แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
การออกเช็คทั้งสามฉบับของจำเลยที่2เป็นเพียงการกระทำส่วนหนึ่งของการหลอกลวงโดยมีเจตนาเป็นอย่างเดียวคือเพื่อให้ได้ไปซึ่งสินค้าจากโจทก์ โดยทุจริตไม่ต้องการให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้นมาแต่ต้น จึงเป็นการกระทำ กรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า เมื่อ กลางเดือน พฤศจิกายน 2535 เวลา กลางวันจำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน กระทำผิด กฎหมาย ขอ ซื้อ สินค้า จาก โจทก์ โดยทุจริตหลอกลวง โจทก์ ด้วย การแสดง ข้อความ อันเป็นเท็จ และ ปกปิด ข้อความอันเป็น จริง ซึ่ง ควร บอก ให้ แจ้ง แก่ โจทก์ โดย ร่วมกัน ออก เช็ค ของ ธนาคาร กรุงเทพ จำกัด สาขา ถนนชนเกษม สุราษฎร์ธานี จำนวน 3 ฉบับ คือ เช็ค เลขที่ 0315381 ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2535 จำนวนเงิน23,155 บาท เช็ค เลขที่ 0315383 ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2535จำนวนเงิน 16,296 บาท และ เช็ค เลขที่ 0315382 ลงวันที่ 5 ธันวาคม2535 จำนวนเงิน 16,290 บาท จำเลย ที่ 2 เป็น ผู้ออกเช็ค ลงลายมือชื่อสั่งจ่าย เพื่อ ให้ โจทก์ เชื่อ ว่า เช็ค เป็น ของ จำเลย ที่ 2 ซึ่ง เป็นความเท็จ ความจริง เช็ค ไม่ใช่ ของ จำเลย ที่ 2 และ จำเลย ที่ 2 ไม่มีอำนาจ ลงลายมือชื่อ ใน เช็ค แล้ว จำเลย ทั้ง สอง ได้ มอบ เช็ค ให้ แก่ โจทก์เพื่อ เป็น การ ชำระหนี้ ที่ มี อยู่ จริง และ บังคับ ได้ ตาม กฎหมาย การหลอกลวง ของ จำเลย ทั้ง สอง ทำให้ โจทก์ หลงเชื่อ ว่า เช็ค ดังกล่าว เป็นของ จำเลย ที่ 2 โจทก์ จึง ได้ มอบ สินค้า ให้ แก่ จำเลย ที่ 2 ไป ตาม จำนวนเงิน ใน เช็ค เป็น เงิน 55,741 บาท ต่อมา เมื่อ เช็ค ถึง กำหนด โจทก์ นำ เช็คไป เรียกเก็บเงิน จาก ธนาคาร ปรากฏว่า ธนาคาร ปฏิเสธ การ จ่ายเงิน ตามเช็คทั้ง สาม ฉบับ ฉบับที่ 1 ธนาคาร ปฏิเสธ การ จ่ายเงิน เมื่อ วันที่ 24พฤศจิกายน 2535 ให้ เหตุผล ว่า โปรด ติดต่อ ผู้สั่งจ่าย ฉบับที่ 2ธนาคาร ปฏิเสธ การ จ่ายเงิน เมื่อ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2535 ให้ เหตุผลว่า บัญชี ปิด แล้ว ฉบับที่ 3 ธนาคาร ปฏิเสธ การ จ่ายเงิน เมื่อ วันที่8 ธันวาคม 2535 ให้ เหตุผล ว่า บัญชี ปิด แล้ว การกระทำ ของ จำเลย ทั้ง สองเป็น การ สมคบ กัน หลอกลวง โจทก์ และ ออก เช็ค โดย มี เจตนา ที่ จะ ไม่ให้ มีการ ใช้ เงิน ตามเช็ค นั้น ขอให้ ลงโทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341,91, 83 พระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534มาตรา 4
ศาลชั้นต้น ไต่สวน มูลฟ้อง แล้ว มี คำสั่ง ประทับ ฟ้องโจทก์ เฉพาะจำเลย ที่ 2 ยกฟ้อง โจทก์ สำหรับ จำเลย ที่ 1
จำเลย ที่ 2 ให้การรับสารภาพ
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย ที่ 2 มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 341, 91, 83 พระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาตรา 4 เป็น กรรมเดียว ผิด ต่อ กฎหมาย หลายบท ลงโทษ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ซึ่ง เป็น บทหนัก จำคุก 2 เดือน จำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพ มีเหตุ บรรเทา โทษ ลดโทษ ให้ กึ่งหนึ่ง คง จำคุก1 เดือน
โจทก์ อุทธรณ์ ว่า จำเลย ที่ 2 กระทำผิด หลายกรรม ขอให้ ลงโทษจำเลย ที่ 2 สถาน หนัก
จำเลย ที่ 2 อุทธรณ์ ขอให้ รอการลงโทษ
ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ ปรับ จำเลย ที่ 2 เป็น เงิน6,000 บาท อีก สถาน หนึ่ง ลดโทษ กึ่งหนึ่ง ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78 แล้ว คง ปรับ 3,000 บาท โทษ จำคุก ให้ รอการลงโทษ ไว้ มี กำหนด2 ปี ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ไม่ชำระ ค่าปรับ จัดการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษาศาลชั้นต้น
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “มี ปัญหาข้อกฎหมาย ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของโจทก์ ว่า การกระทำ ของ จำเลย ตาม ฟ้อง เป็น ความผิด กรรมเดียว ตาม ที่ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 วินิจฉัย หรือ ว่า เป็น ความผิด หลายกรรม ตาม ที่ โจทก์ฎีกา เห็นว่า ตาม ข้อเท็จจริง ใน คำฟ้อง ซึ่ง จำเลย ที่ 2 รับสารภาพนั้น ได้ความ ว่า จำเลย ที่ 2 ได้ หลอกลวง โจทก์ ด้วย การ เอา เช็ค 3 ฉบับซึ่ง ไม่ใช่ เช็ค ของ จำเลย ที่ 2 (เป็น เช็ค ซึ่ง ผู้อื่น เปิด บัญชี ไว้กับ ธนาคาร ตามเช็ค ) และ จำเลย ที่ 2 ไม่มี อำนาจ ลงลายมือชื่อ สั่งจ่ายมา มอบ แก่ โจทก์ เพื่อ ชำระ ค่าสินค้า ที่ ขอ ซื้อ จาก โจทก์ อันเป็น หนี้ที่ มี อยู่ จริง และ บังคับ ได้ ตาม กฎหมาย โดย จำเลย ปกปิด ข้อความ จริงอันควร บอก ให้ แจ้ง ดังกล่าว นั้น ไว้ ทั้งนี้ ด้วย เจตนา ทุจริต เพื่อให้ ได้ ไป ซึ่ง สินค้า ที่ ซื้อ จาก โจทก์ โดย มี เจตนา ที่ จะ ไม่ให้ มี การใช้ เงิน ตามเช็ค ที่ จำเลย ที่ 2 เป็น ผู้ลงลายมือชื่อ ใน การ ออก เช็คทั้ง สาม ฉบับนั้น และ โดย การ หลอกลวง ดัง ว่า นั้น เป็นเหตุ ให้ จำเลยที่ 2 ได้ ไป ซึ่ง ทรัพย์สิน อัน ได้ แก่ สินค้า ราคา 55,741 บาท จาก โจทก์ต่อมา โจทก์ ได้ ยื่น เช็ค ต่อ ธนาคาร เพื่อ ให้ ใช้ เงิน โดยชอบ ด้วย กฎหมายแล้ว แต่ ธนาคาร ได้ ปฏิเสธ การ จ่ายเงิน ตามเช็ค ทั้ง สาม ฉบับ ดังนี้ย่อม เห็น ได้ว่า จำเลย ที่ 2 มอบ เช็ค ชำระ ค่าสินค้า และ รับมอบ สินค้าจาก โจทก์ ไป ใน เวลา ต่อเนื่อง ใกล้ชิด กัน จำเลย ที่ 2 มี เจตนา เป็นอย่างเดียว คือ เพื่อ ให้ ได้ ไป ซึ่ง ทรัพย์สิน อัน ได้ แก่ สินค้า นั้นจาก โจทก์ โดยทุจริต ไม่ต้อง การ ให้ มี การ ใช้ เงิน ตามเช็ค ทั้ง สาม ฉบับนั้น มา แต่ ต้น กล่าว อีก นัย หนึ่ง ก็ คือ การ ออก เช็ค ทั้ง สาม ฉบับ เป็น เพียงการกระทำ ส่วน หนึ่ง ของ การ หลอกลวง ฉ้อโกง ทรัพย์ ของ โจทก์ ดังนั้นการกระทำ ของ จำเลย ที่ 2 ตาม ฟ้อง จึง เป็น การกระทำ กรรมเดียว ผิด ต่อกฎหมาย หลายบท ตาม ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 วินิจฉัย ไม่อาจ แยก การกระทำของ จำเลย ที่ 2 เป็น ว่า เจตนา ที่ จะ ออก เช็ค ไม่ให้ มี การ ใช้ เงิน ตามเช็ค3 ฉบับนั้น ที ละ ฉบับ อีก การกระทำ ของ จำเลย ที่ 2 จึง ไม่เป็น การกระทำหลายกรรม ตาม ที่ โจทก์ ฎีกา ฎีกา ของ โจทก์ จึง ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน