คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2060/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

อัตราโทษในการพิจารณากำหนดอายุความฟ้องผู้กระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา95ต้องถือตามข้อหาหรือฐานความผิดที่ศาลพิจารณาได้ความไม่ใช่พิจารณาจากข้อหาหรือฐานความผิดที่โจทก์ฟ้องมิฉะนั้นอาจเป็นการขยายอายุความฟ้องคดีซึ่งเป็นโทษต่อจำเลย

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ ลงโทษ จำเลย ตาม พระราชบัญญัติ ยา พ.ศ. 2510มาตรา 4, 72, 73, 119 พระราชบัญญัติ ยา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522มาตรา 19, 20 พระราชบัญญัติ ยา (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2530 มาตรา 4พระราชบัญญัติ วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 4,16, 90 ประกาศกระทรวง สาธารณสุข ฉบับที่ 28 (พ.ศ. 2527) ข้อ 2(25)ประกาศกระทรวง สาธารณสุข ฉบับที่ 51 (พ.ศ. 2531) ข้อ 5(10)ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3, 83
จำเลย ให้การ ปฏิเสธ
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา โดย อัยการ สูงสุด รับรอง ให้ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ปัญหา ที่ โจทก์ ฎีกา มี ว่า ฟ้องโจทก์ ขาดอายุความ หรือไม่ โจทก์ อ้างว่า โจทก์ ฟ้อง จำเลย กระทำผิด ฐาน ขาย ยา ปลอมอันเป็น ความผิด ตาม พระราชบัญญัติ ยา พ.ศ. 2510 มาตรา 72, 73 และมาตรา 119 ซึ่ง มี อัตราโทษ จำคุก ตั้งแต่ หนึ่ง ปี ถึง ยี่สิบ ปี มี อายุความ20 ปี และ ฐาน ขาย คลอร์ไดอา ซีพอ กไซด์ อันเป็น วัตถุ ออกฤทธิ์ ประเภท 4โดย ไม่ได้ รับ อนุญาต อันเป็น ความผิด ตาม พระราชบัญญัติ วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อ จิต และ ประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 16, 90 ซึ่ง มี อัตราโทษ จำคุกไม่เกิน ห้า ปี และ ปรับ ไม่เกิน หนึ่ง แสน บาท ซึ่ง มี อายุความ 10 ปี แม้โจทก์ ฟ้องคดี นี้ เกิน 5 ปี แต่ ยัง ไม่เกิน 10 ปี หรือ 20 ปี นับแต่ วันกระทำผิด ฟ้องโจทก์ ไม่ขาดอายุความ จึง มี ปัญหา จะ ต้อง วินิจฉัย ว่าอายุความ ฟ้อง จะ ต้อง พิจารณา จาก ข้อหา หรือ ฐาน ความผิด ที่ โจทก์ฟ้อง หรือ พิจารณา จาก ข้อหา หรือ ฐาน ความผิด ที่ ศาล ฟัง ลงโทษ พิเคราะห์แล้ว ศาลฎีกา เห็นว่า อัตราโทษ ที่ จะ นำ มา พิจารณา กำหนด อายุความ ฟ้องผู้กระทำผิด ตาม ที่ กำหนด ไว้ ใน ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95 นั้นต้อง ถือ ตาม อัตราโทษ ของ ข้อหา หรือ ฐาน ความผิด ที่ ศาล พิจารณา ได้ความไม่ใช่ พิจารณา จาก ข้อหา หรือ ฐาน ความผิด ที่ โจทก์ ฟ้อง เพราะ หาก จะ ถืออายุความ จาก ข้อหา หรือ ฐาน ความผิด ตาม ที่ โจทก์ ฟ้อง ผู้ถูกกล่าวหาหรือ จำเลย อาจ ไม่ได้ รับ ความเป็นธรรม และ อาจ ทำให้ มี การ ฟ้อง ใน ข้อหาที่ มี อัตราโทษ สูง กว่า ที่ ได้ กระทำผิด จริง เหตุ ดังกล่าว อาจ ทำให้ เป็นการ ขยาย อายุความ ฟ้องคดี อาญา ซึ่ง จะ เป็น โทษ ต่อ จำเลย ทั้งนี้ ตาม นัยคำพิพากษา ศาลฎีกา (ประชุมใหญ่ ) ที่ 5494/2534 ระหว่าง พนักงานอัยการกรมอัยการ โจทก์ กับ นาย ทรงยศ ทองวีระ จำเลย คดี นี้ ได้ความ เป็น ยุติ ว่า การกระทำ ของ จำเลย เป็น ความผิด ตาม พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 62 วรรคหนึ่ง และมาตรา 106 ซึ่ง มี อายุความ ฟ้อง ภายใน 5 ปี ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 95(4) เมื่อ ข้อเท็จจริง ปรากฏว่า โจทก์ ฟ้องคดี นี้ เกิน 5 ปีนับแต่ วัน กระทำผิด ฟ้องโจทก์ จึง ขาดอายุความ ศาลอุทธรณ์ พิพากษาชอบแล้ว ฎีกา โจทก์ ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share