คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2025/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

องค์การตลาดเพื่อเกษตรกรจัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การตลาดเพื่อเกษตรกรพ.ศ.2517มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรหาใช่ประกอบการค้าโดยซื้อสินค้ามาแล้วนำออกขายเป็นปกติธุระไม่จึงมิใช่เป็นพ่อค้าจะนำอายุความ2ปีมาใช้บังคับกรณีขอให้ลูกหนี้ชำระค่าอาหารสุกรไม่ได้ต้องใช้อายุความ10ปี จำเลยให้การปฏิเสธว่าไม่เคยซื้อเชื่ออาหารสุกรจากโจทก์แต่เมื่อศาลชั้นต้นสอบถามคู่ความเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงว่ามีการซื้อขายอาหารสุกรด้วยจริงหรือไม่เพื่อนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่จำเลยได้แถลงรับว่าจำเลยได้ซื้อและรับมอบสินค้าจากโจทก์ไปจริงเท่ากับได้ สละประเด็นข้อต่อสู้เรื่องนี้แล้วการที่ศาลอุทธรณ์ภาค3วินิจฉัยคดีโดยมิได้ส่งสำนวนคืนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินการสืบพยานโจทก์จำเลยเรื่องนี้ก่อนแล้วพิพากษาใหม่จึงชอบแล้ว

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง และ แก้ไข คำฟ้อง ขอ บังคับ ให้ จำเลย ชำระ เงิน 299,364.31บาท แก่ โจทก์ พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี ของต้นเงิน 167,200 บาท นับ ถัด จาก วันฟ้อง ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ให้การ ว่า จำเลย ไม่เคย ซื้อ เชื่อ อาหาร สุกร ไป จาก โจทก์ตาม ฟ้อง คดี โจทก์ ขาดอายุความ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น สอบ คู่ความ แล้ว คู่ความ แถลงรับ กัน ว่า หนี้ ตาม ฟ้องมี กำหนด เวลา ชำระหนี้ ภายใน 6 เดือน นับแต่ วันที่ จำเลย รับมอบ สินค้าแต่ละ คราว จำเลย ได้รับ สินค้า ตาม ฟ้อง ใน วันที่ 23 พฤษภาคม 2523วันที่ 13 มิถุนายน 2523 วันที่ 3 กรกฎาคม 2523 วันที่ 21 พฤศจิกายน2523 และ วันที่ 1 ตุลาคม 2524 ตามลำดับ ศาลชั้นต้น เห็นว่า คดี พอวินิจฉัย ได้ แล้ว จึง มี คำสั่ง ให้ งดสืบพยาน โจทก์ และ พยาน จำเลย และวินิจฉัย ว่า ฟ้องโจทก์ ขาดอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ชำระ เงิน 54,500บาท แก่ โจทก์ พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่วันที่ 1 เมษายน 2525 ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แต่ ดอกเบี้ย ก่อน ฟ้อง ต้องไม่เกิน 42,946.75 บาท นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น
จำเลย ฎีกา ใน ข้อกฎหมาย
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “คดี มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ จำเลยใน ประการ แรก ว่า หนี้ ค่า อาหาร สุกร ที่ เกิดขึ้น ใน วันที่ 1 ตุลาคม 2524จำนวน 54,500 บาท ตาม ฟ้อง ข้อ 2.5 ขาดอายุความ แล้ว หรือไม่โดย จำเลย ฎีกา ใน ข้อ นี้ ว่า โจทก์ เป็น บุคคล ผู้เป็น พ่อค้า ตาม นัย แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) เดิม (มาตรา 193/34(1)ที่ แก้ไข ใหม่ ) สิทธิเรียกร้อง ใน มูลหนี้ ค่าซื้อ เชื่อ อาหาร สุกร มีอายุความ 2 ปี โจทก์ ฟ้องคดี เมื่อ วันที่ 30 กันยายน 2534 จึง ขาดอายุความ พิเคราะห์ แล้ว เห็นว่า องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร จัดตั้งขึ้น โดย พระราชกฤษฎีกา จัดตั้ง องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร พ.ศ. 2517มี วัตถุประสงค์ เพื่อ ช่วยเหลือ เกษตรกร ดัง ที่ บัญญัติ ไว้ ใน มาตรา 6(1)ถึง (8) หาใช่ ประกอบการค้า โดย ทำการ ซื้อ สินค้า มา แล้ว นำ ออก ขายเป็น ปกติ ธุระ ไม่ จึง มิใช่ เป็น พ่อค้า ตาม นัย แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) เดิม (มาตรา 193/34(1)ที่ แก้ไข ใหม่ ) จะ นำ อายุความ 2 ปี มา ใช้ บังคับ ใน กรณี ขอให้ ลูกหนี้ชำระ ค่า อาหาร สุกร ไม่ได้ ต้อง ใช้ อายุความ 10 ปี ตาม มาตรา 164 เดิม(มาตรา 193/30 ที่ แก้ไข ใหม่ ) ข้อเท็จจริง ฟัง ยุติ ตาม ที่ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย มา โดย ศาลอุทธรณ์ รับฟัง จาก คำแถลง รับ กัน ของ คู่ความ ตาม รายงานกระบวนพิจารณา ของ ศาลชั้นต้น ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2534 ว่า จำเลยได้รับ มอบ สินค้า ตาม ฟ้อง ครั้งสุดท้าย เมื่อ วันที่ 1 ตุลาคม 2524และ มี กำหนด เวลา อัน จะ พึง ชำระหนี้ ภายใน กำหนด 6 เดือน นับแต่วัน จำเลย รับมอบ สินค้า หนี้ ราย นี้ จึง ถึง กำหนด ชำระ ใน วันที่ 1เมษายน 2525 โจทก์ ฟ้องคดี นี้ ใน วันที่ 30 กันยายน 2534 ยังไม่ พ้น กำหนด 10 ปี นับแต่ วันที่ หนี้ ถึง กำหนด ชำระ คดี โจทก์ สำหรับหนี้ ค่า อาหาร สุกร ครั้งสุดท้าย ตาม ฟ้อง จึง ยัง ไม่ขาดอายุความ ส่วน ปัญหาต่อมา ที่ จำเลย ฎีกา ว่า การ ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษาคดี โดย ไม่ส่งสำนวน คืน ไป ให้ ศาลชั้นต้น ดำเนินการ สืบพยานโจทก์ จำเลย ใน ประเด็นที่ ว่า จำเลย ได้ ซื้อ สินค้า อาหาร สุกร จาก โจทก์ หรือไม่ เสีย ก่อน แล้วพิพากษา ใหม่ ตาม รูปคดี เป็น การ ดำเนิน กระบวนพิจารณา ที่ ไม่ชอบ ด้วยกฎหมาย เพราะ ข้อเท็จจริง ใน ประเด็น ที่ ว่า จำเลย ได้ ซื้อ เชื่อ อาหาร สุกรไป จาก โจทก์ หรือไม่ ยัง รับฟัง ไม่ ยุติ โดย ยัง ไม่ได้ มี การ สืบพยานโจทก์จำเลย ใน ประเด็น ดังกล่าว นั้น เห็นว่า คดี นี้ จำเลย ให้การ ปฏิเสธ ว่าไม่เคย ซื้อ เชื่อ อาหาร สุกร จาก โจทก์ แต่ ตาม รายงาน กระบวนพิจารณาของ ศาลชั้นต้น ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2534 ได้ บันทึก ไว้ ชัดแจ้ง ว่าศาลชั้นต้น ได้ สอบ คู่ความ แล้ว แถลงรับ กัน ว่า มูลหนี้ มี กำหนด อัน จะ พึงชำระหนี้ ภายใน กำหนด 6 เดือน นับแต่ วัน จำเลย รับมอบ สินค้า แต่ละ คราวและ จำเลย ได้รับ มอบ สินค้า ตาม ฟ้อง ครั้งแรก ใน วันที่ 23 พฤษภาคม 2523ครั้น ที่ 2 วันที่ 13 มิถุนายน 2523 ครั้งที่ 3 วันที่ 3 กรกฎาคม2523 ครั้งที่ 4 วันที่ 21 พฤศจิกายน 2523 และ ครั้งสุดท้าย วันที่1 ตุลาคม 2524 ดังนี้ คำแถลง ของ จำเลย ดังกล่าว เป็น การ สละ ข้อต่อสู้ที่ ให้การ ปฏิเสธ ว่า ไม่ได้ ซื้อ เชื่อ อาหาร สุกร จาก โจทก์ โดย ฟังข้อเท็จจริง ได้ว่า จำเลย ได้ ซื้อ เชื่อ อาหาร สุกร จาก โจทก์ ไป ตาม ฟ้อง จริงการ ที่ ศาลชั้นต้น สอบถาม คู่ความ ดังกล่าว ก็ เพื่อ ให้ ได้ ข้อเท็จจริง ก่อนว่า มี การ ซื้อ ขาย อาหาร สุกร ด้วย จริง หรือไม่ เพื่อ นำ ข้อเท็จจริง ที่คู่ความ แถลงรับ กัน ดังกล่าว มา วินิจฉัย ปัญหาข้อกฎหมาย ใน ประเด็น ที่ ว่าฟ้องโจทก์ ขาดอายุความ หรือไม่ เมื่อ คำแถลง รับ ของ จำเลย ดังกล่าวข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่า จำเลย ได้ ซื้อ และ รับมอบ สินค้า จาก โจทก์ ไป จริงเท่ากับ จำเลย สละ ประเด็น ข้อต่อสู้ ใน เรื่อง นี้ เสีย แล้ว ที่ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัย คดี โดย มิได้ ส่ง สำนวน คืน ไป ให้ ศาลชั้นต้น ดำเนินการสืบพยานโจทก์ จำเลย ก่อน แล้ว พิพากษา ใหม่ นั้น จึง เป็น กระบวนพิจารณาที่ชอบ ด้วย กฎหมาย แล้ว ส่วน ที่ จำเลย ฎีกา ว่า ฟ้องโจทก์ เกี่ยวกับ หนี้ค่า อาหาร สุกร ครั้งสุดท้าย จำนวน 54,500 บาท โจทก์ คำนวณ ดอกเบี้ยนับเวลา ผิดพลาด เกิน ไป 1 ปี โดย สิทธิเรียกร้อง ของ โจทก์ ใน มูลหนี้ส่วน นี้ เริ่ม นับ ตั้งแต่ วันที่ 1 เมษายน 2525 แต่ โจทก์ บรรยายฟ้องเริ่ม คิด ดอกเบี้ย นับแต่ วันที่ 1 เมษายน 2524 นั้น ปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ ภาค 3 ได้ พิพากษาคดี ไป ตาม ที่ จำเลย ฎีกา แล้ว จึง ไม่จำต้องวินิจฉัย ใน ประเด็น ข้อ นี้ อีก ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษา มา นั้นศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ฎีกา จำเลย ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share