แหล่งที่มา : ADMIN
ย่อสั้น
วัสดุก่อสร้างที่จำเลยซื้อและออกเช็คพิพาทให้โจทก์ร่วมเพื่อชำระราคานั้นเป็นของส่วนตัวของโจทก์ร่วมมิได้เกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจำกัดพ.ที่โจทก์ร่วมเป็นผู้จัดการดังนั้นเมื่อเช็คพิพาทถึงกำหนดและถูกปฏิเสธการจ่ายเงินโจทก์ร่วมย่อมเป็นผู้เสียหายและชอบที่จะร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีได้ส่วนการที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์ร่วมเรียกเก็บเงินเองและนำสืบในชั้นพิจารณาว่าเรียกเก็บเงินเพื่อฝากเข้าบัญชีห้างหุ้นส่วนจำกัดพ.นั้นก็มิได้แตกต่างกันแต่อย่างใดเพราะการที่โจทก์ร่วมจะนำเงินตามเช็คที่เรียกเก็บเข้าฝากในบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัดพ.ก็เป็นสิทธิของโจทก์ร่วมที่จะทำได้หาทำให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดพ.กลายเป็นผู้เสียหายไปไม่. การบันทึกคำร้องทุกข์ของผู้เสียหายเจ้าหน้าที่ผู้รับแจ้งจะจดลงไว้อย่างไรและที่ใดก็เป็นเรื่องระเบียบภายในของพนักงานสอบสวนซึ่งไม่มีผลกระทบต่ออำนาจในการสอบสวนและดำเนินคดีและในปัญหาที่ว่าเขตรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ตำรวจแต่ละแห่งจะมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่เพียงใดนั้นเป็นปัญหาข้อเท็จจริง
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ออก เช็ค สั่ง จ่าย เงิน ให้ โจทก์ร่วม เพื่อชำระ หนี้ โดย ไม่ มี เงิน อยู่ ใน บัญชี อัน จะ พึง ให้ ใช้ เงิน ได้และ เจตนา ไม่ ให้ มี การ ใช้ เงิน ตาม เช็ค ขอ ให้ ลงโทษ ตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วย ความผิด อัน เกิดจาก การ ใช้ เช็ค พ.ศ. 2497มาตรา 3
จำเลย ให้การ ปฏิเสธ
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ตาม พระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3 ให้ จำคุก 10 เดือน
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยืน
จำเลย ฎีกา โดย ได้ รับ อนุญาต จาก ผู้พิพากษา ผู้ ตัดสิน คดี ใน ชั้นอุทธรณ์ ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า จำเลย เป็น หนี้ ค่า วัสดุ ก่อสร้างโจทก์ร่วม จริง และ ได้ ออกเช็ค พิพาท ทั้งสอง ฉบับ ให้ โจทก์ร่วม ไว้ทั้ง ข้อความ ใน ใบส่งของ ขายเงินเชื่อ เอกสารหมาย จ.7 ก็ ระบุ ไว้ชัดว่า เป็น การซื้อ สินค้า เหล่านั้น ไป จาก โจทก์ร่วม ตัว โจทก์ร่วม เองก็ เบิกความ ยืนยัน ว่า วัสดุก่อสร้าง ที่ จำเลย มา ขอ ซื้อ นั้น เป็นของ ส่วนตัว ของ โจทก์ร่วม มิได้ เกี่ยวกับ ห้างหุ้นส่วน แต่ อย่างใดดังนั้น เมื่อ เช็ค ถึง กำหนด และ ถูก ปฏิเสธ การ จ่ายเงิน โจทก์ร่วมย่อม เป็น ผู้เสียหาย ชอบ ที่ จะ ร้องทุกข์ ต่อ พนักงาน สอบสวน ให้ดำเนินคดี ได้ ส่วน ข้อเท็จจริง ที่ โจทก์ นำสืบ ใน ชั้นพิจารณา ว่า ได้นำ เช็ค พิพาท ทั้ง สอง ฉบับ เรียก เก็บ เงิน เพื่อ ฝาก เข้า บัญชีห้างหุ้นส่วน จำกัด พ. และ จำเลย ฎีกา ว่า เป็น ข้อเท็จจริง ที่ แตกต่างกับ ฟ้อง ซึ่ง บรรยาย ว่า โจทก์ร่วม เรียก เก็บ เงิน เอง ทั้ง พฤติการณ์เช่นนี้ แสดง ว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. เป็น ผู้เสียหาย มิใช่ โจทก์ร่วม เห็น ว่า ข้อเท็จจริง ดังกล่าว มิได้ แตกต่าง จาก ฟ้อง แต่ อย่างใดเพราะ การ ที่ โจทก์ร่วม จะ นำ เงิน ตาม เช็ค ที่ เรียก เก็บ เข้า ฝากใน บัญชี ของ ห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. ที่ โจทก์ร่วม เป็น ผู้จัดการ นั้นก็ เป็น สิทธิ ของ โจทก์ร่วม ที่ จะ ทำ ได้ หา ทำ ให้ ห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. กลาย เป็น ผู้เสียหาย ไป ไม่ ฎีกา จำเลย ข้อ นี้ ฟัง ไม่ ขึ้นเช่นกัน
จำเลย ฎีกา อีก ข้อ หนึ่ง ว่า คำร้องทุกข์ ของ โจทก์ร่วม ตาม เอกสารหมาย จ.5 ไม่ ชอบ ด้วย กฎหมาย เพราะ เป็น เพียง บันทึก การ มอบ คดี และเจ้าหน้าที่ มิได้ จด แจ้ง ลง ใน เบ็ดเสร็จ ประจำวัน นั้น เห็น ว่าเมื่อ ปรากฏ หลักฐาน ว่า โจทก์ร่วม ซึ่ง เป็น ผู้เสียหาย ได้ ร้องทุกข์ต่อ เจ้าพนักงาน โดย ชอบ แล้ว พนักงาน สอบสวน ย่อม มี อำนาจ ดำเนินคดีได้ ส่วน การ บันทึก คำร้องทุกข์ ของ ผู้เสียหาย เจ้าหน้าที่ ผู้ รับแจ้ง จะ จด ลง ไว้ อย่างไร และ ที่ใด เป็น เรื่อง ระเบียบ ภายใน ของพนักงาน สอบสวน ไม่ มี ผล กระทบ ต่อ อำนาจ ใน การ สอบสวน และ ดำเนินคดี
จำเลย ฎีกา ข้อสุดท้าย ว่า พนักงาน สอบสวน สถานี ตำรวจ นครบาล พหลโยธิน ไม่ มี อำนาจ สอบสวน คดี นี้ เพราะ ธนาคาร กสิกรไทย จำกัด สาขาลาดพร้าว ซึ่ง ปฏิเสธ การ จ่าย เงิน ตาม เช็ค อัน ถือ เป็น สถานที่เกิดเหตุ นั้น อยู่ ใน เขต สถานี ตำรวจ นครบาล ลาดพร้าว ศาลฎีกาพิเคราะห์ แล้ว เห็น ว่า เขต รับผิด ชอบ ของ เจ้าหน้าที่ ตำรวจ แต่ละสถานี ตำรวจ นั้น จะ มี อาณาเขต ครอบคลุม พื้นที่ เพียงใด เป็น ปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อ จำเลย ไม่ นำสืบ ให้ ปรากฏ ว่า สถานที่ เกิดเหตุ อยู่นอก เขต ท้องที่ รับผิด ชอบ ของ สถานี ตำรวจ นครบาล พหลโยธิน ลำพัง แต่ชื่อ ของ ธนาคาร ที่ ระบุ ว่า เป็น สาขา ลาดพร้าว เพียง เท่านี้ แล้วจำเลย จะ สันนิษฐาน เอา ว่า สถานที่ เกิดเหตุ อยู่ ใน เขต รับผิด ชอบของ สถานี ตำรวจ นครบาล ลาดพร้าว นั้น ยัง ฟัง ไม่ ถนัด ดังนี้ จึง ถือไม่ ได้ ว่า การ สอบสวน ของ พนักงาน สอบสวน สถานี ตำรวจ นครบาล พหลโยธินเป็น การ ไม่ ชอบ ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง วินิจฉัย มา ชอบ แล้ว ฎีกา จำเลยทุก ข้อ ฟัง ไม่ ขึ้น
พิพากษา ยืน