แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
เจ้าหน้าที่ของธนาคารผู้เสียหายได้นำเงินฝากจำนวน60,000บาทของลูกค้ารายอื่นเข้าบัญชีของจำเลยโดย ผิดพลาด ปรากฏว่าจำเลยประกอบกิจการตัดเย็บเสื้อผ้าซึ่งเป็นกิจการเล็กๆมีเงินทุนหมุนเวียนเข้าออกบัญชีจำนวนเล็กน้อยสามารถตรวจสอบและรู้ถึงการนำเงินเข้าออกบัญชีได้โดยง่ายจึงฟังได้ว่าจำเลยรู้ว่ามีการนำเงินของผู้อื่นเข้าบัญชีของจำเลยโดยผิดพลาดการที่จำเลยออกเช็คสั่งจ่ายเงินดังกล่าวออกไปจากบัญชีของจำเลยเป็นการเบียดบังเอาเงินนั้นไป โดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานยักยอกตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา352วรรคสอง
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า เจ้าหน้าที่ รับ ฝากเงิน ของ ธนาคาร กรุงศรีอยุธยา จำกัด ผู้เสียหาย นำ เงิน จำนวน 60,000 บาท เข้าบัญชี เงินฝาก ของ จำเลยโดย สำคัญผิด ว่า เป็น บัญชี เงินฝาก ของ นาย ประสิทธิ์ มณฑารพ ต่อมา หลังจาก จำเลย ครอบครอง เงิน จำนวน ดังกล่าว แล้ว จำเลย เบียดบัง เอา เงินจำนวน ดังกล่าว ของ ผู้เสียหาย จาก บัญชี ของ จำเลย ไป เป็น ประโยชน์ ส่วนตัวโดยทุจริต ขอให้ ลงโทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 และ ให้คืนเงิน จำนวน 60,000 บาท แก่ ผู้เสียหาย
จำเลย ให้การ ปฏิเสธ
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 352 วรรคสอง จำคุก 2 เดือน และ ปรับ 3,000 บาท ไม่ปรากฏ ว่าจำเลย ได้รับ โทษ จำคุก มา ก่อน โทษ จำคุก ให้ รอการลงโทษ ไว้ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ไม่ชำระ ค่าปรับ ให้ จัดการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 กับ ให้ จำเลย คืนเงิน จำนวน 60,000บาท ให้ แก่ ผู้เสียหาย
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา โดย ผู้พิพากษา ซึ่ง ลงชื่อ ใน คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ภาค 3อนุญาต ให้ ฎีกา ใน ปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง ฟังได้ใน เบื้องต้น ว่า นาย ประสิทธิ์ มณฑารพ ลูกค้า ของ ธนาคาร กรุงศรีอยุธยา จำกัด สาขา พุนพิน ผู้เสียหาย ได้ เปิด บัญชี เงินฝาก กระแสรายวัน กับ ผู้เสียหาย บัญชี เลขที่ 066-0-00414-0จำเลย เป็น ลูกค้า ของ ผู้เสียหาย เช่นกัน โดย เปิด บัญชี เงินฝาก ประเภทกระแสรายวัน บัญชี เลขที่ 066-0-00644-1 เมื่อ วันที่ 19 พฤศจิกายน2535 นาง ศศิธร วีรดิษฐกิจ เจ้าหน้าที่การเงิน ของ ผู้เสียหาย ได้ นำ เงินฝาก ของ นาย ประสิทธิ์ ซึ่ง ฝาก เข้า บัญชี เลขที่ 066-0-00414-0 ของ นาย ประสิทธิ์ ไป เข้า บัญชี เลขที่ 066-0-00644-1 ของ จำเลย โดย ผิดพลาด ไป ทำให้ เงิน ใน บัญชีของ จำเลย ซึ่ง เดิม มี อยู่ เพียง 16,222.50 บาท เพิ่มขึ้น เป็น 76,222.50บาท ต่อมา ระหว่าง วันที่ 23 ถึง 26 พฤศจิกายน 2535 จำเลย ออก เช็ค5 ฉบับ สั่งจ่าย เงิน รวมเป็น เงิน 74,000 บาท เบิกเงิน จาก บัญชีของ จำเลย และ ผู้เสียหาย ได้ จ่ายเงิน ตามเช็ค ทั้ง 5 ฉบับ แล้ว มี ปัญหาวินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ จำเลย ว่า จำเลย ได้ กระทำ ความผิด ฐาน ยักยอก ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 วรรคสอง ดัง ศาลล่าง ทั้ง สอง วินิจฉัยมา หรือไม่ เมื่อ ข้อเท็จจริง รับฟัง ได้ว่า เจ้าหน้าที่ ของ ผู้เสียหายได้ นำ เงิน จำนวน 60,000 บาท ฝาก เข้าบัญชี ของ จำเลย โดย ผิดพลาดเงิน จำนวน นี้ จำเลย จึง ไม่มี สิทธิ ที่ จะ ถอน จาก บัญชี ข้อเท็จจริงได้ความ จาก คำเบิกความ ของ นาง ศศิธร พยานโจทก์ ว่า ก่อน เกิดเหตุ จำเลย เคย มี วงเงิน เบิกเกินบัญชี กับ ผู้เสียหาย จำนวน 300,000 บาทต่อมา จำเลย ขอ ยกเลิก วงเงิน เบิกเกินบัญชี ที่ ตกลง ไว้ กับ ผู้เสียหายและ ผู้เสียหาย มี หนังสือ ลงวันที่ 4 พฤศจิกายน 2535 แจ้ง ยกเลิกวงเงิน เบิกเกินบัญชี ให้ จำเลย ทราบ ตาม เอกสาร หมาย จ. 6 ใน วันที่4 พฤศจิกายน 2535 จำเลย มี เงิน อยู่ ใน บัญชี เพียง 12,964.87 บาทหลังจาก นั้น จำเลย ได้ นำ เงิน เข้าบัญชี แต่ ก็ มี จำนวน ไม่ กี่ ครั้งและ มี จำนวนเงิน เพียง เล็กน้อย ทั้ง จำเลย ก็ เบิกความ รับ ว่า ผู้เสียหายได้ แจ้ง ยอดหนี้ ให้ จำเลย ทราบ เดือน ละ ครั้ง หรือ สอง เดือน ครั้ง ประกอบ กับจำเลย ประกอบ กิจการ ค้า เปิด ร้าน ตัด เย็บ เสื้อผ้า อยู่ ใน อำเภอ พุนพิน เห็น ได้ว่า เป็น กิจการ เล็ก ๆ มี เงินทุน หมุนเวียน เข้า ออก บัญชีเป็น จำนวน เพียง เล็กน้อย จำเลย จึง สามารถ ตรวจสอบ และ รู้ ถึง การ นำ เงินเข้า ออก บัญชี ได้ โดย ง่าย ที่ จำเลย อ้างว่า ไม่รู้ ว่า มี การ นำ เงินเข้าบัญชี ของ จำเลย ผิดพลาด จึง ไม่มี เหตุผล ให้ รับฟัง ข้อเท็จจริงรับฟัง ได้ ตาม พยานหลักฐาน ของ โจทก์ ว่า จำเลย รู้ ว่า มี การ นำ เงิน ของบุคคลอื่น มา เข้าบัญชี ของ จำเลย โดย ผิดพลาด การ ที่ จำเลย ออก เช็ครวม 5 ฉบับ ระหว่าง วันที่ 23 ถึง 26 พฤศจิกายน 2535 รวมเป็น เงิน74,000 บาท สั่งจ่าย เงิน จาก บัญชี ของ จำเลย โดย รู้ อยู่ แล้ว ว่า เงินใน บัญชี จำนวน 60,000 บาท มี การ นำเข้า บัญชี ของ จำเลย โดย ผิดพลาดเมื่อ ผู้เสียหาย ได้ จ่ายเงิน ตามเช็ค ทั้ง 5 ฉบับ ไป โดย สำคัญผิด ว่าจำเลย มีสิทธิ ถอนเงิน ดังกล่าว การกระทำ ของ จำเลย จึง เป็น การ เบียดบังเอา เงิน นั้น โดยทุจริต จำเลย จึง มี ความผิด ฐาน ยักยอก ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 วรรคสอง ศาลล่าง ทั้ง สอง พิพากษาต้อง กัน มา นั้น ชอบแล้ว ฎีกา ของ จำเลย ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน