คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2145/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

เมื่อศาลลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯมาตรา8ทวิวรรคสอง,72ทวิวรรคสองซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดและเป็นกรรมเดียวกับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา371แล้วก็จะอาศัยประมวลกฎหมายอาญามาตรา371มาสั่งริบอาวุธปืนของกลางไม่ได้จำเลยได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนดังกล่าวได้โดยชอบเมื่อความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯที่ลงโทษจำเลยไม่ได้บัญญัติเรื่องริบทรัพย์ไว้ศาลก็ริบอาวุธปืนของกลางไม่ได้และเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ ลงโทษ จำเลย ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33,80, 83, 91, 288, 358, 371, 376 พระราชบัญญัติ อาวุธปืนเครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และ สิ่งเทียมอาวุธปืนพ.ศ. 2490 มาตรา 8 ทวิ , 72 ทวิ และ ริบ อาวุธปืน กับ หัว กระสุนปืน1 หัว ของกลาง
จำเลย ให้การ ปฏิเสธ
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ฐาน พยายามฆ่าผู้อื่นและ ฐาน ทำให้เสียทรัพย์ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80, 83 และ มาตรา 358 ประกอบ มาตรา 83 การกระทำ ของจำเลย เป็น กรรมเดียว ผิด กฎหมาย หลายบท ให้ ลงโทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 ประกอบ มาตรา 80, 83 อันเป็น บทหนัก จำคุก 10 ปี และ มีความผิด ฐาน พา อาวุธปืน ตาม พระราชบัญญัติ อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนวัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และ สิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 8 ทวิวรรคสอง , 72 ทวิ วรรคสอง และ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371การกระทำ ของ จำเลย เป็น กรรมเดียว ผิด กฎหมาย หลายบท ให้ ลงโทษ ตามพระราชบัญญัติ อาวุธปืน ฯ อันเป็น บทหนัก จำคุก 6 เดือน เรียง กระทงลงโทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 รวมเป็น โทษ จำคุก 10 ปี 6 เดือนคำรับสารภาพ ชั้น จับกุม และ คำเบิกความ ของ จำเลย เป็น ประโยชน์ แก่ การพิจารณา อยู่ บ้าง ลดโทษ ให้ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 หนึ่ง ใน สี่คง ให้ จำคุก ไว้ 7 ปี 10 เดือน 15 วัน ข้อหา นอกจาก นี้ ให้ยก และ ให้ริบอาวุธปืน กับ หัว กระสุนปืน ของกลาง
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “เมื่อ ข้อเท็จจริง ยัง ฟัง ไม่ได้ ว่า จำเลย มีความผิด ฐาน พยายามฆ่า และ ทำให้เสียทรัพย์ อาวุธปืน ของกลาง จึง มิใช่ทรัพย์สิน ที่ จำเลย ได้ ใช้ ใน การกระทำ ความผิด และ แม้ ว่า จำเลย มี ความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 ซึ่ง ศาล อาจ สั่ง ริบ อาวุธปืนของกลาง ได้ ก็ ตาม แต่ ข้อหา ความผิด ตาม มาตรา 371 นี้ เป็น กรรมเดียวกับ ความผิด ตาม พระราชบัญญัติ อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิดดอกไม้เพลิง และ สิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 8 ทวิ วรรคสอง ,72 ทวิ วรรคสอง เมื่อ ศาลล่าง ทั้ง สอง ลงโทษ จำเลย ตาม พระราชบัญญัติอาวุธปืน ฯ ซึ่ง เป็น บทที่ มี โทษหนัก ที่สุด แล้ว ย่อม จะ อาศัย บทบัญญัติตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 มา เพื่อ สั่ง ริบ อาวุธปืน ของกลางไม่ได้ อาวุธปืน ของกลาง จำเลย ได้รับ อนุญาต ให้ มี และ ใช้ ได้ โดยชอบเมื่อ ความผิด ตาม พระราชบัญญัติ อาวุธปืน ฯ ที่ ลงโทษ จำเลย ไม่ได้ บัญญัติเรื่อง ริบทรัพย์ ไว้ ศาล ก็ ริบ อาวุธปืน ของกลาง ไม่ได้ และ ปัญหา ข้อ นี้เป็น ปัญหาข้อกฎหมาย ที่ เกี่ยวกับ ความสงบ เรียบร้อย ศาลฎีกา หยิบยก ขึ้นวินิจฉัย เอง ได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195ประกอบ มาตรา 225”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า สำหรับ ความผิด ฐาน พา อาวุธปืน โดย ไม่ได้ รับอนุญาต ให้ ลงโทษ ปรับ จำเลย อีก สถาน หนึ่ง เป็น เงิน 4,000 บาท ลดโทษให้ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 หนึ่ง ใน สี่ คง ปรับ 3,000 บาทโทษ จำคุก ให้ รอการลงโทษ ไว้ มี กำหนด 2 ปี ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 56 และ ให้ คุม ความประพฤติ ของ จำเลย ไว้ โดย ให้ จำเลยไป รายงาน ตัว ต่อ พนักงานคุมประพฤติ ทุก 3 เดือน ตลอด ระยะเวลา ที่ศาล รอการลงโทษ ไว้ ไม่ชำระ ค่าปรับ ให้ จัดการ ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 29, 30 ให้ยก ฟ้องโจทก์ ข้อหา พยายามฆ่า และ ทำให้เสียทรัพย์คืน อาวุธปืน ของกลาง แก่ เจ้าของ นอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็น ไป ตามคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์

Share