คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15/2538

แหล่งที่มา : สำนักงาน ส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาทคดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นจำเลยกลับฟ้องโจทก์ให้ออกไปจากที่พิพาทรายเดียวกันโจทก์ให้การว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์คดีทั้งสองมีประเด็นข้อพิพาทอย่างเดียวกันว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลยเมื่อศาลชั้นต้นในคดีหลังพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือเป็นของจำเลยฟ้องของโจทก์ในคดีแรกจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา144

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ ศาล พิพากษา ว่า ที่ดิน ตาม ส.ค.1 เลขที่ 24ตำบล เอือดใหญ่ อำเภอศรีเมืองใหญ่ จังหวัด อุบลราชธานี และ ที่ดิน ตาม น.ส.3 ก. เลขที่ 1030 ตำบล เอือดใหญ่ อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัด อุบลราชธานี ทาง ด้าน ทิศเหนือ เนื้อที่ 10 ไร่ เป็น ของ โจทก์และ ให้ จำเลย ทั้ง สอง ไป ทำการ แบ่งแยก ที่ดิน ตาม น.ส.3 ก. ดังกล่าวให้ โจทก์ ภายใน 30 วัน นับแต่ วันที่ ศาล อ่าน คำพิพากษา หาก จำเลยทั้ง สอง ไม่ไป ให้ ถือ คำพิพากษา แทน การแสดง เจตนา
จำเลย ที่ 1 ให้การ ว่า ที่ดินพิพาท ทั้ง สอง แปลง เป็น ของ จำเลยทั้ง สอง ขอให้ ยกฟ้อง
จำเลย ที่ 2 ขาดนัด ยื่นคำให้การ
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 วินิจฉัย ว่า ฟ้องโจทก์ เป็น การ ดำเนินกระบวนพิจารณา ซ้ำ พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ปัญหา ใน ชั้นฎีกา ตาม ที่ โจทก์ ฎีกา มี ว่า ฟ้องของ โจทก์ ใน คดี นี้ เป็น การ ดำเนิน กระบวนพิจารณา ซ้ำ ต้องห้าม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 หรือไม่ ข้อเท็จจริงฟัง เป็น ยุติ ตาม ที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย และ โจทก์ มิได้ ฎีกา โต้แย้ง ว่าหลังจาก โจทก์ ได้ ฟ้อง จำเลย ทั้ง สอง คดี นี้ แล้ว คดี อยู่ ระหว่าง พิจารณา ของศาลชั้นต้น โจทก์ ได้ ถูก จำเลย ทั้ง สอง ฟ้อง ให้ ขับไล่ ออกจาก ที่ดินพิพาท ราย เดียว กัน โจทก์ ซึ่ง เป็น จำเลย คดี ดังกล่าว ให้การ ต่อสู้โดย อ้าง เหตุ อย่างเดียว กับ ข้ออ้าง ตาม คำบรรยายฟ้อง ของ ตน ใน คดี นี้ต่อมา คดี ที่ จำเลย ทั้ง สอง ฟ้องขับไล่ โจทก์ ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ ขับไล่โจทก์ ออกจาก ที่ดินพิพาท ปรากฏ ตาม คดีแพ่ง หมายเลขดำ ที่ 675/2534หมายเลขแดง ที่ 1123/2534 ของ ศาลชั้นต้น ศาลฎีกา เห็นว่าฟ้องโจทก์ ใน คดี นี้ กับ คดี ที่ จำเลย ทั้ง สอง คดี นี้ ฟ้อง ให้ ขับไล่ โจทก์เป็น จำเลย ใน คดี หลัง มี ประเด็น ข้อพิพาท ซึ่ง ศาล จะ ต้อง วินิจฉัยชี้ขาด ว่าที่ดินพิพาท เป็น ของ โจทก์ หรือ จำเลย ทั้ง สอง เมื่อ ศาลชั้นต้น ได้ มีคำพิพากษา วินิจฉัยชี้ขาด ว่า ที่ดินพิพาท เป็น ของ โจทก์ ทั้ง สอง หรือ เป็นของ จำเลย ทั้ง สอง คดี นี้ ฟ้อง ของ โจทก์ ใน คดี นี้ จึง เป็น การ ดำเนินกระบวนพิจารณา ซ้ำ ต้องห้าม ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 144 แม้ ว่า โจทก์ จะ ได้ ฟ้องคดี นี้ ไว้ ก่อน คดีแพ่ง หมายเลขแดงที่ 1123/2534 ของ ศาลชั้นต้น ก็ ตาม แต่เมื่อ ศาลชั้นต้น ได้ พิพากษาชี้ขาด คดี แล้ว กรณี ก็ ต้อง ตก อยู่ ภายใต้ บังคับ กฎหมาย ดังกล่าว เช่นกันเหตุ นี้ ศาล จึง ไม่อาจ หยิบยก พยานหลักฐาน ที่ คู่ความ นำสืบ มา ขึ้นวินิจฉัย ได้ ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษา มา นั้น ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วยฎีกา โจทก์ ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share