คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2139/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1373มีความหมายว่าบุคคลผู้มีชื่อในทะเบียนอสังหาริมทรัพย์ที่ได้จดทะเบียนไว้ในทะเบียนที่ดินเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ฝ่ายที่อ้างว่ามิได้เป็นเช่นนี้จะต้องนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น ผู้จัดการมรดก ของ นาย อ๊อย ทรัพย์เย็น ตาม คำสั่งศาล เดิม นาย อ๊อย เป็น ผู้ซื้อ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 6460 แต่ ได้ ลงชื่อ จำเลย ที่ 1 ไว้ แทน ต่อมา จำเลย ที่ 1 โอน ขาย ที่ดิน ดังกล่าวให้ แก่ จำเลย ที่ 2 โดย จำเลย ที่ 2 ทราบ ดี อยู่ ก่อน แล้ว ว่า เป็นทรัพย์มรดก ของ นาย อ๊อย อัน ตก แก่ ทายาท ขอให้ พิพากษา ว่า สัญญาซื้อขาย ที่ดิน โฉนด เลขที่ 6460 ระหว่าง จำเลย ที่ 1 ผู้ขาย และ จำเลย ที่ 2ผู้ซื้อ ทำ กัน ไว้ ที่ สำนักงาน ที่ดิน จังหวัด ราชบุรี เป็น โมฆะให้ กรรมสิทธิ์ ที่ดิน กลับมา อยู่ ใน สภาพ เดิม
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์ โดย ได้รับ อนุญาต ให้ ดำเนินคดี อย่าง คนอนาถา
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ และ จำเลย ที่ 1 ฎีกา โดย โจทก์ ได้รับ อนุญาต ให้ ดำเนินคดีอย่าง คนอนาถา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง ฟังได้ ในเบื้องต้น ตาม ที่ คู่ความ นำสืบ รับ กัน ว่า โจทก์ เป็น ภริยา ของนาย อ๊อย ทรัพย์เย็น มี บุตร ด้วยกัน 11 คน จำเลย ที่ 1 เป็น บุตร คน ที่ ห้า เดิม นาย อ๊อย และ ครอบครัว อยู่ ที่ ตำบล ดอนไผ่ อำเภอ ดำเนินสะดวก จังหวัด ราชบุรี โดย นาย อ๊อย ประกอบ อาชีพ ทำ โรง กลึง ร่วม กับ ภริยา และ บุตร ต่อมา บุตร บางคน แยก ไป มี ครอบครัว แต่ นาย อ๊อย กับ จำเลย ที่ 1 และ บุตร บางคน ก็ ยัง ช่วย กัน ทำ โรง กลึง ครั้น เมื่อพ.ศ. 2513 เจ้าของ ที่ดิน ที่ ตั้ง โรง กลึง มี ความ ประสงค์ จะขาย ที่ดินนาย อ๊อย กับ ครอบครัว จึง ย้าย มา อยู่ ใน ที่ดินพิพาท โดย จำเลย ที่ 1มี ชื่อ ใน โฉนด ที่ดิน ตาม เอกสาร หมาย จ. 3 หรือ ล. 10 นาย อ๊อย ขาย บ้าน ที่อยู่ เดิม แล้ว ปลูก ใหม่ อยู่อาศัย กับ ครอบครัว ใน ที่ดินพิพาทและ ประกอบ กิจการ โรง กลึง เช่น เดิม โดย มี จำเลย ที่ 1 เป็น ผู้ขออนุญาต ประกอบ กิจการ จำเลย ที่ 1 เป็น ผู้นำ ที่ดินพิพาท ไป จำนองธนาคาร เพื่อ นำ เงิน มา ชำระ ค่าที่ดิน และ ใช้ จ่าย ใน การ ทำ กิจการ โรง กลึงรวมทั้ง ค่าก่อสร้าง บ้าน ด้วย แต่ ยัง คง มี หนี้สิน ต้อง ไถ่ถอน จำนอง แล้วนำ กลับ ไป จำนอง ใหม่ หลาย ครั้ง โดย เปลี่ยน ตัว ผู้รับจำนอง ครั้งสุดท้ายจดทะเบียน จำนอง แก่ บริษัท เงินทุน ยูไนเต็ด จำกัด เมื่อ วันที่ 19 กรกฎาคม 2527 นาย อ๊อย ถึงแก่กรรม โจทก์ ได้ เป็น ผู้จัดการมรดก ตาม คำสั่งศาล ชั้นต้น ต่อมา วันที่ 30 มกราคม 2532 จำเลย ที่ 1จดทะเบียน โอน ขาย ที่ดินพิพาท ให้ แก่ จำเลย ที่ 2
คดี นี้ ทั้ง โจทก์ และ จำเลย ที่ 1 ฎีกา โดย โจทก์ ฎีกา ว่า จำเลย ที่ 2รับโอน ที่ดินพิพาท โดย ไม่สุจริต ส่วน จำเลย ที่ 1 ฎีกา ว่า ที่ดินพิพาทเป็น ของ จำเลย ที่ 1 มิใช่ เป็น ของ นาย อ๊อย บิดา เป็น ผู้ซื้อ แล้ว ใส่ ชื่อ จำเลย ที่ 1 เป็น ผู้ถือกรรมสิทธิ์ แทน ศาลฎีกา เห็นสมควร วินิจฉัยฎีกา ดังกล่าว รวมกัน ไป ทีเดียว ที่ โจทก์ นำสืบ ว่า นาย อ๊อย ให้ จำเลย ที่ 1 ลงชื่อ ใน โฉนด เพื่อ ประโยชน์ ใน การ นำ ที่ดินพิพาท ไป จำนองธนาคาร อีก ทั้ง เห็นว่า จำเลย ที่ 1 เป็น บุตรชาย คน โต ที่ ยัง อยู่ ใน บ้านและ เป็น ผู้ควบคุม กิจการ งาน ใน โรง กลึง นั้น โดย บุตร คนอื่น ก็ ยินยอม ด้วยเห็นว่า ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373 บัญญัติ ว่า”ถ้า ทรัพย์สิน เป็น อสังหาริมทรัพย์ ที่ ได้ จดทะเบียน ไว้ ใน ทะเบียน ที่ดินท่าน ให้ สันนิษฐาน ไว้ ก่อน ว่า บุคคล ผู้มีชื่อ ใน ทะเบียน เป็น ผู้ มีสิทธิ ครอบครอง ” ซึ่ง มี ความหมาย ว่า ผู้มีชื่อ ใน ทะเบียน เป็น เจ้าของกรรมสิทธิ์ นั่นเอง ฝ่าย ที่ อ้างว่า มิได้ เป็น เช่นนี้ จะ ต้อง นำสืบหักล้าง ข้อสันนิษฐาน ดังกล่าว จึง ต้อง พิเคราะห์ ว่า ข้อ นำสืบ ของ โจทก์เพียงพอ จะ ฟัง หักล้าง ข้อสันนิษฐาน นี้ ได้ หรือไม่ น่าเชื่อ ว่าจำเลย ที่ 1 เป็น ผู้ซื้อ ที่ดินพิพาท มา เป็น ของ ตนเอง แล้ว อนุญาต ให้ บิดามารดา รวมทั้ง พี่น้อง มา ปลูก บ้าน อยู่อาศัย ดังนั้น แม้ นาย อ๊อย จะ ทำ พินัยกรรม ตาม เอกสาร หมาย จ. 7 จริง พินัยกรรม นั้น ก็ ไม่มี ผล เพราะทรัพย์สิน ตาม พินัยกรรม มิใช่ ของ นาย อ๊อย เมื่อ ฟัง ว่า จำเลย ที่ 1เป็น เจ้าของ ที่ดินพิพาท ย่อม มีอำนาจ ที่ จะขาย ที่ดิน นั้น โดย ลำพัง ได้และ จำเลย ทั้ง สอง ยัง นำสืบ ได้ว่า เมื่อ จำเลย ที่ 1 ขาย ที่ดิน ให้จำเลย ที่ 2 ก็ ต้อง ชำระหนี้ ให้ แก่ เจ้าหนี้ เกือบ ทั้งหมด การ อายัดตาม เอกสาร หมาย จ. 8 ไม่มี ผล เพราะ โจทก์ ไม่มี สิทธิ อายัดดังนั้น แม้ จะ มี เอกสาร หมาย จ. 10 ระบุ ว่า จำเลย ทั้ง สอง ทราบ ถึง การ อายัดและ ยืนยัน ให้ เจ้าพนักงาน ที่ดิน ดำเนินการ จดทะเบียน สิทธิ และ นิติกรรมให้ ก็ ไม่ ถือว่า จำเลย ที่ 2 กระทำการ โดย ไม่สุจริต ฎีกา ของ จำเลย ที่ 1ฟังขึ้น ส่วน ฎีกา ของ โจทก์ ฟังไม่ขึ้น ที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษา มา นั้นศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ใน ผล ”
พิพากษายืน

Share