คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1999/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

คนงานของ จำเลยร่วมซึ่งจำเลยได้ว่าจ้างให้ขุดดินในที่ดินของจำเลยด้านที่ติดกับที่ดินของโจทก์เพื่อนำออกไปยังที่อื่นขุดดินตามบริเวณที่จำเลยกำหนดใกล้เขตที่ดินของโจทก์มากเกินไปเป็นเหตุให้ดินในเขตที่ดินของโจทก์พังทลายลงไปในที่ดินของจำเลยเป็นการ ละเมิดซึ่งจำเลยร่วมต้องรับผิดและจำเลยต้องร่วมรับผิดด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา428โดย สิทธิเรียกร้อง ค่าเสียหายมีอายุความ1ปีตามมาตรา448ส่วนการฟ้องขอให้จำเลยและจำเลยร่วมก่อสร้างเขื่อนเพื่อกั้นดินในเขตติดต่อที่ดินโจทก์จำเลยมิให้พังทลายลงไม่มีกฎหมายบัญญัติ อายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ10ปีตามมาตรา193/30 โจทก์ขอให้สร้างเขื่อนคอนกรีตเสริมเหล็กกั้นดินไม่ให้พังทลายลงเมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าการสร้างเขื่อนเกินความจำเป็นจึงใช้วิธีถมดินแล้วบดอัดให้แน่นเพื่อป้องกันมิให้ที่ดินของโจทก์พังทลายลงไปในที่ดินของจำเลยย่อมมีอำนาจทำได้ไม่เกินคำขอ โจทก์มิได้นำสืบว่าการกระทำของจำเลยเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่สามารถใช้ประโยชน์ในที่ดินส่วนที่พังทลายลงไปอย่างไรจำนวนเท่าใดจึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ขาดประโยชน์

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ บังคับ จำเลย ก่อสร้าง เขื่อน คอนกรีตเสริมเหล็กกั้น ดิน โดย ให้ ใช้ เสา คอนกรีตเสริมเหล็ก อัดแรง รูป ตัว ไอขนาด0.30 x 0.30 x 15 เมตร ตอก ลึก ลง ใน ที่ดิน เป็น ฐานราก ใต้ ดินของ เขื่อน ทุก ระยะ 1 เมตร และ ใช้ แผง กั้น ดิน คอนกรีต หนา 0.10 เมตรกั้น ลึก ตั้งแต่ ระดับ กัน บ่อ ถึง แนว พื้นดิน ปกติ และ ใช้ สมอ ยึด ตัว เขื่อนทุก ระยะ 3 เมตร ตลอด ตัว เขื่อน โดย ใช้ สมอ เสา คอนกรีตเสริมเหล็กขนาด 0.30×0.30 เมตร และ เท คอนกรีตเสริมเหล็ก ทับ หลัง เขื่อนลง ใน ที่ดิน ของ จำเลย เป็น แนว ตลอด ความยาว ของ ที่ดิน ที่ พัง ทลาย180 เมตร และ ให้ ปรับ ถม ที่ดิน ของ โจทก์ ตลอด แนว ที่ พัง ทลาย ให้ เสมอแนว พื้นดิน ทั่วไป ของ โจทก์ หาก จำเลย ไม่ยอม ปฏิบัติ ก็ ให้ บุคคลภายนอกเป็น ผู้ดำเนินการ โดย จำเลย เป็น ผู้ ออก ค่าใช้จ่าย ให้ จำเลย ชำระค่าเสียหาย เดือน ละ 1,000 บาท นับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จำเลยจะ สร้าง เขื่อน และ ปรับ ถม ที่ดิน ของ โจทก์ แล้ว เสร็จ
จำเลย ให้การ และ แก้ไข คำให้การ ว่า ค่าเสียหาย และ การ สร้าง เขื่อนคอนกรีต สูง เกิน ไป เกิน ความจำเป็น โจทก์ รู้ เหตุ ละเมิด และ รู้ตัวผู้ทำละเมิด เกินกว่า 1 ปี ฟ้อง จึง ขาดอายุความ ขอให้ ยกฟ้อง
ระหว่าง พิจารณา จำเลย ยื่น คำร้องขอ ให้ ศาล ออกหมาย เรียกนาย ไพโรจน์ อินทจันทร์ เข้า มา เป็น จำเลยร่วม ศาลชั้นต้น อนุญาต
จำเลยร่วม ให้การ ว่า จำเลยร่วม ไม่ได้ ทำละเมิด ต่อ โจทก์จำเลยร่วม ไม่ได้ เป็น ผู้ ขุดดิน ใน ที่ดิน ของ จำเลย การ ขุดดิน ใน ที่ดิน ของจำเลย เป็น การ ใช้ สิทธิ โดยสุจริต ใน ฐานะ เจ้าของ การ พัง ทลาย ใน ที่ดินของ โจทก์ เกิดขึ้น เอง ตาม ธรรมชาติ ที่ดิน ของ โจทก์ รกร้าง ว่างเปล่าไม่ได้ ทำประโยชน์ โจทก์ จึง ไม่เสีย หาย ที่ดิน ของ โจทก์ พัง ทลายเพียง เล็กน้อย และ หยุด พัง ทลาย นาน เกินกว่า 1 ปี แล้ว และ จะ ไม่มีการ พัง ทลาย อีก ต่อไป การ ที่ โจทก์ ขอให้ สร้าง เขื่อน คอนกรีต เป็นการ เกิน ความจำเป็น และ ไกล เกินกว่า เหตุ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย และ จำเลยร่วม ร่วมกัน ทำ เขื่อน ไม้กั้น ดิน พัง ใน ที่ดิน ของ จำเลย โฉนด เลขที่ 11728 แขวง สีกัน (บ้านใหม่) เขต บางเขน (ตลาดขวัญ) กรุงเทพมหานคร เป็น แนว ตลอด ความยาว ของ ที่ดิน ที่ พัง ทลาย 180 เมตร และ ให้ ร่วมกัน ปรับ ถม ดิน ใน ที่ดิน ของ โจทก์โฉนด เลขที่ 11727 (ซึ่ง อยู่ ติดกับ เขื่อน ไม้ ) ตลอด แนว ที่ พัง ให้แน่น ตาม สภาพ เดิม และ เสมอ แนว พื้นดิน ทั่วไป ของ โจทก์ หาก จำเลยและ จำเลยร่วม ไม่ปฏิบัติ ตาม ก็ ให้ บุคคลภายนอก เป็น ผู้ดำเนินการโดย ให้ จำเลย และ จำเลยร่วม เป็น ผู้ ออก ค่าใช้จ่าย คำขอ อื่น ให้ยก
โจทก์ จำเลย และ จำเลยร่วม อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย และ จำเลยร่วม ร่วมกันถม ดิน บริเวณ ริมเขต ที่ดิน ของ โจทก์ ตาม ภาพถ่าย หมาย จ. 6 แล้ว บด อัดให้ แน่น ให้ ได้ความ หนาแน่น และ ระดับ ความ สูง เท่ากับ พื้นที่ ดิน ของ โจทก์โดย ให้ มี รัศมี การ ถม ดิน ห่าง จาก เขต ที่ดิน ของ โจทก์ ออก ไป ไม่ น้อยกว่า5 เมตร ตลอด แนวเขต ที่ดิน ของ โจทก์ ที่ มี การ ขุด เอา เนื้อ ดิน ออก ไป(ไม่ใช่ เฉพาะ แต่เพียง ระยะ 180 เมตร ที่ โจทก์ ขอให้ ทำ เขื่อนคอนกรีต ) ทั้งนี้ เพื่อ ป้องกัน มิให้ ที่ดิน ของ โจทก์ พัง ทลาย ลง ไป ในที่ดิน ของ จำเลย ซึ่ง มี การ ขุดดิน ออก ไป ถ้า จำเลย และ จำเลยร่วมไม่ปฏิบัติ ก็ ให้ เจ้าพนักงาน บังคับคดี จัด ให้ บุคคลภายนอก ดำเนินการโดย ให้ จำเลย และ จำเลยร่วม ร่วมกัน ออก ค่าใช้จ่าย ให้ จำเลย และจำเลยร่วม ร่วมกัน ชดใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ 60,000 บาท คำขอ อื่น ให้ยก
จำเลย และ จำเลยร่วม ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ที่ จำเลย และ จำเลยร่วม ฎีกา ว่า โจทก์ ฟ้องคดีเกิน 1 ปี นับแต่ วันที่ โจทก์ ทราบ ว่า มี การ ละเมิด และ รู้ตัว ผู้ทำละเมิดคดี โจทก์ จึง ขาดอายุความ นั้น ศาลฎีกา เห็นว่า คดี นี้ โจทก์ ฟ้อง ขอให้บังคับ จำเลย และ จำเลยร่วม ก่อสร้าง เขื่อน เพื่อ กั้น ดิน ใน เขต ติดต่อที่ดิน โจทก์ จำเลย มิให้ พัง ทลาย ลง โดย ไม่ได้ ฟ้อง เรียก เอา ค่าเสียหายซึ่ง เกิดจาก การ ละเมิด โดยตรง จึง ไม่อยู่ ใน บังคับ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคหนึ่ง ซึ่ง มี อายุความเพียง 1 ปี และ ใน กรณี นี้ ไม่มี กฎหมาย บัญญัติ ไว้ โดยเฉพาะ จึง ใช้อายุความ ตาม หลัก ทั่วไป ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30ซึ่ง มี อายุความ 10 ปี นอกจาก นี้ ได้ความ ว่า เมื่อ วันที่ 25 มีนาคม2531 โจทก์ ทราบ ว่า ที่ดิน ของ โจทก์ ด้าน ทิศตะวันตก ซึ่ง ติดกับ ที่ดินของ จำเลย พัง ทลาย ลง ไป ใน ที่ดิน ของ จำเลย เนื่องจาก จำเลย ว่าจ้างให้ จำเลยร่วม ขุด หน้า ดิน ใน ที่ดิน ของ จำเลย เพื่อ ไป ถม ใน โครงการ จัดสรรที่ดิน เพื่อ การเกษตร ของ จำเลย ซึ่ง จำเลย และ จำเลยร่วม ไม่มี พยานหลักฐานใด มา หักล้าง ว่า โจทก์ รู้ เรื่อง ละเมิด และ รู้ตัว ผู้ทำละเมิด ก่อน วันที่25 มีนาคม 2531 จึง ฟัง ว่า โจทก์ รู้ เรื่อง ละเมิด และ รู้ตัว ผู้ทำละเมิดใน วันที่ 25 มีนาคม 2531 โจทก์ นำ คดี มา ฟ้อง วันที่ 1 มีนาคม 2532ยัง ไม่ พ้น กำหนด 1 ปี คดี โจทก์ เกี่ยวกับ การ ละเมิด เรียก ค่าเสียหายจึง ไม่ขาดอายุความ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 448 วรรคหนึ่ง ตาม ที่ จำเลย และ จำเลยร่วม ฎีกา
ส่วน ฎีกา ข้อ สุดท้าย ที่ ว่า โจทก์ ได้รับ ความเสียหาย หรือไม่เห็นว่า ตาม คำฟ้อง ของ โจทก์ บรรยาย เพียง ว่าการ กระทำ ของ จำเลย เป็นเหตุให้ โจทก์ ได้รับ ความเสียหาย ไม่สามารถ ใช้ ประโยชน์ ใน ที่ดิน เป็นความเสียหาย อัน เนื่องมาจาก การ ขาด ประโยชน์ เป็น เงินเดือน ละ 1,000บาท แต่ ทางพิจารณา โจทก์ ไม่ได้ นำสืบ ให้ ปรากฏ ชัด ว่า โจทก์ ขาดประโยชน์ จาก ที่ดิน ส่วน ที่ พัง ทลาย ลง ไป อย่างไร จำนวน เท่าใด ซึ่ง ปัญหา นี้จำเลย ส่ง ภาพถ่าย หมาย ล. 8 และ ล. 9 และ เบิกความ ยืนยัน ว่า ที่ดิน ของโจทก์ ไม่มี สภาพ เป็น นา แต่ เป็น ที่รกร้างว่างเปล่า มี หญ้า ขึ้น จึง ฟังได้ว่า โจทก์ ยัง ไม่ได้ ใช้ ที่ดิน บริเวณ ที่ พัง ทลาย ลง ไป ทำประโยชน์แต่ ประการใด โจทก์ จึง ไม่ ขาด ประโยชน์ จาก ที่ดิน ส่วน ที่ พัง ทลายลง ไป ที่ ศาลอุทธรณ์ กำหนด ค่าขาดประโยชน์ ส่วน นี้ ให้ แก่ โจทก์ เป็น เงิน60,000 บาท นั้น ศาลฎีกา ไม่เห็น พ้อง ด้วย ฎีกา จำเลย และ จำเลยร่วมข้อ นี้ ฟังขึ้น ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย และ จำเลยร่วม ร่วมกัน ถม ดินแล้ว บด อัด ให้ แน่น ตลอด แนวเขต ที่ดิน ของ โจทก์ ที่ มี การ ขุด เอา เนื้อ ดินออก ไป ยาว ประมาณ 180 เมตร จำเลย และ จำเลยร่วม ไม่ต้อง ชดใช้ค่าเสียหาย จำนวน 60,000 บาท ให้ แก่ โจทก์ นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไปตาม คำพิพากษา ของ ศาลอุทธรณ์

Share