์ การกระทำดังกล่าวของจำเลยทั้งสี่สิบสองเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขัดต่อประกาศคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ฉบับที่ 5 พ.ศ. 2532 และพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 ทำให้โจทก์เสียหายต้องเสียเงินเพิ่มขึ้นเป็นเงิน 99,193.17 บาท ขอให้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งเพิกถอนคำสั่งและมติของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 17 ในการประชุมครั้งที่ 36/2532 เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2532 และคำสั่งและมติของจำเลยที่ 16 ถึงที่ 26 ในการประชุมครั้งที่ 12/2532 เมื่อวันที่22 กันยายน 2532 และคำสั่งและมติของจำเลยที่ 15 และที่ 27ถึงที่ 41 ในการประชุม ครั้งที่ 12/2532 เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2532ขอให้เพิกถอนประกาศคณะกรรมการน้ำตาลทราย เรื่องการจำหน่ายน้ำตาลทรายให้แก่ผู้ผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกในฤดูกาลผลิตปี2530/2531 ลงวันที่ 23 มีนาคม 2531 ข้อที่ 9
ระหว่างพิจารณา โจทก์ยื่นคำบอกกล่าวขอถอนฟ้องจำเลยที่ 41ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 41 จากสารบบความ
จำเลยที่ 1 ถึง 13 ที่ 15 ถึงที่ 24 ที่ 26 ที่ 32 ที่ 34ถึงที่ 40 และที่ 42 ให้การว่า ตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทรายพ.ศ. 2527 ไม่ได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์สัดส่วนความรับผิดชอบค่าใช้จ่ายและเงินสมทบที่เรียกเก็บจากโรงงานน้ำตาลแต่กำหนดให้คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายมีอำนาจหน้าที่ต่าง ๆ ไว้ รวมทั้งมีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการจำหน่ายน้ำตาลทรายเพื่อใช้บริโภคน้ำตาลทรายกำหนด ดังนี้ การที่คณะกรรมการน้ำตาลทรายออกประกาศเรื่องการจำหน่ายน้ำตาลทรายให้แก่ผู้ผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกในฤดูการผลิตปี 2530/2531 เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2531โดยอาศัยอำนาจตามข้อ 5 แห่งระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่าด้วยการจำหน่ายน้ำตาลทรายให้แก่ผู้ผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2528) ประกาศของคณะกรรมการดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายโจทก์จึงขอให้เพิกถอนประกาศดังกล่าวไม่ได้ ส่วนมติของคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย มติคณะกรรมการบริหาร และมติคณะกรรมการน้ำตาลทราย ตามฟ้องก็ดีล้วนแต่เป็นมติที่ได้ประชุมกันโดยชอบด้วยกฎหมายทั้งสิ้น ไม่ปรากฎว่า คณะกรรมการชุดต่าง ๆ ได้ประชุมกันโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายอย่างใด โจทก์จึงขอให้เพิกถอนมติดังกล่าวไม่ได้เช่นเดียวกัน ส่วนที่โจทก์ฎีกาว่า การเรียกเก็บเงินสมทบตามประกาศคณะกรรมการน้ำตาลทราย ตามเอกสารหมาย จ.4 ไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ ควรใช้ประกาศคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ฉบับที่ 5พ.ศ. 2532 ใช้บังคับนั้น เห็นว่า ประกาศคณะกรรมการน้ำตาลทรายตามเอกสารหมาย จ.4 เป็นประกาศที่ใช้บังคับแก่การจำหน่ายน้ำตาลทรายให้แก่ผู้ผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกในฤดูการผลิตปี 2530/2531ที่พิพาทกันในคดีนี้ จะนำประกาศคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายฉบับที่ 5 พ.ศ. 2532 ซึ่งใช้บังคับแก่การจำหน่ายน้ำตาลทรายให้แก่ผู้ผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกในฤดูการผลิตในปีต่อ ๆ ไปอันเป็นระยะเวลาภายหลังฤดูการผลิตปี 2530/2531 มาใช้บังคับแก่กรณีนี้หาได้ไม่ มติของคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย มติคณะกรรมการบริหารและมติคณะกรรมการน้ำตาลทราย จึงชอบแล้ว ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษายกฟ้อง ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น”
พิพากษายืน

Share