แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
คำฟ้องที่โจทก์ผู้รับโอนที่ดินพิพาทจากเจ้าของเดิมผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรแก่จำเลยที่1ซึ่งถูกจำเลยที่2มีคำสั่งอายัดตามประมวลรัษฎากรมาตรา12ขอให้จำเลยทั้งสองเพิกถอนคำสั่งอายัดมิใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายไม่อยู่ในอายุความ1ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา448 ประมวลรัษฎากรมาตรา12ให้อำนาจอธิบดีกรมสรรพากรและผู้ว่าราชการจังหวัดยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรเมื่อโจทก์มิใช่ผู้ที่ต้องรับผิดเสียภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรของเจ้าของเดิมจำเลยที่2จึงไม่มีอำนาจอายัดที่ดินพิพาท จำเลยที่1มิได้เป็นผู้สั่งอายัดที่ดินพิพาทจึงไม่ชอบที่จะให้จำเลยที่1เพิกถอนคำสั่งอายัดของจำเลยที่2ด้วย
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 เป็น นิติบุคคล จำเลย ที่ 2 เป็นผู้รับผิดชอบ ราชการ ใน จังหวัด เชียงใหม่ มีอำนาจ เช่นเดียว กับ อธิบดีกรมสรรพากร ตาม ประมวลรัษฎากร โจทก์ เป็น ผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน โฉนด เลขที่ 34168 พร้อม สิ่งปลูกสร้าง เมื่อ วันที่ 14 เมษายน2530 จำเลย ที่ 2 ใน ฐานะ ปฏิบัติ ราชการ แทน จำเลย ที่ 1 และ ใน ฐานะส่วนตัว มี คำสั่ง อายัด ที่ดินพิพาท ของ โจทก์ ถึง เจ้าพนักงาน ที่ดินจังหวัด เชียงใหม่ โจทก์ ซื้อ ที่ดินพิพาท มา โดยสุจริต เสีย ค่าตอบแทนและ มิใช่ เป็น ผู้ต้องรับผิด เสีย ภาษีอากร หรือ นำ ส่ง ภาษีอากร จำเลย ที่ 2กระทำ โดย ไม่สุจริต และ ไม่มี อำนาจ ตาม กฎหมาย ทำให้ โจทก์ ได้รับความเสียหาย ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สอง ถอน คำสั่ง อายัด ที่ดินพิพาทโฉนด เลขที่ 34168 ภายใน 7 วัน นับแต่ วัน มี คำพิพากษา หาก จำเลยทั้ง สอง เพิกเฉย ให้ ถือเอา คำพิพากษา แทน การแสดง เจตนา ของ จำเลย ทั้ง สองและ ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ชำระ ค่าเสียหาย วัน ละ 300 บาท นับ ถัด จากวันฟ้อง จนกว่า จะ เพิกถอน คำสั่ง อายัด
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ว่า โจทก์ มิใช่ เจ้าของ กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท ที่ แท้จริง เนื่องจาก โจทก์ ได้รับ โอน ที่ดินพิพาท โดยไม่สุจริต เป็น การ ฉ้อฉล จำเลย ที่ 2 สั่ง อายัด ที่ดินพิพาท ตาม อำนาจหน้าที่ ตาม ประมวลรัษฎากร โดยสุจริต มิได้ กระทำ ใน ฐานะ ส่วนตัวจำเลย ที่ 1 มิได้ เป็น ผู้ ออกคำสั่ง อายัด ดังกล่าว โจทก์ กล่าวอ้าง ว่าเสียหาย วัน ละ 300 บาท ไม่เป็น ความจริง โจทก์ ทราบ เหตุ คดี นี้เกินกว่า 1 ปี โจทก์ ฟ้องคดี นี้ เมื่อ ขาดอายุความ แล้ว ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สอง เพิกถอน คำสั่ง อายัด ห้าม ทำนิติกรรม ใด ๆ ใน ที่ดินพิพาท โฉนด เลขที่ 34168 ตำบล พระสิงห์ อำเภอ เมือง เชียงใหม่ จังหวัด เชียงใหม่ พร้อม สิ่งปลูกสร้างคำขอ อื่น ให้ยก
จำเลย ทั้ง สอง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษายืน
จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ข้อเท็จจริง รับฟัง ได้ว่า เดิม ที่ดินพิพาทซึ่ง ถูก จำเลย ที่ 2 มี คำสั่ง อายัด โดย อาศัย อำนาจ ตาม ประมวลรัษฎากรมาตรา 12 เป็น ของ นาย สนธยา อินตายนต์ ผู้ต้องรับผิด เสีย ภาษีอากร แก่ จำเลย ที่ 1 นาย สนธยา ได้ จดทะเบียน โอน ขาย ที่ดินพิพาท ให้ แก่ โจทก์ เมื่อ วันที่ 14 ตุลาคม 2529 ใน วันที่ 14 เมษายน 2530 จำเลยที่ 2 มี คำสั่ง อายัด ที่ดินพิพาท ไป ยัง เจ้าพนักงาน ที่ดิน จังหวัดเชียงใหม่ ห้าม จำหน่าย จ่าย โอน ที่ดินพิพาท โดย อ้าง เหตุ ว่า โจทก์รับโอน ที่ดินพิพาท โดย การ ฉ้อฉล จำเลย ที่ 1 ได้ ฟ้อง ขอให้ เพิกถอนนิติกรรม การ ซื้อ ขาย ที่ดินพิพาท ระหว่าง โจทก์ กับ นาย สนธยา ศาลชั้นต้น และ ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษายก ฟ้อง คดี อยู่ ระหว่าง ฎีกา ปัญหาตาม ฎีกา จำเลย ทั้ง สอง ข้อ แรก มี ว่า ฟ้องโจทก์ ขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 หรือไม่ เห็นว่าคำฟ้อง โจทก์ ที่ ขอให้ จำเลย ทั้ง สอง เพิกถอน คำสั่ง อายัด ที่ดินพิพาท ของโจทก์ มิใช่ เป็น การ ฟ้อง เรียก ค่าเสียหาย จึง ไม่ ตกอยู่ใน อายุความ1 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 ดัง ที่ จำเลยทั้ง สอง ฎีกา ฎีกา จำเลย ทั้ง สอง ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น
ปัญหา ตาม ฎีกา จำเลย ทั้ง สอง ข้อ ต่อไป มี ว่า จำเลย ที่ 2 มีอำนาจสั่ง อายัด ที่ดินพิพาท หรือไม่ เห็นว่า ตาม คำสั่ง อายัด ของ จำเลย ที่ 2เอกสาร หมาย จ. 2 จำเลย ที่ 2 อ้าง อาศัย อำนาจ ตาม ประมวลรัษฎากรมาตรา 12 ซึ่ง แก้ไข เพิ่มเติม โดย พระราชกำหนด แก้ไข เพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2525 และ ความ ตาม บทบัญญัติดังกล่าว วรรคสอง บัญญัติ ว่า เพื่อ ให้ ได้รับ ชำระ ภาษีอากร ค้าง ให้อธิบดี มีอำนาจ สั่ง ยึด หรือ อายัด และ ขายทอดตลาด ทรัพย์สิน ของ ผู้ต้องรับผิด เสีย ภาษีอากร หรือ นำ ส่ง ภาษีอากร ได้ ทั่ว ราชอาณาจักร โดย มิต้องขอให้ ศาล ออกหมาย ยึด หรือ สั่ง อำนาจ ดังกล่าว อธิบดี จะ มอบ ให้รองอธิบดี หรือ สรรพากรเขต ก็ ได้ และ ใน วรรคสาม ของ มาตรา ดังกล่าวบัญญัติ ให้ อำนาจ ผู้ว่าราชการจังหวัด มีอำนาจ เช่นเดียว กับ อธิบดี ตามวรรคสอง ตาม บทบัญญัติ ดังกล่าว เห็น ได้ ชัด ว่า กฎหมาย ให้ อำนาจ ผู้ ว่าราชการ จังหวัด ยึด หรือ อายัดทรัพย์ สิน ของ ผู้ต้องรับผิด เสีย ภาษีอากรหรือ นำ ส่ง ภาษีอากร เท่านั้น เมื่อ โจทก์ มิใช่ ผู้ที่ ต้อง รับผิด เสียภาษีอากร หรือ นำ ส่ง ภาษีอากร ของ นาย สนธยา จำเลย ที่ 2 จึง ไม่มี อำนาจ อายัด ที่ดินพิพาท ของ โจทก์ ตาม บทบัญญัติ ดังกล่าว ที่ จำเลยทั้ง สอง นำสืบ ว่า ได้ มี การ ฟ้อง ขอให้ เพิกถอน การ โอน โดย ฉ้อฉล ระหว่างโจทก์ กับ นาย สนธยา แล้ว ก็ ไม่ปรากฏ ว่า ผล คดีถึงที่สุด ได้ มี คำพิพากษา ให้ เพิกถอน แล้ว เมื่อ ปัจจุบัน โจทก์ ยัง เป็น เจ้าของ ที่ดินพิพาท ตาม กฎหมาย อยู่ จำเลย ที่ 2 จึง ไม่มี อำนาจ อายัด ที่ดินพิพาทของ โจทก์ ได้ แม้ จำเลย ที่ 1 จะ ได้ ยื่นฟ้อง โจทก์ และ นาย สนธยา ขอให้ เพิกถอน การ โอน โดย ฉ้อฉล ไว้ แล้ว ก็ ตาม เพราะ ไม่มี บท กฎหมายสนับสนุน ให้ อำนาจ จำเลย ที่ 2 กระทำ ได้ คำสั่ง อายัด ที่ดินพิพาทของ โจทก์ ตาม เอกสาร หมาย จ. 2 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ฎีกา จำเลย ทั้ง สองข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น เช่นกัน
สำหรับ ปัญหา ตาม ฎีกา จำเลย ทั้ง สอง ที่ ว่า ที่ ศาลล่าง พิพากษาให้ จำเลย ที่ 1 เพิกถอน คำสั่ง อายัด ด้วย เป็น การ ไม่ชอบ นั้น เห็นว่าจำเลย ที่ 1 มิได้ เป็น ผู้สั่ง อายัด ที่พิพาท จึง ไม่ชอบ ที่ จะ ให้ จำเลยที่ 1 เพิกถอน คำสั่ง อายัด ของ จำเลย ที่ 2 ด้วย ฎีกา ของ จำเลย ทั้ง สองข้อ นี้ ฟังขึ้น ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ยก คำขอ ที่ ให้ จำเลย ที่ 1 เพิกถอน คำสั่งอายัด นอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ภาค 2